Home
|
คลิปข่าวทั่วไป

รบ.แจงพรก.กู้5แสนล้าน คุมโควิดได้ไม่ล็อกดาวน์

รบ.แจงพรก.กู้5แสนล้าน คุมโควิดได้ไม่ล็อกดาวน์

การประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ ยังคงเป็นระบบวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ ตามมาตรการป้องกันโควิด19 แต่เป็นครั้งแรกในรอบ 3 สัปดาห์ ที่อนุญาติให้สื่อเข้าปฏิบัติงานทำเนียบรัฐบาลอีกครั้ง

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ผ่านระบบ Video Conference ไปยังกระทรวงต่างๆ โดยมีประเด็นสำคัญที่ต้อง ติดตามคือเรื่องของวัคซีนโควิด หลังจากวานนี้มีหลายโรงพยาบาลแจ้งเลื่อนฉีดแอสตราเซเนกาเข็มที่ 2 และปรับเป็ ฉีดวัคซีนซิโนแวคแทน สำหรับผู้ที่จะเข้ารับวัคซีน เข็มแรก รวมถึงประเด็นต่อเนื่องมาจากสัปดาห์ก่อน การออกพรก.กู้เงิน 7 แสนล้านแก้ปัญหาโควิด-19 ซึ่งก่อนการประชุม นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง,นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน รวมถึง นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย ที่เดินทางมาร่วมประชุมที่ทำเนียบรัฐบาล ด้วย พร้อมใจกันปฏิเสธที่จะให้ความเห็นกรณีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องดังกล่าว

ทั้งนี้ในระหว่างที่มีการประชุม ครม.อยู่นั้น กลุ่ม”ไทยไม่ทน” คณะสามัคคีประชาชนเพื่อประเทศไทย นำโดยนายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35, และนายจตุพร พรหมพันธ์ ประธาน นปช. พร้อมคณะ เดินทางมายื่นหนังสือถึง นายกรัฐมนตรี ที่ศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ ขอให้ลาออกจากตำแหน่ง เพราะบริหารงานมา 7 ปี ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้เลย ปฏิรูปประเทศล้มเหลว แก้ปัญหาโควิด-19 ก็ล้มเหลว พร้อมแนะนำให้ พล.อ.ประยุทธ์ เอาอย่าง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ อดีตประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ที่รู้จักพอ

ภายหลังประชุมเสร็จ นายกรัฐมนตรี ไม่ได้แถลงข่าวกับสื่อมวลชนตามปกติ เนื่องจากมีภารกิจในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หารือกับทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่น จึงได้มอบหมายให้นายอนุชา
บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ตอบคำถามของสื่อมวลชนแทน ว่า คณะรัฐมนตรี ได้อนุมัติกรอบวงเงิน 311.6 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายในการแก้ไขและป้องกันโควิด-19 ในเรือนจำและทัณฑสถานทั่วประเทศ

ขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ นายสุพัฒนพงศ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการออกพระราชกำหนด กู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 วงเงินไม่เกินห้าแสนล้านบาท ว่า การออกพระราชกำหนด ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มเติม จำนวน 5 แสนล้านบาท ว่าเงินกู้ ตาม พ.ร.ก. ดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ดูแลประชาชนผู้ประกอบการ แรงงาน และสร้างงานให้กับภาคประชาชนในระดับท้องถิ่น รวมถึงจัดทำโครงการที่เป็นประโยชน์ในการฟื้นฟูสถานการณ์โควิด ซึ่งจะควบคู่ไปกับโครงการซอฟต์โลนพักชำระหนี้ ให้กับผู้ประกอบการ วงเงิน 3 แสน 5 หมื่นล้านบาทที่ออกไปก่อนหน้านี้ และการออก พ.ร.ก.กู้เงินในครั้งนี้เพื่อจะรองรับความไม่แน่นอน ของการระบาดในอนาคตแต่ยืนยันยังสามารถควบคุมได้ ไม่จำเป็นต้องมีการล็อกดาวน์ เพื่อให้จังหวัดพื้นที่สีเขียวสามารถดำเนินกิจการทางเศรษฐกิจต่อไปได้ แต่ไม่ตอบ เมื่อถูกถามว่า หากเดือนกรกฎาคมสัญญาณตัวเลขผู้ติดเชื้อยังไม่ลดลง จะมีการกู้เงินเพิ่มเติมอีกหรือไม่ โดยกล่าวแค่ ขอให้ประชาชนช่วยกันคนละไม้คนละมือ รัฐบาลทำคนเดียวไม่ได้ และรัฐบาลได้ทำงานเชิงรุก อย่างเต็มที่และรอบคอบ ยึดเสถียรภาพของประเทศเป็นหลัก

“การออก พ.ร.ก.กู้เงินในครั้งนี้เพื่อจะรองรับความไม่แน่นอน ของการระบาดในอนาคต แต่ยืนยันยังสามารถควบคุมได้ ไม่จำเป็นต้องมีการล็อคดาวน์ เพื่อให้จังหวัดพื้นที่สีเขียวสามารถดำเนินกิจการทางเศรษฐกิจต่อไปได้ แต่ไม่ตอบ เมื่อถูกถามว่า หากเดือนกรกฎาคม สัญญาณตัวเลขผู้ติดเชื้อยังไม่ลดลง จะมีการกู้เงินเพิ่มเติมอีกหรือไม่ โดยกล่าวแค่ขอให้ประชาชนช่วยกันคนละไม้คนละมือ รัฐบาลทำคนเดียวไม่ได้ และรัฐบาลได้ทำงานเชิงรุกอย่างเต็มที่และรอบคอบ ยึดเสถียรภาพของประเทศเป็นหลัก” อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ ยังต้องติดตามแผนการกระจายวัคซีนของรัฐบาล และกระทรวงสาธารณสุข อย่างใกล้ชิดต่อไป ว่าจะมีความชัดเจนอย่างไรบ้าง
หลังจากวันก่อน โรงพยาบาลหลายแห่งแจ้งเลื่อนฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 สำหรับ ผู้ได้รับวัคซีนแอสตราซิเนกา เข็มแรกไปแล้ว

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube