รวมคลัสเตอร์โรงงานทั่วไทย
โควิด-19 ระลอกนี้ ดูเหมือนว่า คลัสเตอร์โรงงาน จะดุเดือดเลือดพล่าน มีการตรวจพบมากกว่า 10 แห่งทั่วประเทศ ดังต่อไปนี้
1.สมุทรปราการ พบการระบาดใหม่ใน โรงงานน้ำแข็ง ต.แพรกษา อ.เมือง กว่า 50 ราย, โรงงานผลิตสายนำสัญญาณ อ.เมือง กว่า 60 ราย, โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป อ.พระประแดง กว่า 20 ราย
2.เพชรบุรี โรงงานสิ่งทอ อ.เขาย้อยสะสมกว่า 50 ราย และโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ สะสม ทะลุ 5,600 รายไปแล้ว
3.ตรัง โรงงานไม้ยางพารา พื้นที่ตำบลนาเมืองเพชร อ.สิเกา พบผู้ป่วยสะสม กว่า 160 ราย และโรงงานผลิตถุงมือยาง อ.กันตัง จ.ตรัง ผู้ป่วยรวมกว่า 570 คน
4.สมุทรสาคร โรงงานผลิตสินค้าเด็ก สะสมกว่า 40 ราย และ โรงงานค้าไม้ อ.เมือง พบผู้ป่วยใหม่กว่า 20 ราย
5.ประจวบคีรีขันธ์ โรงงานแปรรูปไก่ พบป่วยสะสมกว่า 90 ราย, โรงงานสับปะรดกระป๋อง พบป่วยสะสมกว่า 120 ราย 5.จ.สระบุรี ที่โรงงานแปรรูปไก่ อ.แก่งคอย พบป่วยสะสมกว่า 500 ราย
6.พระนครศรีอยุธยา โรงงานผลิตอุปกรณ์การแพทย์ พบป่วย สะสม 104 ราย 6.จ.สุราษฎร์ธานี พบ โรงงานอาหารทะเลแช่แข็ง ติดเชื้อกว่า 10 คน
7. ชลบุรี โรงงานเขตอำเภอเมือง พบผู้ติดเชื้อเกือบ 100 ราย
8.ราชบุรี โรงงานไทยผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยี่ห้อดัง ตำบลปากแรต อ.บ้านโป่ง พบพนักงานติดเชื้อโควิด แพร่ระบาดต่อเนื่อง จนทางจังหวัดต้องสั่งปิดโรงงานดังกล่าวเป็นการชั่วคราวจนถึง 20 มิ.ย.64 นี้
เมื่อโรงงานกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโควิด-19 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่าง นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม สั่งโรงงานทั้งหมด ทั้งประเทศ ประมาณ 64,000 โรงงาน ต้องทำการประเมินตนเองผ่านแพลตฟอร์ม Thai Stop Covid Plus ซึ่ง เป็นข้อแนะนำทางด้านสาธารณสุข ในการป้องกันการแพร่ระบาดฯและ พนักงานทุกคน ต้องประเมินตนเอง โดยใช้แพลตฟอร์ม Thai Save Thai ซึ่งคัดกรองคนก่อนเข้าโรงงานอย่างเข้มงวดThai Save Thai ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนมิ.ย. นี้
ส่วนผู้ประกอบการ หรือเจ้าของโรงงาน ก็พยายามติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอโควตาวัคซีนมาฉีดให้กับพนักงาน เพราะถ้าพนักงานต้องป่วย ต้องกักตัว ไม่สามารถทำงานได้ ผลผลิตย่อมไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้อย่างแน่นอน ฉะนั้นแล้ว การเร่งจัดหาวัคซีนให้กลุ่มโรงงานต่างๆให้เร็วที่สุด น่าจะเป็นทางเลือกเดียวที่จะประคองธุรกิจให้ไปรอดได้ต่อไป
ด้านนักวิชาการชื่อดังอย่าง ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ เขียนบทความหนึ่งน่าสนใจว่า ปัญหาการติดเชื้อของแรงงานในโรงงานภาคการผลิตและภาคการก่อสร้าง มาจากระบบสุขอนามัยในโรงงานการผลิตของไทยจำนวนไม่น้อยยังไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งลักษณะนี้เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาความเหลื่อมล้ำในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและกิจการก่อสร้าง นั้นเอง!
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news