กมธ.ป.ป.ช.เดินหน้าตรวจสอบบ้านพักหลวงนายกฯต่อ ไฟฟ้า-ประปา แจงแล้ว ไม่มีชื่อของพล.อ.ประยุทธ์ เป็นเจ้าของบ้าน
นายธีรัจชัย พันธุมาศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะโฆษกประธานกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงการติดตามบ้านพักหลวงของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีโดยได้เชิญ ผู้ว่าการไฟฟ้านครหลวง และผู้ว่าการประปานครหลวงมาชี้แจงถึงการจ่ายเงินค่าไฟฟ้าว่าใครเป็นผู้จ่าย ซึ่งจากการชี้แจงของ การไฟฟ้านครหลวงไม่สามารถยืนยันวันที่นายกรัฐมนตรี อยู่บ้านเลขที่เท่าไหร่ ซึ่งขัดแย้งกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ระบุบ้านเลขที่ 253/54 ไว้อย่างชัดเจน โดยอ้างว่าในระบบไม่มีชื่อของพล.อ.ประยุทธ์ เป็นเจ้าของบ้าน ขณะที่บ้านเลขที่ 253/54 ก็ ปรากฏอยู่ในหลายพื้นที่ของกรุงเทพฯ นอกจากนี้การไฟฟ้ายังอ้างว่า มีการเข้าพื้นที่ไปดูแลเรื่องไฟฟ้าดับและขัดข้องเท่านั้น ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นบ้านของใคร อีกทั้งเจ้าหน้าที่จดมิเตอร์ ที่มีถึง 7 คนก็ไม่ทราบว่าบ้านหลังดังกล่าวคือบ้านของพล.อ.ประยุทธ์ จึงจะเชิญเจ้าหน้าจดมิเตอร์ทั้ง 7คนเข้าชี้แจงด้วย
สำหรับการประปา ชี้แจงเช่นเดียวกับการฟ้าที่ไม่สามารถให้รายละเอียดของบ้านพักได้ และไม่พบชื่อพล.อ.ประยุทธ์ เป็นเจ้าของบ้าน พบเพียงชื่อของภรรยานายกรัฐมนตรีเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม กมธ.ป.ป.ช.จะตรวจสอบบ้านพักนายกรัฐมนตรีต่อไป แม้จะเป็นเรื่องที่ยากลำบาก จึงของฝากนายกรัฐมนตรีให้เปิดเผยรายละเอียด และยืนยันว่ากมธ.ป.ป.ช.จะไม่ปล่อยเรื่องนี้ให้ผ่านไป
กมธ.ป.ป.ช.เชิญ”วิชา”ให้ความเห็นตรวจสอบจริยธรรม”ธรรมนัส” ยกต่างประเทศผู้ดำรงตำแหน่ง จะละอายแก่ใจรู้ผิดถูกเอง ไม่ต้องตรวจสอบ
นายธีรัจชัย พันธุมาศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะโฆษกประธานกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีการตรวจสอบ มาตรฐานจริยธรรมของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า กรรมาธิการได้เชิญ นายวิชา มหาคุณ อดีตกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และ เลขากฤษฎีกา ร่วมให้ความเห็นในเรื่องนี้ด้วย
โดยนายวิชา กล่าวว่า ผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะต้อง มีจริยธรรม ควรเป็นบุคคลที่โปร่งใส ซึ่งในต่างประเทศผู้ดำรงตำแหน่ง ก็จะละอายแก่ใจรู้ผิดถูกเอง ส่วนของไทยทำไมต้องตรวจสอบ จึงฝากไปยังนายกรัฐมนตรี หากทราบว่าไม่โปร่งใสก็ควรปลดออกจากตำแหน่ง ไม่จำเป็นต้องมีคณะกรรมการใดมาตรวจสอบ
นอกจากนี้ กมธ.ได้หยิบยกคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และคำวินิจฉัยของ คณะกรรมการกฤษฎีกาเข้ามาประกอบการพิจารณาด้วย
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news