Home
|
ทั่วไป

โควิดสายพันธุ์อัลฟ่า เดลต้า คืออะไร อันตรายแค่ไหน!

Featured Image

          โควิดสายพันธุ์อัลฟ่า เดลต้า รวมถึง เบตา แกมมา คืออะไร อันตรายแค่ไหน หลังจากที่มีรายงานจากทางประเทศถึงความกังวลการระบาดครั้งใหม่ของโควิดสายพันธ์ุดังกล่าว และมีรายงานว่าค้นพบในประเทศไทยด้วย วันนี้เลยจะชวนทุกคนมาทำความรู้จักกัน

          สายพันธุ์พวกนี้ถูกเปลี่ยนชื่อ

          สายพันธ์พวกนี้คือสายพันธุ์โควิดที่กลายพันธุ์ต่างๆ แต่องค์การอนามัยโลกหรือ WHO ออกมาประกาศเปลี่ยนชื่อแทนการเรียกตามประเทศแทน

  • สายพันธุ์อังกฤษ เปลี่ยนเป็น อัลฟ่า
  • สายพันธุ์แอฟริกาใต้ เปลี่ยนเป็น เบตา
  • สายพันธุ์บราซิล เปลี่ยนเป็น แกมมา
  • สายพันธุ์อินเดีย เปลี่ยนเป็น เดลต้า 

          สาเหตุที่เปลี่ยนชื่อ

          มีการเผยว่าสาเหตุที่เปลี่ยนชื่อเพราะไม่ควรมีประเทศใดถูกตราหน้าจากการตรวจพบและรายงานการพบเชื้อกลายพันธุ์

          สายพันธุ์พวกนี้อันตรายแค่ไหน 

          หากสรุปง่ายๆ ความรุนแรงหรืออาการไม่ได้ต่างจากเดิมมากเท่าไร แต่จุดที่อันตรายคือมันติดง่ายขึ้น เช่น สายพันธุ์อัลฟ่าแพร่กระจายได้ง่ายกว่าประมาณ 1.7 เท่า และประสิทธิภาพวัคซีนที่ผลิตออกมานั้นได้ผล มีประสิทธิภาพกับโควิดที่กลายพันธุ์น้อยลง 

          วัคซีนเอาอยู่แค่ไหน

          จากการทดสอบเบื้องต้นวัคซีนประเภท mRNA นั้นยังมีประสิทธิภาพต่อสายพันธุ์ใหม่ที่พบ Pfizer ต่อสายพันธุ์เดลต้า(อินเดีย)อยู่ราวๆ 88% สายพันธุ์อัลฟ่า(อังกฤษ)และเบตา(แอฟริกา)อยู่ราวๆ 95% 

  • ประเภท Viral Vector เช่น J&J กับ AstraZeneca ประสิทธิภาพลดลงเหลือราวๆ 60% และยังต้องมีการศึกษาเพิ่ม 
  • ประเภท วัคซีนเชื้อตาย เช่น Sinovac หรือ SinoPharm นั้นค่อนข้างน่าเป็นห่วงเพราะประสิทธิภาพนั้นลดลง ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลอย่างเป็นทางการ

          ทั่วโลกเริ่มออกมาระวังอีกครั้ง

          ทั่วโลกเริ่มมีการเคลื่อนไหวให้เฝ้าระวังการระบาดของโควิดกลายพันธุ์ เริ่มมีการออกมาพูดเรื่องวัคซีนเข็มที่ 3 เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน

          ประเทศไทยต้องระวัง

          ตอนนี้มีการตั้งคำถามมากมาย เช่น การเปิดประเทศ 120 วัน วัคซีนจะเอาอยู่หรือไม่ เพราะผลการศึกษาชี้ว่า ซิโนแวคเข็มแรกนั้นผลแทบจะไม่ช่วยอะไรเลย ในขณะที่ AstraZeneca เข็มแรกยังพอให้มีภูมิขึ้นมาบ้าง แต่ก็ยังไม่ดีเมื่อเจอสายพันธุ์ที่กลายพันธุ์ 

          แล้วตอนนี้คนในประเทศส่วนใหญ่ได้ฉีดแค่เข็มแรก ที่ครบสองเข็มก็เป็นซิโนแวคที่มีตัวอย่างจากประเทศชิลีว่าป้องกันการเสียชีวิตได้จริง แต่การแพร่ระบาดยังป้องกันได้ไม่ได้ จนเกิดการระบาดครั้งใหม่ 

          แม้แต่แอสตร้าฯเข็มแรกตอนนี้มีผลวิจัยจากฝรั่งเศสชี้ว่า ต้านโควิดสายพันธุ์เดลต้าไม่อยู่ ต้องให้ฉีด 2 เข็มถึงจะป้องกันการติดเชื้อได้ 60% ป้องกันการป่วยเข้าโรงพยาบาลได้ 92% (ยังต้องรอการวิจัยเพิ่มเติม) 

          ตอนนี้ก็เริ่มมีคำสั่งฉีดเข็มที่ 2 ให้เร็วขึ้นสำหรับประเทศไทยเพื่อเตรียมกับสายพันธุ์เดลต้าที่กำลังระบาดมากขึ้น ส่วนวัคซีนทางเลือกก็ต้องรอต่อไป หากมีอะไรอัพเดทเพิ่มเติมทาง iNN จะรีบแจ้งให้ทุกคนทราบ กดติดตามไว้ได้เลย  

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube