Home
|
ทั่วไป

ศบค.จ่อสุวรรณภูมิทำรพ.สนามปัดห้ามแลปตรวจโควิด

Featured Image
ศบค. เผย กทม. พบคลัสเตอร์ใหม่ 2 แห่ง คาดโรงพยาบาลสนามสุวรรณภูมิเปิดใช้ได้ในช่วงเดือนสิงหาคมนี้ ย้ำ รัฐบาลไม่ห้าม ปชช. เข้ารับการตรวจหาเชื้อ

แพทย์หญิงอภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. เผยว่า ที่กรุงเทพมหานครพบคลัสเตอร์ใหม่ 2 แห่ง คือ ที่เขตมีนบุรี เป็นศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งมีผู้สูงอายุ 38 รายพบติดเชื้อทั้งหมด 6 ราย และที่เขตบางนาที่บริษัทผลิตจิวเวอรี่ โดยในพื้นที่กรุงเทพมหานครพบคลัสเตอร์รวม 118 แห่ง

โดยในที่ประชุมมีการพูดคุยถึงผู้ป่วยที่รอเตียงโดยพื้นที่ กทม. ผู้ป่วยสีแดงมี 40-50 รายต่อวัน, ผู้ป่วยสีเหลือง 200-300 รายต่อวัน และผู้ป่วยสีเขียวมี 300-400 รายต่อวัน ซึ่งการส่งต่อผู้ป่วยโดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินศูนย์เอราวัณมีศักยภาพในการขนย้ายผู้ป่วย 500 เที่ยวต่อวัน ซึ่งสำนักการแพทย์พยายามนำผู้ป่วยเข้าสู่ระบบการรักษาซึ่งมีการจำกัดในการส่งต่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษา โดยที่ประชุมมีการพูดคุยถึงมาตรการจัดการ 2 ส่วน คือการเพิ่มศักยภาพคนส่งผู้ป่วยไปยังศูนย์บริการให้ตามความสำคัญคือผู้ป่วยสีแดงต้องเข้ารับการรักษาทันทีและผู้ป่วยสีเหลืองต้องรอการเข้ารับการรักษาให้น้อยที่สุดภายใน 1 วัน และในส่วนของผู้ป่วยสีเขียวจะมีการจัดสรรไปยังจุดพักคอยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดย กทม. รายงานมีการเปิดให้รับป่วย 5 ศูนย์ที่สามารถเปิดได้ทันทีและจะมีการทยอยเปิดอีกในวันที่ 9 กรกฎาคมนี้

ในที่ประชุมได้มีการคุยเรื่องการขยายศักยภาพการรองรับเตียง รวมถึงการตั้งโรงพยาบาลสนามระดับสูงในพื้นที่สนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งขณะนี้มีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นโดยใช้เวลาเตรียมสถานที่ 3 สัปดาห์ คาดว่าจะเปิดใช้ได้ในช่วงเดือนสิงหาคมนี้สามารถรองรับผู้ป่วยได้ 5,000 เตียง โดยเป็นเตียงสำหรับผู้ป่วยวิกฤติสีแดง 1,360 เตียง รวมถึงจะมีการจัดการเตียงให้เพิ่มปริมาณขึ้น

แพทย์หญิงอภิสมัย ยังกล่าวถึงกรณีมีคนร้องเรียนจำนวนมากไม่สามารถหาจุดตรวจเชื้อโควิดได้ทาง ศบค. จะมีการปรับแผนให้เข้ารับการตรวจอย่างไร ว่า ในเรื่องการตรวจแลป หรือ ทางห้องปฏิบัติการมีประชากรจำนวนมากสงสัยว่าติดเชื้อหรือไม่และเข้ารับการตรวจ ซึ่งหลายท่านไปโรงพยาบาลและมีการปฏิเสธการตรวจ ซึ่งย้ำว่า รัฐไม่ได้ห้ามการตรวจ โดยที่ประชุมพูดย้ำเสมอว่าแต่ละที่ตรวจต้องมีมาตรฐานแต่ไม่ใช่ว่าแลปส่วนใหญ่ไม่มีมาตรฐาน

ซึ่งมีการตรวจแบบ rapid taste หากเป็นผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหรือมีเชื้อผล rapid taste นี้จะมีผลบวก แต่พบว่าความไวของการตรวจค่อนข้างต่ำ ซึ่งบางทีผู้ที่ตรวจมีผลเป็นลบแต่จริงๆ มีการป่วยโควิด-19 หรืออาจจะไม่มีการป่วยแต่มีผลเป็นบวก

จึงมีความเป็นห่วงเรื่องมาตรฐานในการตรวจ โดยมีการตรวจเน้นกลุ่มโรงพยาบาล ที่เป็นมาตรฐานของผู้ที่จะทำการผ่าตัด, ทำฟัน, คลอดลูก หรือเข้าห้องไอซียู โดยแต่ละโรงพยาบาลมีมาตรฐานที่ต้องตรวจอยู่แล้ว และให้ความสำคัญกับกลุ่มที่มีประวัติเสี่ยงสูงไปพื้นที่เสี่ยงมาก็จะรับตรวจ

ทั้งนี้ในระยะอันใกล้นี้จะมีการเปิดศูนย์นิมิบุตรให้กับผู้ที่วอล์กอินเข้าไปตรวจหาเชื้อขอให้ติดตามการรายงานต่อไป

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube