สธ. ยัน ศพโควิดที่เผาแล้วไม่สามารถแพร่เชื้อต่อได้ แนะ หากฝังอย่าเปิดถุงซิป หวั่นสารคัดหลั่งรั่วซึมอาจแพร่เชื้อได้
นพ.ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยถึงแนวทางการจัดการร่างผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ว่า ในกรณีที่ 1 เสียชีวิตในโรงพยาบาล ไม่ค่อยยุ่งยากมากนัก เนื่องจากกลไกและระบบของ รพ. จะมีทีมในการการจัดการ สามารถออกหนังสือรับรอง ว่า เสียชีวิตจากโควิด-19ได้เลย
ส่วนกรณีที่ 2 เสียชีวิตนอกโรงพยาบาล ประชาชนต้องแจ้ง องค์กรสาธารณกุศล, มูลนิธิ หรือ 1669 เพื่อเข้าไปช่วยเหลือกลไกต่างๆเหล่านี้ต้องมีการดูแลในเรื่องของการบรรจุศพ ให้เป็นไปตามมาตรฐาน จากนั้นให้แจ้ง ไปยังส่วนที่เกี่ยวข้องให้เข้าไปชันสูตรรวมถึงเก็บข้อมูลเพื่อลงสาเหตุการตายและสามารถของหนังสือรับรองการตายได้จากเจ้าหน้าที่ และผู้ใหญ่บ้าน จากนั้นเข้าสู่กระบวนการแจ้งตายต่อนายทะเบียนซึ่ง จะมีการออกใบมรณะบัตรให้ภายใน 24 ชั่วโมงและเข้าสู่ส่วนกระบวนการนำศพผู้เสียชีวิตไปประกอบพิธีทางศาสนา
นพ.ดนัย ยังกล่าวว่า ส่วนใหญ่เตาเผาที่อยู่ในกทม.และปริมณฑล เป็นเตาที่มี 2 หัวเผา เป็นการเผาที่อุณหภูมิ 760 องศาเซลเซียสสำหรับในห้องเผาควันต้องใช้อุณหภูมิไม่น้อย 1,000 องศาเซลเซียส เพื่อกำจัดสารที่ก่อให้เกิดมลภาวะในชั้นบรรยากาศซึ่งสิ่งที่ต้องเน้นย้ำคือ ให้หลีกเลี่ยงเรื่องของการเปิดประตูเผาศพ เพื่อที่จะทำการเขี่ยพลิกศพเหมือนที่ผ่านมา เพราะว่าจะทำให้อุณหภูมิของเตาเผาลดลงและและเกิดการฟุ้งกระจายได้ส่วนการเก็บกระดูกหลังจากการเผานั้น ขอให้มั่นใจว่าเชื้อทุกประเภทตายหมดและถูกทำลายเป็นที่เรียบร้อย ไม่มีการแพร่เชื้อได้อีกหากเป็นพิธีทางศาสนาที่ต้องใช้การฝัง จุดสำคัญคือไม่ให้ญาติหรือผู้เกี่ยวข้องไปเปิดถุงซิปหรือจัดการศพด้วยตนเองเพราะอาจทำให้ของเหลว สารคัดหลั่งรั่วไหลซึมออกมาและแพร่เชื้อได้
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news