ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทยยังคงพุ่งสูงอย่างต่อเนื่อง ที่ล่าสุดทะลุกว่า 20,000 รายต่อวันไปแล้ว ซึ่งถ้าหากเราโฟกัสไปที่ภาคใต้ที่มีผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 สูงสุดนั้น จะพบว่าส่วนใหญ่จะติดเชื้อโควิดอัลฟาและยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน อีกทั้งยังเป็นกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ป่วย7โรคเรื้องรัง จึงเป็นข้อสงสัยว่าหากคนเหล่านั้นได้รับวัคซีน จะยังคงเสียชีวิตหรือไม่
สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ได้สัมภาษณ์นายแพทย์ สงกราน ไหมชุม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา ได้ระบุถึงสถานการณ์โควิด-19ว่าขณะนี้สถานการณ์ในพื้นที่ยังคงทรงตัวโดยส่วนใหญ่พบว่าผู้ป่วยโควิดมักจะติดเชื้อมาจากครัวเรือนหรือในชุมชน เบื้องต้นผู้ป่วยที่กำลังรักษาตัวทั้งในโรงพยาบาลหลักและโรงพยาบาลสนามนั้นมีกว่า 2,000 ราย และเสียชีวิตสะสมไปแล้ว 81ราย พบว่าผู้ที่เสียชีวิตส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด ซึ่งมักเป็นกลุ่มผู้สูงอายุเกิน 60 ปี และผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง โดยทางจังหวัดจะได้รับจัดสรรวัคซีนมาหลายยี่ห้อด้วยกัน คือ ซิโนแวค แอสตราเซเนกา ไฟเซอร์ และ ซิโนฟาร์ม ปัจจุบันได้ฉีดวัคซีนเข็มแรกไปแล้วประมาณ 100,000 ราย จากจำนวนประชากรทั้งหมดกว่า 500,000 ราย
นอกจากนี้ทางจังหวัดยังได้ช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ดังนี้ทางจังหวัดจะทำการส่งทีมเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นลงพื้นที่เข้าไปดูแลความเป็นอยู่ภายในครอบครัว พร้อมพูดคุย พร้อมจัดสรรเรื่องงบประมาณอาหารและในเรื่องปัจจัย4 ควบคู่ไปพร้อมกับมาตรการของรัฐบาลและศบค.ด้วยเช่นกัน
และถ้าหากมาดูข้อมูลสถิติยอดผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ตั้งแต่ 1 เม.ย.64 ถึงปัจจุบันแล้วล่าสุดจะเห็นได้ว่ายอดผู้เสียชีวิตสะสม 5 อันดับในภาคใต้
อันดับ1 ได้แก่ จังหวัดปัตตานี ที่มีผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ไปแล้ว168 ราย อยู่ระหว่างการรักษา 4,110 ราย
อันดับ2 ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส ที่มีผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ไปแล้ว 98 ราย อยู่ระหว่างการรักษา 2,218 ราย
อันดับ3 ได้แก่ จังหวัดสงขลา ที่มีผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ไปแล้ว 82 ราย อยู่ระหว่างการรักษา 2,935 ราย
อันดับ4 ได้แก่ จังหวัดยะลา ที่มีผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ไปแล้ว 81 ราย อยู่ระหว่างการรักษา 2,084
และอันดับ5 ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มีผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ไปแล้ว 41 ราย อยู่ระหว่างการรักษา 1,997 ราย
ดังนั้นเมื่อมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากทำให้วัดหรือเมรุในหลายพื้นที่แทบจะไม่เพียงพอแล้ว อีกทั้งบางวัดยังปฏิเสธในการเผาด้วย และบางวัดพระสงฆ์ก็ต้องใส่ชุด PEE เคลื่อนย้ายศพขึ้นเมรุเพื่อทำการเผาศพโควิด-19 อีกด้วย เพื่อป้องการกันแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส
โดยกรณีที่ 1 หากเสียชีวิตในโรงพยาบาล จะดำเนินการโดยทีมจัดการศพโดยศพผู้เสียชีวิตจะถูกบรรจุใส่ถุงและทำความสะอาดฆ่าเชื้อภายนอกถุงบรรจุศพตามมาตรฐานแพทย์
ส่วนกรณีที่ 2 หากเสียชีวิตนอกโรงพยาบาล ทีมจัดการศพจะนำศพใส่ถุงตามมาตรฐานแล้วแจ้งพนักงานสาธารณสุขใกล้บ้านหรือพนักงานควบคุมโรคติดต่อของโรงพยาบาล และตำรวจชันสูตรพลิกศพ บันทึกสภาพศพ เป็นต้น
อย่างไรก็ตามเมื่อมีผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 เป็นจำนวนมากแล้ว ดังนั้นต้องรีบเผาศพในทันทีเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 และสิ่งสำคัญต้องรีบเร่งฉีดวัคซีนให้ประชาชนทุกคนอย่างเร็วที่สุดด้วย…
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news