Home
|
ทั่วไป

ศบค. เห็นชอบหลักการจัดหาวัคซีนช่วง ส.ค.-ก.ย 64

Featured Image
ศบค.เห็นชอบปรับมาตรการป้องกันควบคุมโรค มอบ สธ.จัดทำแนวทางการดำเนินงานให้สอดคล้องกับข้อกำหนดเดิม – เห็นชอบหลักการจัดหาวัคซีนช่วง ส.ค.-ก.ย.64 

 

นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 (ศบค.) กล่าวว่า ในส่วนของการเพิ่มมาตรการและการจัดการขององค์กร ประชาชน องค์กร สถาน ประกอบการ สามารถตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้ด้วยตนเองโดยรัฐ ควรสนับสนุนให้มีการใช้โดยไม่เป็นภาระประชาชนเช่นจำหน่ายราคาถูกและจัดหาได้ง่าย มีระบบการดูแลรักษารองรับเมื่อตรวจพบเชื้อและเน้นย้ำให้ประชาชนป้องกันตนเองทุกกรณี สื่อสารให้ทุกคนปฏิบัติตาม Universal Prevention ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องจัดทำแนวทางการดำเนินงานให้สอดคล้องกับข้อกำหนดเดิมที่มีอยู่รวมทั้งพิจารณา ร่วมจัดทำ Thai Covid Pass ให้เป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมความพร้อมรองรับการเปิดประเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในเรื่องของการไปร้านอาหาร สำหรับผู้ที่ฉีดวัคซีนครบแล้ว จะสามารถใช้บริการได้ ที่ได้มีการทำลักษณะนี้ในหลายประเทศ

ส่วนการปรับมาตรการจำหน่ายสินค้าจำเป็น กิจการจำเป็นในห้างสรรพสินค้า เพื่อกระจายช่องทางการใช้บริการและอำนวยความสะดวกให้ประชาชน ได้อนุญาตให้เปิดกิจการธนาคาร และสถาบันการเงิน โดยมีมาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด ตามที่สมาคมศูนย์การค้าไทยจัดทำไว้

อย่างไรก็ตาม ในการประชุมวันนี้ได้มีการพิจารณาให้ความเห็นชอบการปรับมาตรการป้องกันควบคุมโรคโดยโครงระดับพื้นที่สถานการณ์ย่อยในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักร ตามมาตรการเดิม ในวันที่ 18-31 ส.ค. 64 และมอบหมายให้ฝ่ายสาธารณสุข จัดทำแนวทางการดำเนินงานให้สอดคล้องกับข้อกำหนดเดิม รวมทั้งกำกับติดตามมาตรการ ขณะที่ฝ่ายความมั่นคงและฝ่ายเศรษฐกิจกำกับติดตามมาตรการขององค์กรและการควบคุมโรค เฉพาะสถานที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้การสนับสนุนการดำเนินงาน

 

ศบค. เห็นชอบหลักการจัดหาวัคซีนช่วง ส.ค.-ก.ย.64 เร่งฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายภายในปีนี้

นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 (ศบค.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบหลักการจัดหาวัคซีนในช่วง ส.ค.-ก.ย 64 เพื่อนำมาใช้ในช่วงระยะเวลาที่มีวัคซีนจำกัดเพิ่มเติมเนื่องจากปัญหาสายพันธุ์เดียวต้าที่วัคซีน ที่ใช้ในปัจจุบันมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้น้อยจึงควรเร่งการฉีดวัคซีนเพื่อเพิ่มความครอบคลุมในทุกกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งต้องได้วัคซีน 100 ล้านโดสในปี 64 โดยการเจรจาจัดหาวัคซีนเพิ่มจากบริษัทผู้ผลิต ที่สามารถส่งมอบวัคซีนได้เร็วที่สุด โดย มอบให้สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ดำเนินการจองวัคซีนจากบริษัท ไฟเซอร์ เพิ่มเติม อีกจำนวน 10 ล้านโดส ซึ่งได้ผ่านมติที่ประชุม ศบค. เมื่อวันที่ 1 ส.ค.64 พร้อมมอบให้ องค์การเภสัชกรรม (GPO) จัดหาวัคซีนซิโนแวค เพิ่มเติมอีกจำนวน 12 ล้านโดส และให้กรมควบคุมโรค เจรจาจัดวัคซีน อื่นๆ เพิ่มเติมอีก จำนวน 10 ล้านโดสภายใน ปี 64

ขณะที่ การแลกวัคซีนโควิด-19 ของ Astrazeneca จำนวน 1.3-1.5 แสนโดส ระหว่างรัฐบาลภูฏานกับรัฐบาลไทย ที่มีจำนวน 19,070 โดสหมดอายุในเดือน ส.ค. และส่งคืนให้ภายหลังนั้น ไทยจะรับผิดชอบในส่วนของค่าใช้จ่ายในกระบวนการขนส่ง ภาษีการนำเข้า-ส่งออก ค่าธรรมเนียมต่างๆ โดยจะมีการนำเข้าที่ประชุม คณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติต่อไป ส่วนการรับบริจาคยาโมโนโคลนอลแอนติบอดี้ (mAbs) ซึ่งรักษาโรคโควิด-19 ในกลุ่มผู้ป่วยหนัก จากกระทรวงสาธารณสุข ประเทศเยอรมนี จำนวน 1,000-2,000 ชุด ซึ่งจะสามารถช่วยลดการเสียชีวิตในผู้ป่วยหนักได้ 50-70%

ล็อกดาวน์

ศบค. คง ล็อกดาวน์ 18-31 ส.ค. ยัง WFH ต่อเนื่อง ธนาคารเปิดได้

ศบค. เผย พื้นที่นำร่อง 7+7 ถือเป็นการพัฒนาภูเก็ต Sunbox ขึ้นมาอีก 1 ระดับ

นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 (ศบค.) กล่าวว่า สำหรับการเปิดพื้นที่นำร่องรับนักท่องเที่ยวในพื้นที่ภูเก็ตเชื่อมต่อจังหวัดนำร่อง 7 + 7 ซึ่งหมายความว่าอยู่ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต 7 วัน ไปในพื้นที่อื่นๆได้อีก 7 วัน ซึ่งจะเป็นทางเลือกอื่นที่ดีให้กับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้ามา เริ่มวันที่ 16 ส.ค.นี้ โดยให้อยู่ในภูเก็ต7 วันแรก และ 7 วันที่เหลือ สามารถไปยัง จ.สุราษฎร์ธานี กระบี่ พังงา หลังจากที่มีการตรวจดูแล้วไม่พบเชื้อ นอกจากนี้ ยังสามารถบินไปที่เกาะสมุย ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวจะมีเกาะพะงัน เกาะเต่า ซึ่งถือเป็นการพัฒนาภูเก็ต Sunbox ขึ้นมาอีก 1 ระดับ

นอกจากนี้ ได้มีการอนุญาตขอผ่อนผันการจัดประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา และขออนุญาตผ่อนผันการเคลื่อนย้ายในห้วงเวลาห้ามออกนอกเคหสถาน หากประชุมถึงเที่ยงคืน จะเป็นประเด็นในทางข้อกฎหมาย การจัดประชุมสภาผู้แทนราษฎร การประชุมวุฒิสภา การประชุมร่วมกันของรัฐสภาถือเป็นกิจกรรมรวมกลุ่มที่จัดโดยหน่วยงานของรัฐโดยความเห็นชอบของหัวหน้าส่วนราชการ ซึ่งได้รับการยกเว้น จึงไม่ต้องขออนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามข้อ 5 วงเล็บ 5 ตามข้อกำหนด ตามความในมาตรา 9 ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฉบับที่ 30

ส่วนมาตรการควบคุมพื้นที่เฉพาะBubble and Seal และโครงการนำร่องในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด หรือ Factory sandbox นำเสนอการออกมาตรการเพื่อทำให้อุตสาหกรรมโรงงานที่มีพนักงานต่างๆสามารถดำเนินการได้

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

 

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube