5 อันดับจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 สะสมตั้งแต่ระลอกเดือนเมษายนถึงปัจจุบันมากที่สุด
อันดับที่ 1 นครราชสีมา ที่มีผู้ป่วยพุ่งไปถึง 15,914 ราย รักษาหายแล้ว 9,515 ราย และเสียชีวิตสะสมไปแล้ว 116 ราย
อันดับที่ 2 อุบลราชธานี ที่มีผู้ป่วย12,408 ราย รักษาหายแล้ว 5,471 และเสียชีวิตสะสมไปแล้ว 59 ราย
อันดับที่ 3 ศรีสะเกษ ที่มีผู้ป่วย 10,445 ราย รักษาหายแล้ว 8,270 รายและ เสียชีวิตสะสมไปแล้ว 39 ราย
อันดับที่4 สุรินทร์ ที่มีผู้ป่วย 9,530 ราย รักษาหายแล้ว 6,108 ราย และ เสียชีวิตสะสมไปแล้ว 28 ราย
และอันดับที่5 ขอนแก่น ที่มีผู้ป่วย 8,924 ราย รักษาหายแล้ว 3,642 ราย และเสียชีวิตสะสมไปแล้ว 36 ราย
ซึ่งสำนักข่าวไอเอ็นเอ็นได้สัมภาษณ์นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ได้ระบุถึงยอดผู้ติดเชื้อโควิดสะสมตั้งแต่ระลอกเดือนเมษายนถึงปัจจุบันว่ายอดมีผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 12,408 ราย และเสียชีวิตไป แล้ว 59 ราย ซึ่งพบว่าเป็นการติดเชื้อกันในพื้นที่ชุมชนที่ติดต่อกัน บวกกับผู้ที่กลับมารักษาที่ภูมิลำเนาแล้วนำเชื้อมาแพร่กระจายในจังหวัดซึ่งปัจจุบันมีผู้ที่กำลังรักษาตัวอยู่กว่า 7,000 ราย เบื้องต้นได้ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มไปแล้วประมาณ 20% จากประชากรทั้งหมดกว่า 1,000,000 ราย ส่วนบุคลากรด่านหน้า และ บุคลากรทางการแพทย์ก็ได้ระดมฉีดไฟเซอร์ไปแล้วกว่า 8,000 ราย โดยทางจังหวัดได้รับจัดสรรมากว่า 10,000 โดส แต่ก็ยังขาดแคลนอยู่เช่นกัน อีกทั้งยังได้จัดซื้อซิโนฟาร์มมาเพิ่มเติมด้วย
อีกทั้งยังสั่งเป็นกึ่งล็อกดาวน์ไปแล้ว 2 อำเภอ คือ อำเภอเมืองอุบลราชธานี และอำเภอวารินชำราบ พร้อมขอความร่วมมือประชาชนงดออกนอกเคหสถานหลังเวลา 21.00 น. โดยดำเนินการมาแล้วเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 64 ไปจนถึง 31 สิงหาคม64 เพื่อลดการแพร่ระบาดในพื้นที่ให้ได้มากที่สุด และได้ช่วยเหลือเยียวยาคือส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่มอบสิ่งของครัวเรือนให้ผู้ที่กักตัว
นอกจากนี้ทางสำนักข่าวยังได้สัมภาษณ์นายแพทย์ทนง วีระแสงพงษ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ ได้บอกถึงยอดผู้ติดเชื้อโควิดสะสมตั้งแต่ระลอกเดือนเมษายนถึงปัจจุบันว่าขณะนี้ผู้ติดเชื้อสะสมไปแล้ว
10,445 รายแล้ว ซึ่งกำลังรักษาตัวอีกเกือบ 3,000 รายและเสียชีวิตสะสมไปแล้ว 39 ราย พบว่าส่วนใหญ่กลับมารักษาที่ภูมิลำเนามากกว่า 300 รายต่อวัน โดยได้ฉีดวัคซีนไปแล้วกว่า 10% จากจำนวนประชากรทั้งหมดกว่า 1,000,000 ราย และยังพบว่าผู้ที่เสียชีวิตส่วนใหญ่นั้นเชื้อลงปอดและยังเข้าไม่ถึงการฉีดวัคซีน พร้อมกันนั้นทางจังหวัดยังได้ใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ในการรักษาผู้ป่วยโควิดเพื่อช่วยบรรเทาจากอาการหนักกลายเป็นอาการเบา
ดังนั้นในพื้นที่จึงได้เตรียมบ้านโมเดลรับขวัญหลังที่ 5 เพิ่มหากในกรณีที่ผู้ป่วยรักษาหายจากโรงพยาบาลแล้วแต่ยังต้องกักตัวต่อให้ครบ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 อีกทั้งยังจัดตั้งโรงพยาบาลสนามใน
ทุกอำเภอด้วย เพื่อรองรับผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ทางผู้ว่าราชการจังหวัดฯยังได้เรียนเชิญผู้ที่มีความรู้ด้านสวัสดิการต่างๆมาให้ความรู้และฝึกอาชีพให้ประชาชนหรือกลุ่มว่างงานที่กำลังอยู่ระหว่างการกักตัวเพื่อให้เขาอีกด้วย
อย่างไรก็ตามตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิดยังคงพุ่งสูงต่อเนื่องแต่วัคซีนก็ยังไม่ได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั้งหมดพบว่าประชาชนรวมถึงผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังเข้าไม่ถึงวัคซีนแท้จริงแล้วนั่นเป็นเพราะอะไร
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news