Home
|
ทั่วไป

สรุปปลดล็อกพืชกระท่อม ออกจากยาเสพติดให้โทษ

Featured Image

          ปลดพืชกระท่อมออกจากยาเสพติดให้โทษ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 24 ส.ค. เป็นต้นไป หลักๆคือผู้กระทำความผิดได้รับการปล่อยตัวทันที รวมถึงสามารถปลูกและบริโภคกระท่อมตามวิถีชาวบ้าน วันนี้เราเลยสรุปเรื่องที่ควรรู้มาให้ทุกคนได้อ่านกัน

ความรู้เกี่ยวกับกระท่อมเบื้องต้น

          กระท่อมเป็นไม้ยืนต้น เป็นพืชที่มีสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศไทยและมาเลเซีย ในอดีตมักถูกนำมาใช้ รักษาการติดเชื้อในลำไส้ บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ลดไข้ บรรเทาอาการไอ ท้องร่วง ส่วนปัจจุบันมีกลุ่มคนบางส่วนนำมาใช้เพื่อกดความรู้สึกเมื่อยล้า ทนต่อการทำงานกลางแจ้ง ทนร้อน ทนแดด ทำงานได้นานขึ้น พบว่ามีใช้เพื่อลดอาการขาดยาอีกด้วย 

          อย่างไรก็ตาม กระท่อม ถูกจัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ในพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 7 ยาเสพติดให้โทษ 

พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2564 

          พระราชบัญญัติฉบับนี้จะมีผลตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2564 ปลดพืชกระท่อมออกจากยาเสพติดให้โทษ 

ส่งผลอะไรบ้างในเบื้องต้น? 

  • ประชาชนสามารถปลูกและขายได้ (ตรงนี้รอรายละเอียดชัดเจน)
  • ปล่อยผู้กระทำความผิดตามกฎหมายพืชกระท่อมในวันที่ 24 ส.ค. 2564 จำนวน 1,038 ราย ให้ถือว่าไม่เคยกระทำความผิด 
  • ผู้ถูกจับกุมหรือจำเลยในชั้นต่างๆ จะได้ดำเนินการตามแนวทางการปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปล่อยตัวผู้กระทำความผิดและผู้ต้องขังคดีความผิดเกี่ยวกับพืชกระท่อมต่อไป

          ตอนนี้ทางรัฐมนตรีได้กำชับให้สำนักงานคณะกรรมการป้องและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) เร่งสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนทราบถึงข้อกฎหมายที่ถูกต้อง เช่น ประชาชนสามารถที่จะปลูกบริโภคกระท่อมตามวิถีชาวบ้านจะนำมาเคี้ยวนำมาต้มน้ำดื่มโดยไม่ผสมสารเสพติดอื่นใดหรือจะซื้อขายภายในประเทศได้  

          ข้อสำคัญตอนนี้คือ แม้จะสามารถปลูกและบริโภคได้ก็ห้ามนำไปผสมสารเสพติดหรือที่รู้จักกันในชื่อ 4×100 ร่วมถึงรายละเอียดอื่นๆจะมีการออกประกาศแนวทางต่อไป หากมีการเผยแพร่ออกมาแล้วทาง ไอ.เอ็น.เอ็น. จะสรุปให้ทุกคนแน่นอน 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

ขอขอบคุณข้อมูล

สำนักงาน ป.ป.ส.

มหาวิทยาลัยมหิดล คณะเภสัชศาสตร์ 

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube