Home
|
ทั่วไป

ฉีดวัคซีนไขว้ปลอดภัย ภูมิสูงสู้เดลตาได้

Featured Image
สธ. ย้ำ ฉีดวัคซีนไขว้ปลอดภัย ภูมิสูงสู้เดลตาได้ อัตราการเจอเหตุการณ์ไม่พึ่งประสงค์หรือผลข้างเคียง ไม่แตกต่างไปจากเดิม

นพ.เฉวตสรร นามวาท ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค เปิดเผยถึงการ ฉีดวัคซีนไขว้ ในประเทศไทย ว่า ในขณะนี้มีการปรับสูตรวัคซีนให้ปฏิบัติทั่วประเทศ เป็น วัคซีน Sinovac เข็มที่ 1 และวัคซีน AstraZeneca เข็มที่ 2 ห่างกัน 3 สัปดาห์ เป็นสูตรหลัก หรือ วัคซีน AstraZeneca 2 เข็ม ห่างกัน 12 สัปดาห์ ในบางกรณี สำหรับกลุ่มเป้าหมาย ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป, ผู้สูงอายุ, ผู้ที่มีกลุ่มโรคเรื้อรัง 7 โรค และหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป

ส่วนวัคซีน ไฟเซอร์ (Pfizer) 2 เข็ม ห่างกัน 3 สัปดาห์ สำหรับ กลุ่มเด็กและวัยรุ่นอายุ 12-18 ปี ที่มีโรคเรื้อรัง 7 โรค และหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป

ส่วนกลุ่มเป้าหมายบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า จะได้รับวัคซีน ดังนี้

1.ผู้ที่ได้รับวัคซีน Sinovac หรือ Sinopharm ครบ 2 เข็ม ให้ฉีดวัคซีน Pfizer หรือ AstraZeneca กระตุ้น 1 เข็ม

2.ผู้ที่ได้รับวัคซีน Sinovac Sinopharm หรือ AstraZeneca 1 เข็ม ให้ฉีด Pfizer เข็มที่ 2 โดยกำหนดระยะห่างระหว่างโดสตามชนิดของวัคซีนเข็มที่หนึ่งเป็นหลัก

3.วัคซีน Sinovac และวัคซีน AstraZeneca เข็มที่ 2 ห่างกัน 3 สัปดาห์

4.วัคซีน Pfizer 2 เข็ม ห่างกัน 3 สัปดาห์

5.วัคซีน AstraZeneca 2 เข็ม ห่างกัน 12 สัปดาห์

อย่างไรก็ตามในส่วนของวัคซีน Pfizer ที่ได้รับการจัดสรร การกระจายยังคงมุ่งเน้นอยู่ในพื้นที่ 13 จังหวัดสีแดงเข้ม ซึ่งในรอบต่อไป Pfizer 30 ล้านโดส และ Sinovac 12 ล้านโดส จะมีการจัดสรรต่อไปเพื่อเดินหน้าฉีดวัคซีนอย่างต่อเนื่องเพื่อลดการป่วยหนักและการเสียชีวิต

นพ.เฉวตสรร ยังย้ำว่า ในส่วนของผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว ไม่ต้องกังวลเรื่องความปลอดภัยของวัคซีน จากอาการไม่พึงประสงค์หรือการฉีดไขว้ อัตราการเจอเหตุการณ์ไม่พึ่งประสงค์หรือผลข้างเคียง ไม่แตกต่างไปจากเดิม หากเงื่อนไขเป็นไปตามหลักเกณฑ์สามารถฉีดได้อย่างแน่นอน หรือบางส่วนอาจมีอาการแพ้วัคซีนสามารถเลือกสูตรวัคซีนทางเลือกได้

นพ.เฉวตสรร ยังเปิดเผยผลการทดสอบวัคซีนไขว้กับโควิดสายพันธุ์เดลตา ระดับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลตา ที่ระดับ Neutralizing Titer 50% ซึ่งการทดสอบต้องมีการเพาะเชื้อ โดยนำเลือดจากอาสาสมัครที่มีการฉีดตามสูตรต่าง ๆ มาทดสอบว่าสามารถยับยั้งเชื้อได้ผลดีหรือไม่นั้น ผลการทดสอบพบว่า

– Sinovac + Sinovac ผลปรากฏว่ามีภูมิคุ้มกันอยู่ที่ 24.31 (NT 50)

– AstraZeneca + Sinovac ปรากฏว่ามีภูมิคุ้มกันอยู่ที่ 25.83 (NT 50)

– Sinovac + Sinovac + Sinopharm ปรากฏว่ามีภูมิคุ้มกันอยู่ที่ 61.26 (NT 50)

– AstraZeneca + AstraZeneca ปรากฏว่ามีภูมิคุ้มกันอยู่ที่ 76.52 (NT 50)

– Sinovac + AstraZeneca ปรากฏว่ามีภูมิคุ้มกันอยู่ที่ 78.65 (NT 50)

– Sinovac + Sinovac + AstraZeneca ปรากฏว่ามีภูมิคุ้มกันอยู่ที่ 271.17 (NT 50)

จากการทดสอบภูมิคุ้มกันการฉีดวัคซีนไขว้พบว่ากระตุ้นภูมิได้ดีกว่าการฉีด SV+SV เช่น การฉีดวัคซีน Sinovac + Sinovac + AstraZeneca ในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ช่วงที่วัคซีน Pfizer ยังไม่เข้ามา ซึ่งได้ภูมิคุ้มกันที่สูง ทำให้มั่นใจที่สู้กับสายพันธุ์เดลตาได้

นพ.เฉวตสรร ย้ำ ฉีดวัคซีนไขว้ ปลอดภัย ภูมิสูงสู้เดลตาได้

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube