โรคขาดความรักไม่ได้ กลัวถูกทิ้งไว้ด้านหลัง อะไรนิดหน่อยก็แตกสลาย
โรคฮิสทีเรีย(Hysteria) หรือ โรคขาดความรักไม่ได้ คือ โรคทางจิตเวชประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นได้ทั้งชายและหญิง โดยผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีปัญหาด้านการควบคุมอารมณ์ หรือควบคุมความวิตกกังวลของตัวเองไม่ได้ รวมถึงความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมของตนเองก็ทำได้ไม่ดีเท่าคนปกติเช่นกัน
ถ้าพูดถึงเรื่องจิตใจ เราทุกคนล้วนมีความรู้สึกกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น ความรัก ความรู้สึก สังคม การเป็นที่ยอมรับ และ เป็นที่รักของผู้อื่น ล้วนแล้วอยากได้ความรักกันทั้งนั้น แต่ปัญหาก็คือในบางครั้ง เราอาจลืมตัว เอาความรู้สึกของตนเองเป็นใหญ่ เอาความต้องการของตนเองไปผูกไว้กับคนอื่น รับรู้ความรู้สึกมากกว่าคนปกติ ไม่ว่าจะดีใจหรือเสียใจ
เพราะเรามองเห็นคุณค่าในตนเอง เรามีแกนกลางที่ไม่มั่นคง พออะไรพัดผ่านเข้ามา เราก็จะอ่อนไหว เราจะแตกสลายโดยง่าย
สื่อโซเชียลมีเดีย มักจะทำให้เรารู้สึกเหมือนถูกทิ้ง เราจึงพยายามที่จะแทรกตัวเองลงไปในสังคม ให้เห็นถึงความสำเร็จของเรา ให้เห็นความสุขและทุกข์ เพื่อหาใครสักคน ที่เป็นที่พึ่งให้แก่เรา ได้เห็นตัวตนของเรา ที่ยังว้าวุ่น หลงทาง
ถึงมันจะไม่แปลกอะไร ที่เราไม่ได้เป็นที่ต้องการเป็นที่ยอมรับจากคนอื่น มันเป็นธรรมชาติของสัตว์สังคม ที่ไม่อยากถูกทิ้งไว้อยู่ข้างหลัง เราไม่สามารถเรียกร้องอะไรจากสังคม ทำได้เพียงให้เท่านั้น ส่วนผลตอบแทนนั้นจะตามมาเองโดยเราไม่ต้องร้องขออะไรเลย มาตรฐานนี้ไม่ได้เป็นสิ่งที่ถูกต้องเสมอไป ชีวิตเรากำหนดเองได้ อย่ามัวเรียกร้องอะไรจากคนอื่นเลย
อาการที่เข้าข่ายโรคฮีสทีเรีย
โรคฮิสทีเรียจะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1.โรคประสาทฮิสทีเรีย (Conversation Reaction) ผู้ป่วยจะมีความขัดแย้งทางจิตใจอย่างรุนแรงจนส่งผลให้เกิดความผิดปกติในด้านการเคลื่อนไหว หรือการรับรู้ เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง ชักเกร็ง พูดไม่ได้ ไม่ได้ยินเสียง มองไม่เห็น โดยอาการจะรุนแรงขึ้นเมื่อเกิดความขัดแย้งทางด้านจิตใจ แต่เมื่อผู้ป่วยตรวจร่างกายอาจจะไม่พบความผิดปกติใดๆ เพราะเกิดจากจิตใจของผู้ป่วยเองไม่ได้มากจากโรคจริงๆ
2.โรคบุคลิกภาพแบบฮิสทีเรีย จะสามารถพบได้บ่อยกว่า โรคประสาทฮิสทีเรีย โดยมีอาการ ต้องการเป็นจุดเด่น หรือ เป็นจุดสนใจ อยากเป็นที่รักของทุกคน พูดจาและแสดงท่าทางเกินจริง ผู้ป่วยโรคนี้จะรู้สึกอึดอัด และทนไม่ได้ทันทีหากตัวเองไม่ได้รับความสนใจจากคนรอบข้าง ไม่นึกถึงความรู้สึกของผู้อื่น หรือไม่ค่อยแสดงความห่วงใย ไม่มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
อารมณ์แปรปรวนง่าย รู้สึกเบื่อ หรือหงุดหงิดง่าย และมักแสดงอารมณ์ออกมาอย่างทันทีทันใด เช่น ร้องไห้ทันทีเมื่อรู้สึกเสียใจ หรือผิดหวัง แม้จะเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย หรือแสดงอาการโกรธอย่างรุนแรงกับเรื่องเล็กน้อย เช่น ทำร้ายตัวเอง หรือมีพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจที่ไม่สนว่าการกระทำนั้นจะส่งผลกะทบต่อผู้อื่นหรือไม่
การรักษาโรคฮีสทีเรีย ไม่ใช่เรื่องน่าอาย
การรักษาสามารถทำได้ด้วยการไปพบจิตแพทย์ หรือการบำบัดทางจิต เพื่อพูดคุยหาสาเหตุของการเกิดโรค ปรับความคิด และพฤติกรรมเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสมมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้แพทย์อาจใช้ยารักษาตามอาการควบคู่ไปกับการบำบัดทางจิตอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม โรคฮิสทีเรีย เป็นโรคที่เกิดจากจิตใจของผู้ป่วย จึงต้องใช้เวลาในการรักษา คนรอบข้างควรเข้าใจ และให้เวลากับการดูแลผู้ป่วยโรคนี้อย่างจริงจัง เพื่อให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติ สำหรับใครที่ถูกใจคอนเทนต์ดีๆแบบนี้ สามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่ iNN Lifestye
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews
อ้างอิงข้อมูลจาก