Home
|
คลิปข่าวทั่วไป

สินค้าแพง ยาแรงรัฐเอาไม่อยู่

สินค้าแพง ยาแรงรัฐเอาไม่อยู่

 

ราคาสินค้าแพงประเด็นร้อน ทำชาวบ้านประชาชนค่าครองชีพพุ่ง ซึ่งปรับขึ้นทั้งราคาสินค้าในหลายประเภท รวมทั้งภาวะโรคระบาดในหมู ที่ทำให้ราคาหมูปรับเพิ่มขึ้นกว่าเกือบเท่าตัว นอกจากปัจจัยภายในประเทศจะมีปัจจัยจากภายนอก ทั้งราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นจนไปถึงสินค้าภาคการเกษตรที่ผลักดันให้ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้นตามตามกัน

 

โดยนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า ปัญหาสินค้าราคาแพงในประเทศ เกิดจากปัจจัยราคาพลังงาน และสินค้าเกษตรในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งทำให้ราคาสินค้าต่างๆปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย รวมทั้งนโยบายของรัฐบาลที่ผ่านมามุ่งเน้นแต่การ กระตุ้นการจับจ่ายและเพิ่มกำลังซื้อให้กับประชาชน

 

จนทำให้ความต้องการสินค้าเพิ่มมากขึ้นและอัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะผลักดันให้หนี้ครัวเรือนของประชาชนในอนาคตตรวจสูงขึ้นตามไปด้วยควบคู่กับหนี้สาธารณะของภาครัฐ

 

ประกอบกับมีปัญหาการปกปิดโรคระบาดในสุกร โดยในเรื่องนี้รัฐบาลจะต้องเร่งเยียวยาให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูโดยเร็วเพื่อจัดการกับปัญหาให้จบแบบเด็ดขาด

 

อย่างไรก็ตามมองว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้แก้ไขและบริหารจัดการได้ยาก เนื่องจากรัฐบาลได้มีการนำวงเงินไปใช้ในการฟื้นฟูและเยียวยาเกี่ยวกับโดวิด-19 เป็นวงกว้างมากจนเกินไป ซึ่งในอนาคตอาจไม่เหลือวงเงินในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ

 

จากมุมมองของอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะเห็นได้ว่ามีความเป็นห่วงต่อสภาวะการคลังของประเทศในอนาคตจากการใช้จ่ายภาครัฐที่ไม่ตรงจุดเท่าที่ควร ถือได้ว่าแม้จะระดมระดับหัวกะทิของประเทศมาวางแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาแต่อาจจะไม่สำเร็จได้โดยง่าย จากนี้คงต้องมาดูทิศทางของทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลว่าจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างไรเพราะนอกจากของที่แพงขึ้นยังมีสภาวะของการแพร่ระบาดจาก โควิด-19 กดดันกิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่ให้ฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่ทั้งภาคการท่องเที่ยวและการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนที่นับวันเริ่มจากตึงตัวและมีภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้นตามมา

 

 

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebookhttps://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitterhttps://twitter.com/innnews

Youtubehttps://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTokhttps://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account@innnews

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube