“วิษณุ” บอก ศธ. ยังไม่รายงานแนวทางแก้ปมสอบTCas
“วิษณุ” บอก ศธ. ยังไม่รายงานแนวทางแก้ปมเด็กติดโควิด หมดสิทธิ์สอบTCasปีนี้ เลื่อนสอบปีหน้า รับ อาจมีปัญหามาตรฐานความยากง่ายไม่เท่ากัน มอง เด็กไม่ควรเสียสิทธิ์ -โอกาส คาดเกิดความชัดเจนในไม่ช้า
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึงกรณีที่นักเรียนมีปัญหา ติดเชื้อโควิค 19 ในวันที่มีสอบT-cas ว่า ตนยังไม่ทราบเรื่องที่กระทรวงศึกษาธิการไม่ให้เด็กที่ติดโควิด 19 สอบและให้เลื่อนไปสอบในปีการศึกษาหน้า แต่จะทราบในส่วนของการสอบข้าราชการพลเรือน หรือ ก.พ. ที่มีประมาณ 800,000 คน จึงมีคำถามว่าหากคนที่มีสิทธิ์สอบนั้นตรวจพบติดโควิดแล้วจะดำเนินการอยางไรต่อไป เพราะการตัดสิทธิ์ไม่ให้สอบ ถือเป็นการตัดโอกาส
ซึ่งในเรื่องนี้สามารถที่จะแยกห้องสอบได้หรือไม่ ซึ่งตนเองกำลังดูอยู่ พร้อมย้ำวว่าในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ ตนเองนั้นไม่ทราบเรื่องว่าจะมีการเตรียมจัดการปัญหานี้อย่างไร
ส่วนที่มีการติดต่อไปยังเว็บไซต์ของกระทรวงศึกษาธิการ เกี่ยวกับปัญหาในประเด็นดังกล่าว และได้รับคำตอบมาว่าในปีนี้ไม่สามารถสอบได้และให้ไปดำเนินการสอบในปีหน้า ซึ่งเด็กนักเรียนนั้นรู้สึกว่าเสียสิทธิ์จะมีการแก้ไขอย่างไร นายวิษณุกล่าวว่า ตนเองไม่ทราบ ว่าได้มีการเตรียมการอย่างไร เนื่องจากทางกระทรวงศึกษาธิการยังไม่ได้มีการรายงานมายังตน
ส่วนวิธีการจะให้จัดสอบในภายหลังจากที่มีการจัดสอบภาคปกติไปแล้ว นายวิษณุ ยังคงปฏิเสธไม่ทราบ เพราะการสอบแต่ละอย่าง โดยเฉพาะของกระทรวงศึกษาธิการ จะมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องข้อสอบและความยากง่าย รวมถึงมาตรฐานในแต่ละครั้งที่ไม่เหมือนกัน ถ้าหากมีการจัดสอบอีกครั้งจะกลายเป็นว่าข้อสอบง่ายหรือยากกว่าอีก ซึ่งต้องให้ทางกระทรวงศึกษาธิการหาทางออกในเรื่องนี้ ซึ่งคาดว่าในไม่ช้านี้จะเกิดความชัดเจน เพราะเด็กไม่ควรจะเสียสิทธิ์เสียโอกาสไปอีก แต่ในส่วนของตนเองนั้นกำลังหาทางออกในเรื่องการสอบ ก.พ.อยู่
นอกจากนั้นยังกล่าวถึงร่าง พ.ร.บ.กัญชา-กัญชง ว่า ให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการ แต่พบว่าการรือ ของสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดหรือ ป.ป.ส. มีกฎหมายเข้าไปเกี่ยวข้องส่วนหนึ่ง ดังนั้นเรื่องดังกล่าวการออกประกาศจึงเป็นในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข โดยที่ประกาศนั้นจะต้องได้รับความเห็นชอบ จาก ป.ป.ส.
โดยร่างเดิมที่ส่งมาจากสาธารณสุข มายัง ป.ป.ส. บางหน่วยงานมองว่ายังไม่สอดคล้องหรือขัดกับอนุสัญญาระหว่างประเทศที่ไทยเป็นสมาชิกใน 3 ฉบับ คือ อนุสัญญาปี ค.ศ 1961 ค.ศ. 1971- และค.ศ. 1988 แม้จะใช้มานานถึง60ปี แต่เอาจริงกับยาเสพติด และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท โดยในอนุสัญญาระบุว่าประเทศที่เป็นสมาชิก จะไปสนับสนุน ส่งเสริมการการใช้กัญชาโดยไม่ผิดกฎหมายไม่ได้ แต่ยกเว้นประโยชน์ทางด้านวิทยาศาตร์และทางด้านการแพทย์ แสดงว่ามีทางแก้ บางประเทศมีการแก้ไขตรงนี้ได้
แต่ปัญหาที่ร่างกฎหมายของกระทรวงสาธารณสุขเสนอมามีส่วนหนึ่งอ่านที่ตีความได้ว่า แม้จะเพื่อประโยชน์การแพทย์ และการสาธารณสุข แต่อาจจะตรวจสอบควบคุมยาก เช่นถ้ามีกัญชาไม่เกิน 0.2 ตามมาตรการวัดของสานเสพติดให้มีได้ แต่หากเกิดปัญหาคนนั่งเสพกัญชา ต่ำว่า 0.2 ก็ไม่มีเครื่องมือตรวจสอบ ตำรวจจะต้องดำเนินการอย่างไร หากไม่จับกุม ก็ละเว้นการปฎิบัติหน้าที่ตามมาตรา 157 จึงเป็นเรื่องมาตรการการบังคับ ดังนั้นจึงพบกันครึ่งทางว่า โดยกระทรวงสาธารณสุข ที่กำลังเสนอร่าง พ.ร.บ.กัญชง กัญชา เพื่อให้มีรายละเอียดการควบคุมการใช้อย่างรัดกุม
นายวิษณุ ยังย้ำเตือนประชาชน ให้รอร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวแล้วเสร็จก่อน อย่าเพิ่งทำอะไร ต้องทำตามกฎหมายก่อน อย่าปลูกขึ้นมาใหม่ โดยเฉพาะเพื่อการค้า พาณิชย์ หรือการเสพเพื่อนันทนาการ ซึ่งหากปลูกไปแล้วก็ต้องถูกจับกุมส่วนสภาจะล่ม และต้องยืดเวลาหรือไม่ ก็ต้องดูกันอีกที แต่ในชั้นนี้ จำเป็นที่จะต้องแสดงเจตนารมย์ของไทยต้อสหประชาชาติ
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews