โอไมครอน BA.2 มาแล้ว ระบาดเร็วกว่าเดิม
สถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 และโอไมครอน ระบาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ความรุนจะน้อยลง แต่ก็ยังต้องเฝ้าระะวัง
สถานการณ์โรคโควิด-19 ยังเป็นที่น่าจับตามอง และต้องเฝ้าระวังสายพันธุ์ใหม่อย่างต่อเนื่องแม้ว่าขณะนี้ประเทศไทยจะมีการระบาดของเชื้อโอไมครอนเป็นส่วนใหญ่ และความรุนแรงน้อยลงก็ตาม วันนี้ 15 กุมภาพันธ์ 2565 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นำโดย นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พร้อมด้วย นพ.บัลลังก์ อุปพงษ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และ นพ.อาชวินทร์ โรจนวิวัฒน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข เปิดเผยการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด-19 และโอไมครอน ระบุว่า การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ทั่วโลก ขณะนี้สายพันธุ์หลักยังคงเป็นโอไมครอน BA.1 แต่เนื่องจากแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วทั่วโลก ทำให้มีโอกาสเกิดการกลายพันธุ์ได้มาก ทั้งการเกิดสายพันธุ์ย่อยของโอไมครอน และการเกิดสายพันธุ์ใหม่ โดยปัจจุบันผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เดินทางจากต่างประเทศเข้าสู่ประเทศไทย ส่วนใหญ่พบเป็นสายพันธุ์โอไมครอน 99.4% และผู้ติดเชื้อภายในประเทศไทย พบเป็นสายพันธุ์โอไมครอน 96.2%
ทั้งนี้ จากการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัว (WSG) ของสายพันธุ์ย่อยโอไมครอน พบเป็นสายพันธุ์ BA.2 ประมาณ 2% และจากการเริ่มสุ่มตรวจบางพื้นที่ (SNP) พบเป็นสายพันธุ์ BA.2 ในสัดส่วนประมาณ 18% สำหรับสายพันธุย่อยของโอไมครอน BA.2 สามารถแพร่ระบาดได้รวดเร็วกว่า BA. 1 แต่ยังยืนยันไม่ได้ว่ามีความรุนแรงกว่าหรือไม่ เนื่องจากยังมีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะสรุป โดยจะมีการติดตามต่อไปBA.2 เนี่ยมีหลักฐานอยู่บ้างพอสมควร ว่าเค้าแพร่ได้เร็วกว่า BA.1 เพราะฉันนั้นหลายพื้นที่เลยเปลี่ยน BA.1 ไป แต่ว่าความรุนแรงนะครับ ยังไม่ได้มีข้อมูลมากพอที่จะบอกว่าอาการของคนที่ติด BA.2 รุนแรงมากกว่า มากหรือน้อยแค่ไหน”
ด้าน นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า เมื่อสถานการณ์ของโรคโควิด-19 เริ่มเป็นธรรมดาเหมือนไข้หวัด และไม่ได้มีความรุนแรงแล้ว อาจจะไม่ต้องมีการรายงานสถานการณ์รายวัน โดยขณะนี้สถานการณ์ของโรคโควิด-19 ก็มีความรุนแรงน้อยลง เนื่องจากเป็นสายพันธุ์โอไมครอนเกือบ 100% ทั้งนี้ ขอยืนยันว่าใช่เรื่องที่จะเบี่ยงเบนหรือปกปิดข้อมูลการแพร่ระบาดแต่อย่างใด
“โรคมันรุนแรงน้อยลงแล้วนะ เพียงแต่ว่าอย่างนี้ ให้ความมั่นใจว่าแต่ละวันเนี่ยเราก็ยังมีข้อมูลอยู่นะที่จะเอามาใช้ในการบริหารจัดการเพียงแต่ว่าเราจะต้องรายงานทุกวันหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่นแม้กระทั่งการกลายพันธุ์เนี่ยครับถ้าเราตรวจแล้วปรากฏว่ามันก็เป็นโอไมครอนเกือบทั้งหมดแล้วเราก็จะพูดง่ายๆไม่ต้องตรวจมากเกินกว่าความจำเป็นก็ได้เพราะอย่างนั้นในหลายประเทศเองเนี่ยแม้กระทั่งเรื่องการตรวจ ก็อาจจะตรวจน้อยลงแล้ว เพราะว่าเอ่อถ้ามันเป็นโรคที่ไม่รุนแรงเป็นโรคที่อาจจะเกิดขึ้นได้เป็นปกติธรรมดาการที่จะลงทุนกับค่าตรวจทรงสูงอาจจะไม่คุ้มค่านะครับ เพราะฉะนั้นทุกวันนี้อาจจะต้องชั่งดูตามสถานการณ์ตามความจำเป็นครับ ไม่ใช่เรื่องของการที่จะเบี่ยงเบนหรือว่าปกปิดอะไรครับ เพราะว่าข้อมูลอยู่ในมือเรา เราก็ยังมีข้อมูลอยู่ที่จะใช้ในการบริหารจัดการทั้งนี้ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ยืนยันว่า วัคซีนเข็มกระตุ้นยังคงช่วยป้องกันสายพันธุ์ BA.2 ลดอาการป่วยหนัก และเสียชีวิตได้
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews