Home
|
ข่าว

อีก 2 วันผู้ว่าฯกทม.-เราเขาใครมา

@เหลืออีก2วัน 22พ.ค.คนกรุงจะได้เลือกผู้ว่ากทม.และ สมาชิกสภากรุงทพฯ(สก.) ที่จะเป็นตัวหยั่งวัดปรอทความรู้สึกทางการเมือง ของคนกรุงฯ ที่มักเป็นเข็มทิศให้กับคนต่างจังหวัด ในจังหวะการเมืองใหญ่ถึงครากลับสู่สนามศึกเลือกตั้งหลังครบวาระสภาฯอีก7-8เดือนข้างหน้า แบบที่ทุกฝ่ายต่างรีบโกยคะแนนทำแต้ม แบบต้องลุ้นว่าจะมี “อุบัติเหตุการเมือง”ก่อนหรือไม่ระหว่างทางกับ รัฐบาล จาก “บางตัวแปร”ที่เป็นคู่ขัดแย้ง

 

โดยเฉพาะกับตัว “นายกฯลุงตู่”ที่วันนี้ก็เร่งปั่นแต้มเหมือนกับ “พี่ใหญ่” อย่างที่มีคิว “ดินเนอร์ไล่ลุง”ของฝ่ายค้าน เพื่อไทย พรรคเล็ก และ “ผู้กองนัส”ที่ยังรอลุ้นว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่วันที่23พ.ค.อันมีผลเลือกตั้งผู้ว่ากทม.เป็นตัวชี้ทิศทางระดับความรุนแรงของเกมการเมือง ภายใต้คิว “3กับระเบิด”การพิจารณา ร่างพรบ.งบประมาณ66,ศึกซักฟอกรัฐบาล และ การยื่นตีความคุณสมบัตินายกฯลุงตู่ดำรงตำแหน่ง 2สมัย8ปี ที่ยังไม่นับรวมบรรยากาศการบิ๊วอารมณ์ “พ.ค.ทมิฬ”และวันครบรอบ8ปีรัฐประหาร 22พ.ค.ที่บังเอิญถูกกำหนดตรงกับวันเลือกตั้งผู้ว่ากทม.และนายกฯพัทยาในรอบ5ปีพอดี

@เป็นตัวเลือกตั้งผู้ว่ากทม.ที่ซ้อนทับกับภาพ “ความกลัว”ที่หากสถานการณ์เข้าสู่โซนอันตรายยังมีโอกาสเกิดการ “ล้มกระดาน”ที่สิ่งเหล่านี้ยังซ้อนทับกับภาพของ “ผู้สมัครผู้ว่ากทม.”ฝั่ง “เรา”ตามยุทธศาสตร์วาทกรรม “ไม่เลือกเราเขามาแน่”ที่ฉายภาพตัดในร่องรอยความขัดแย้งทางความคิดของแต่ละฝ่าย แปรค่าออกมาเป็น “ผลคะแนนเลือกตั้ง”แบบที่ “ฝ่ายเขา”ก็มี “คะแนนจัดตั้ง”บวกกับ “นิวโหวตเตอร์ ” ในขณะที่ “ฝ่ายเรา”ก็มีคะแนนจัดตั้งของ “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย”(พธม.)ที่พัฒนามาเป็น “สลิ่มจ๋า”

 

และ “กปปส.”รวมถึง “กองเชียร์ลุงตู่”ที่ “ดร.เสรี วงศ์มณฑา”โพสต์เรียกหาให้ออกมาช่วยกาหมายเลข “3,4,6,7”เพื่อสกัดแผนแลนด์สไลด์กลับมาของคนแดนไกลอย่าง “พี่โทนี่”และต่อมามีการเรียกร้องให้มีการ “เทคะแนน”ให้กับคนที่มีโอกาสชนะใน “กลุ่มมัดรวม” แม้กองเชียร์แต่ละเบอร์จะออกมามาคนละทาง แต่ทิศทางตามยุทธศาตร์ก็มาทรงเดียวกันอย่างป้ายหาเสียงช่วง2วันสุดท้ายที่มีการแปะข้อความทำนอง “ไม่เทให้เราเขามาแน่”ของผู้สมัครกลุ่มนี้

@ในขณะที่ฝ่ายที่ถูกมองว่าเป็น“เขา”อย่าง “เบอร์8”ชัชชาติ และ “เบอร์1 “วิโรจน์”นั้น ถูกมองว่ามีการตัดคะแนนกันจากนิวโหวตเตอร์ และฐานคะแนนเดิม อย่างที่ “ดร. สติธร ธนานิธิโชติ” ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า เคยวิเคราะห์ไว้น่าสนใจ ว่า หากนำผลการเลือกตั้งซ่อม ส.ส.จตุจักร-หลักสี่ เมื่อ ม.ค. 2565 มาเทียบเคียงและคาดการณ์จากสถิติ

 

ซึ่งพบว่า ผู้สมัครพรรคก้าวไกลได้คะแนนไป 20,361 คะแนน โดยได้คะแนนเขตละหมื่นเสียง จึงพออนุมานได้ว่าก้าวไกลมีประชาชนพร้อมลงคะแนนให้เฉลี่ย 10,000 คน/เขต นั่นเท่ากับว่าวิโรจน์มีโอกาสได้คะแนนราว 5 แสนเสียงจาก 50 เขต แต่อาจมีคนโหวตเชิงยุทธศาสตร์ เก็บวิโรจน์ไว้สนามใหญ่ดีกว่า เลือกชัชชาติเป็นผู้ว่าฯ แต่ ส.ก. กาให้ก้าวไกล

 

คะแนนก็อาจจะออกมาเป็น ชัชชาติ 8 แสนเสียง วิโรจน์ 4 แสนเสียง โดยโจทย์ของชัชชาติคือ เมื่อคิดว่ามี 8 แสน แต่เป้าคือ 1 ล้าน ต้องหาอีก 2 แสนเสียง ก็ต้องหาสลิ่มกลับใจให้ได้ ต้องหาสวิงโหวตให้เจอ และว่า ในขณะที่หากฝ่ายอนุรักษนิยม หรือ “เรา”จะชนะได้ต้องรวมเป็นหนึ่ง ส่วนฝ่ายที่เรียกตัวเองว่า “ฝ่ายประชาธิปไตย”หรือที่ถูกเรียกว่า “เขา” ต้องข้ามขั้วให้ได้-ไปให้ถึงล้าน ถึงจะพบกับชัยชนะ

@โดยทั้งหมดอยู่ภายใต้สมการ หากมีการ นำคะแนนเสียงที่แต่ละพรรคได้จากการเลือกตั้ง ส.ส.กทม. เมื่อปี 2562 มาทดลองคำนวณหาฐานเสียงของผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. สองขั้วการเมือง พบข้อมูล ว่า ขั้วฝ่ายค้าน มีฐานเสียงราว 1.4 ล้านเสียง จากอนาคตใหม่/ก้าวไกล 8 แสนเสียง และ พท. 6 แสนเสียง ขั้วรัฐบาล มีฐานเสียงราว 1.2 ล้านเสียง จาก พปชร. 7.9 แสนเสียง

 

และ ปชป. 4.7 แสนเสียง โดยมีการมองว่า เกือบล้าน จะแบ่งกันระหว่าง อัศวิน-สกลธี ถ้ามีการชี้ว่าใครมีคะแนนนำชัดเจน ก็จะพบการเทขาดเพื่อเอาชนะผู้สมัครจากอีกขั้วให้ได้ ซึ่ง คะแนนที่ผู้สมัครขั้วรัฐบาลได้จะสะท้อนภาพ ว่า คน กทม. บางส่วนยังสนับสนุน พล.อ. ประยุทธ์ และเชียร์รัฐบาลหรือไม่ด้วย.

 

 

 

 

 

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

 

 

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube