Home
|
ข่าว

“ชัชชาติ” MOU ศาลยุติธรรมดูแลผู้ต้องขังปล่อยตัวชั่วคราว

Featured Image
“ชัชชาติ” ร่วมลงนาม ปฏิรูประบบการปล่อยตัวชั่วคราวกับศาลยุติธรรม เผย ปัญหาหลักของคนกรุงเทพฯ คือความเหลื่อมล้ำ

 

วันนี้ (30 มิ.ย.) นายจีระพัฒน์ พันธุ์ทวี เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมพร้อมด้วยนายชัชชาติ สิทธิพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร ได้เข้าร่วมลงนามใน “บันทึกข้อตกลงความร่วมมือในโครงการพัฒนาระบบประเมินความเสี่ยงและการกำกับดูแลในชั้นปล่อยชั่วคราวของศาลยุติธรรม”

 

ระหว่างสำนักงานศาลยุธรรมและกรุงเทพมหานคร ณ ห้องประชุมสัญญา ธรรมศักดิ์ ชั้น7 สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ถนนรัชดาภิเษก แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

 

การลงนามบันทึกข้อตกลงก่อให้เกิดความร่วมมือในการปฏิรูประบบการปล่อยตัวชั่วคราวในคดีอาญาจากเดิมที่ต้องใช้เงินหรือทรัพย์สินมาวางต่อศาลเพื่อเป็นหลักประกัน

 

เป็นการใช้ข้อมูลและการประเมินความเสี่ยงตามหลักวิชาการในการปล่อยตัวชั่วคราว ร่วมท้้งการแต่งตัังผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวแทนโดยศาลเพื่อลดการใช้หลักทรัพย์ในการปล่อยตัวช่วยคราวอันจะส่งผลเป็นการลดการคุมขังที่ไม่จำเป็น

 

นายจีระพัฒน์ กล่าวว่า การปล่อยชั่วคราวที่ผ่านมาเป็นการปล่อยชั่วคราวโดยยึดจากเงินหรือทรัพย์สิน โดยใช้ข้อหาความผิดเป็นการตีราคา ซึ่งที่ผ่านมาเกิดความเหลื่อมล้ำ ขังคนที่ไม่ควรถูกขังหรือ ปล่อยคนที่ไม่ควรถูกปล่อย เนื่องจากคนที่มีความผิดเท่ากัน แต่คนที่มีเงินกลับได้ถูกปล่อยตัว คนที่ไม่มีเงินก็ถูกขัง อย่างเดียวกันคือ คนที่มีความผิดสูงมากแต่มีเงินกลับถูกปล่อยตัว

 

 

ซึ่งการใช้วงเงินเป็นหลักประกันก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติหลายประการ ที่เห็นได้ชัดเจนคือก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำ และก่อให้เกิดสถานการณ์ขังคนที่ไม่ควรถูกขังหรือปล่อยคนที่ไม่ควรถูกปล่อย ผู้ต้องหาหรือจำเลยที่มีพฤติการณ์เหมือนกันความเสี่ยงระดับเดียวกันคนที่มีหลักทรัพย์ประกันจะได้ปล่อยตัวชั่วคราว ในขณะที่บางคนต้องถูกขังไว้เพราะไม่มีเงินหรือมีหลักทรัพย์เพียงพอ

 

ทั้งที่ศาลมีการประเมินความเสี่ยงเป็นรายบุคคล ในขณะเดียวกันคนที่มีความเสี่ยงสูงมากแต่มีหลักประกันก็จะได้ปล่อยตัวชั่วคราว นั่นคือเป็นกรณีที่ปล่อยคนที่ไม่ควรถูกปล่อย และก่อให้เกิดต้นทุนแก่รัฐอย่างมหาศาลเพราะคนที่ไม่มีหลักทรัพย์ต้องถูกขังรัฐต้องมีค่าดูแลคนละ 30,000-40,000 บาท คน/ปี

 

ซึ่งข้อมูลการประเมินความเสี่ยงก่อนปล่อยคือสิ่งสำคัญ และจะทำให้จำเลยที่มีฐานะยากจนเข้าถึงความยุติธรรมเท่ากับคนฐานะดีโดยจะมีการตั้งผู้กำกับคอยสอดส่องดูแล รับรายงานตัวและให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ถูกปล่อยตัวชั่วคราว เพื่อป้องกันการหลบหนี การไปก่อภัยอันตราย สร้างความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อสังคม และทำให้สังคมมีส่วนร่วมในการดูแลและรักษาความสงบเรียบร้อยอย่างสมดุลกัน

 

ด้าน นายชัชชาติ กล่าวว่า ปัญหาหลักส่วนใหญ่ของคนกรุงเทพฯ ที่เจอคือปัญหาความเหลื่อมล้ำ เหมือนที่มีคนชอบพูดกันว่าคุกมีเอาไว้ขังคนจนเท่านั้น ซึ่งตั้งแต่ลงพื้นที่ก็ได้เล็งเห็น 2 ประเด็นหลักคือ ชุมชนต่างๆ จะจัดตั้งคณะกรรมการบริหารชุมชน

 

ซึ่งถ้าชุมชนไหนเข้มแข็งชุมชนนั้นจะรอดโควิดได้ และคนในชุมชนจะรู้จักเครือข่ายซึ่งกันและกัน จะรู้รายละเอียดดีกว่าศาล ซึ่งถ้าให้เกรียติเขาจะเกิดความภูมิใจโดยตลอดระยะเวลา 1 เดือนที่ผ่านมาก็ได้มีการเริ่มกระจายอำนาจให้ประชาชนร่วมแจ้งเหตุผ่านแอปพลิเคชัน ทราฟฟี่ ฟองดูว์ ซึ่งทำให้ประชาชนเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจที่มีส่วนร่วมช่วยให้ชุมชนเข้มแข็งขึ้นอีกด้วย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube