Home
|
ข่าว

ศบค.ยันเตียงผู้ป่วยหนักเพียงพอ-ต่อพ.ร.ก.ฉุกเฉิน 2 ด.

Featured Image
นายกฯ เน้นย้ำจำนวนติดเชื้อ-ข้อมูล ขอฟังจากศบค. ยันเตียงผู้ป่วยหนักยังเพียงพอ เคาะต่อพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ครั้งที่ 19 อีก 2 เดือน

 

 

 

นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือศบค. กล่าวภายหลังประชุมศบค.ชุดใหญ่ โดยมีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุม ว่า ซึ่งตัวเลขที่สำคัญคือผู้ป่วยอาการหนัก 763 ราย และใส่ท่อช่วยหายใจ 327 ราย โดยอัตราการครองเตียงระดับ2 และ 3 อยู่ที่ 11.9%

 

ซึ่งที่ประชุมนายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำการติดเชื้อที่มีข่าวหรือสื่อ นักวิชาการรวมถึงผู้ที่ใช้โซเชียลมีเดียให้ข้อมูล ซึ่งอาจจะมีทั้งสอดคล้องและขัดแย้งกันต่างๆ โดยนายกรัฐมนตรีได้พูดถึงในที่ประชุมว่าหน้าที่หลักทางศบค. และทางกระทรวงสาธารณสุขโดยเฉพาะนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ขอความร่วมมือว่าขอให้ฟังจากทาง ศบค.

 

ขณะเดียวกันที่มีข้อมูลว่ามีผู้ป่วยหนักมากกว่านี้แต่ไม่ได้นอนที่โรงพยาบาล ซึ่งทางกรมควบคุมโรคได้แสดงรายงานทุกวันซึ่งเป็นตัวเลขที่สำคัญโดยเฉพาะตัวเลข OPSI หรือ OP SELF ISOLATION หรือที่เรียกกันว่า เจอ แจก จบ โดยเป็นผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาล รับยาเสร็จแล้วกลับบ้าน

 

ซึ่งในสัปดาห์ที่ 26 พบผู้ป่วยจำนวน 207,643 ราย เฉลี่ยวันละประมาณ 29,000 คนทั่วประเทศ ส่วนผู้ป่วยปอดอักเสบในสัปดาห์ที่มี 763 ราย และใส่ท่อช่วยหายใน 327 ราย แนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

 

ซึ่งยังมีเตียงรองรับเพียงพอ จึงต้องขอความร่วมมือในการช่วยสวมใส่หน้ากากอนามัยให้ได้มากที่สุดเพราะคือการป้องกันการติดเชื้อและการเสียชีวิตของคนสูงอายุ

 

โดยกระทรวงสาธารณสุขได้เสนอแนวทางการขับเคลื่อนการบริหารจัดการโควิด-19 หลังการระบาดใหญ่ ซึ่งไม่ได้พูดว่าเป็นโรคประจำถิ่น แต่อย่างไรก็ตามเป็นเป้าหมายว่าวันนึงจะเข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่น แต่หลังการระบาดใหญ่นี้จะเป็นอย่างไรจะมียุทธศาสตร์ที่วางแผนกันไว้

 

โดยปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้เสนอแผน Moving to Covid-19 Endemic ซึ่งมีมาตรการทางเศรษฐกิจ มาตรการทางสังคม และองค์กรและมาตรการทางการแพทย์และสาธารณสุข ช่วยกัน ซึ่งจะมี 4 แผน โดยมีการเสนอบ้างแล้ว คือ สาธารณสุขการแพทย์, กฎหมาย, สังคมและการสื่อสาร และการประชาสัมพันธ์

 

ส่วนการเปิดกิจการ กิจกรรม ต้องขอความร่วมมือ เพราะเรายกเลิกการปิดสถานบริการแล้ว จึงต้องฝากผู้ประกอบการร่วมมือกันเพื่อที่จะให้เห็นตัวเลขผู้ป่วยไม่พุ่งไปมากกว่า

 

ส่วนการเดินทางระหว่างประเทศก็ได้มีการผ่อนคลาย กฎหมายต่างๆไม่ว่าจะเป็นของกระทรวงมหาดไทย กฎกระทรวงมหาดไทยเป็นโรคต้องห้ามก็ต้องไปศึกษาตอนนี้เป็นโรคต้องห้าม สำหรับการนำต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักร ปี 2563 ซึ่งต้องหาทางยกเลิกการกำหนดโรคต่าง ๆ เหล่านี้

 

นอกจากนี้ที่ประชุมได้เห็นชอบในหลักการนี้โดยให้คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติกำหนดกรอบนโยบายและแนวทางปฎิบัติในการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคตามมาตรา 14 (1) ของพ.ร.บ.โรคติดต่อ 2558 และเพิ่มแรงจูงใจให้ประชาชนเข้ารับการฉีดวัคซีนโดยเฉพาะกลุ่ม 608 กลุ่มที่มีความเสี่ยง

 

และจัดระบบเข้าถึงยาต้านไวรัสให้สะดวกเข้าถึงง่าย โดยมีการมอบให้กรมประชาสัมพันธ์กระตุ้นให้ประชาชนเห็นถึงความสำคัญของการสวมใส่หน้ากากอนามัย

 

ด้านการพิจารณาการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วราชอาณาจักร ซึ่งขยายไปอีก 2 เดือนระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม-30 กันยายน 2565 เป็นคราวที่ 19

 

โดยนายกรัฐมนตรีเน้นย้ำว่าการขยายพ.ร.ก.ฉุกเฉินเพื่อการควบคุมป้องกันโรคและรักษาชีวิตประชาชน ส่วนเรื่องอื่นไม่ได้เป็นวัตถุประสงค์ของพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ขอให้ทุกคนได้รับทราบ ซึ่งไม่ได้ต้องการจำกัดเสรีภาพอะไรแต่อย่างใด

 

 

 

 

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube