เลขา กกต. ย้ำ วิธีหาสียง มีมาตรฐานเดียว
เลขา กกต. ย้ำ วิธีหาสียง มีมาตรฐานเดียว ต่างกันที่ระยะเวลาการบังคับใช้ระเบียบวิธีการหาเสียงที่เพิ่มขึ้น เชื่อพรรคการเมืองเข้าใจ เพราะเคยปฏิบัติมาแล้ว ส่วน รัฐมนตรีลงพื้นที่ทำได้ หากเป็นงานที่รับผิดชอบอยู่แล้ว
นายแสวงบุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ย้ำว่า ไม่มีอะไรน่ากังวล กกต. ออกระเบียบ บนหลักการของมาตรา 68 เพื่อประโยชน์ แห่งความเที่ยงธรรม และความเรียบร้อย ไม่ได้คำนึงว่าพรรคไหนจะได้อะไร ทุกคนต้องปฏิบัติเหมือนกัน
ส่วนระเบียบว่าด้วยวิธีหาเสียง บังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2562 พรรคก็คุ้นเคยอยู่แล้ว เพียงแต่เพิ่มเงื่อนเวลา เตรียมความพร้อมสู่การเลือกตั้ง จาก 60 วัน เป็น 180 วัน และสิ่งที่เพิ่มเติมคือ หากยังไม่สามารถแบ่งเขตได้ จะต้องทำอย่างไร ยืนยันว่า การหาเสียงมีมาตรฐานเดียว เพียงแต่เพิ่มวันเป็น 180 วัน และยอมรับว่า อาจเป็นการเพิ่มภาระให้พรรคการเมือง ด้วยระยะเวลาที่ยาว พรรคยังต้องทำกิจกรรมทางการเมืองอย่างอื่น ตามกฎหมายพรรคการเมือง ไปพร้อมกันด้วย ดังนั้นพรรคการเมืองจะดำเนินการอะไร
ต้องพิจารณาระเบียบ และประกาศ กกต. ที่เกี่ยวข้อง ทั้ง 4 ฉบับ ฉบับแรก คือ ฉบับหลักที่ประกาศใช้เมื่อปี2562 ที่ว่าด้วยระเบียบและวิธีการหาเสียง ส่วนฉบับที่ 2 และ 3 เป็บประกาศ และระเบียบ ที่ออกมาเพื่อปิดช่องว่างในระหว่างที่ยังไม่สามารถแบ่งเขตได้ ซึ่งต้องรอ ร่าง พ.ร.บ. มีผลบังคับใช้ก่อน และ ฉบับที่ 4 เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับป้ายหาเสียง
เช่น จำนวน และ ขนาดของป้าย เชื่อว่าหากพรรคการเมื่อตรวจสอบทั้ง 4ฉบับ แล้ว จะไม่มีคำถาม จะไม่มีข้อสงสัย อีกทั้ง กกต. ได้ชี้แจงรายละเอียดกับตัวแทนพรรคไปแล้ว กกต. จะไม่พูดซ้ำอีก หากมีข้อสงสัย ให้ถามกับตัวแทนพรรคที่เข้าน่วมประชุมกับ กกต.เอง เพื่อให้เข้าใจตรงกัน ทุกฝ่าย
เมื่อเริ่มนับ 180 วัน กิจกรรมต่างๆพรรคการเมือง ต้องระมัดระวัง มากขึ้น เพราะบางโครงการของพรรค ต้องดำเนินการกับผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เช่น โครงการ เปิดตัวผู้สมัคร หรือ การเปิดเวทีปราศรัย และให้ค่าที่พัก ค่ายานพาหนะ จัดเลี้ยง ก็จะให้ไม่ได้แล้ว ทุกอย่างจะถูกคิดเป็นค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น พรรคการเมืองทราบระเบียบนี้ดีอยู่แล้ว
ทั้งนี้นายแสวง ยืนยันว่า การลงพื้นที่ ของ รัฐมนตรี ข้าราชการ ที่มีหน้าที่ดูแล ประชาชนในเรื่องนั้นๆ ยังสามารถทำได้ หากไม่ได้อยู่ในหน้าที่ของตัวเอง ก็ต้องระวังอาจเป็นการใช้ตำแหน่งหน้าที่ หาเสียงได้ หากทำในอำนาจหน้าที่ของตัวเอง กฎหมายก็จะคุ้มครองเอง ส่วน สส. ไม่ได้มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินโครงการช่วยเหลือประชาชน อย่างไรก็ตามระเบียบ ประกาศต่างๆมีขึ้นให้ครอบคลุมไปถึงผู้ที่ประสงค์จะลงสมัครรับเลือกตั้งด้วย ไม่ใช่แค่พรรคการเมืองเพียงอย่างเดียว
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews