Home
|
ไลฟ์สไตล์

เดินตัวเอียงเกิดจากอะไร แค่บุคลิกไม่ดี หรือต้องเข้ารับการรักษา?

Featured Image

          คนที่เดินตัวเอียงส่วนใหญ่จะไม่รู้ตัวมาก่อน จะมารู้อีกทีเมื่อมีคนทัก หรืออาจรู้สึกได้เองว่าเดินตัวเอียงจากอาการปวดหลัง ซึ่งอาการที่ว่านี้อาจเกิดจากกระดูกสันหลังคด ที่พบได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ และยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แท้จริง ส่วนใหญ่จะพบว่าเป็นตั้งแต่ยังเด็ก เมื่อโตขึ้นถึงจะมีอาการชัดเจนขึ้นมา เนื่องจากโรคกระดูกสันหลังคดจะไม่แสดงอาการ แต่เมื่อรู้สึกว่ามีความผิดปกติต้องรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อจะได้หาทางรักษาให้ทันท่วงที วันนี้เราจะมาดูกันว่าสาเหตุที่เดินตัวเอียงเกิดจากอะไร แค่บุคลิกไม่ดี หรือต้องเข้ารับการรักษา?

อาการเดินตัวเอียงจากกระดูกสันหลังคด

          คนที่มีอาการเดินตัวเอียงจากกระดูกสันหลังคดส่วนใหญ่ มักจะไม่ค่อยรู้ตัว ทำให้หลายๆ คนมาพบแพทย์ช้ากว่าที่ควรจะเป็น หรือบางรายเริ่มมีอาการปวดหลังถึงจะเริ่มค่อยๆ สังเกตตัวเอง นั่นก็เพราะโรคกระดูกสันหลังคดที่เกิดขึ้นนั้น กว่า 80 % ไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน เรียกกันว่า กระดูกสันหลังคดชนิดไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic Scoliosis) แต่ปัจจุบันนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการแพทย์ก้าวหน้าไปอย่างมาก สามารถรักษาโรคกระดูกสันหลังคดให้กลับมาอยู่ในสภาวะใกล้เคียงปกติมาก หากเข้ารับการรักษาในช่วงเวลาที่เหมาะสม

โรคกระดูกสันหลังคด (Scoliosis) คืออะไร

          โรคนี้เกิดจากแนวกระดูกสันหลังมีลักษณะผิดรูป จากปกติกระดูกสันหลังคนเราจะโค้งงอไปด้านหน้าหรือหลังเพียงเล็กน้อย จะเปลี่ยนเป็นโค้งงอ คด หรือบิดไปด้านซ้ายหรือขวา อาการเริ่มแรกจะโค้งเป็นรูปตัว C เรียกว่าคดหนึ่งตำแหน่ง ส่งผลให้ปวดหลังเรื้อรัง แต่หากทิ้งไว้นานโดยไม่รักษา อาการโค้งดังกล่าวจะกลายเป็นรูปตัว S หรือคดสองตำแหน่ง ทำให้ร่างกายเสียสมดุล การทรงตัวได้ไม่ดี ส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก ซึ่งอาการนี้จะส่งผลต่อสรีระส่วนอื่นๆ เช่น ไหล่ เอว และสะโพกด้วย

ประเภทของโรคกระดูกสันหลังคด

  1. โรคกระดูกสันหลังคดแบบไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic Scoliosis) เป็นอาการที่พบได้มากที่สุด ภาวะอาการจะแยกออกตามช่วงวัยและสาเหตุอื่นๆ ดังนี้
  • วัยทารก จะเกิดอาการก่อนอายุ 3 ขวบ
  • วัยเด็ก จะเกิดอาการระหว่างช่วงอายุ 4-10 ปี
  • วัยรุ่น จะเกิดอาการระหว่างช่วงอายุ 10-18 ปี ช่วงอายุนี้จะพบโรคกระดูกสันหลังคดมากที่สุด
  • เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ประมาณ 10%
  1. โรคกระดูกสันหลังคดชนิดทราบสาเหตุ (Congenital Scoliosis)

          โรคกระดูกสันหลังคดชนิดนี้ สาเหตุที่พบส่วนใหญ่จะเป็นมาตั้งแต่กำเนิด อาจเกิดจากรูปร่างกระดูกสันหลังผิดปกติ หรือเอ็นกล้ามเนื้อระบบประสาทมีความผิดปกติก็ได้

วิธีสังเกตอาการโรคกระดูกสันหลังคด

  1. สังเกตโดยการยืนหันหลัง จะมองเห็นลักษณะทางร่างกายที่ผิดปกติ เช่น
  • ระดับหัวไหล่สูงไม่เท่ากัน
  • กระดูกสะบักมีความนูนไม่เท่ากัน
  • แนวกระดูกสะโพกสูงต่ำไม่เท่ากัน
  1. สังเกตโดยการยืนตัวตรง โดยให้ยืนเท้าชิดกันและก้มตัวไปด้านหน้า ใช้มือ 2 ข้างแตะพื้น หรือเรียกว่า Adam’s forward bending test จะพบว่าหลังมีความนูนไม่เท่ากัน (Rib Hump) มองดูลักษณะแล้วเหมือนคนหลังโก่ง

วิธีรักษาโรคกระดูกสันหลังคด

การรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด

          กรณีที่กระดูกสันหลังคดไม่มาก ตัวไม่เอียงมาก รวมถึงระบบประสาทยังไม่มีความผิดปกติใดๆ จะใช้การรักษาโดยใช้เสื้อเกราะ (Brace) ใส่ป้องกันไม่ให้กระดูกสันหลังคดมากกว่าเดิม โดยใส่ตลอดวันยกเว้นเวลาอาบน้ำ ควรใส่เสื้อเกราะต่อเนื่องและหยุดใส่เมื่อมั่นใจว่ากระดูกสันหลังไม่คดมากเหมือนเดิม อย่างไรก็ตาม ต้องหมั่นคอยสังเกตและแจ้งแพทย์ที่รักษากรณีกระดูกสันหลังมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้การรักษาที่มีประสิทธิภาพ

การรักษาโดยวิธีผ่าตัด

          กรณีที่กระดูกสันหลังคดมาก หรือมีอาการปวดหลังเรื้อรังรุนแรง แพทย์จะเลือกใช้วิธีผ่าตัด โดยดูจากความยืดหยุ่นหรือความเว้าของกระดูกสันหลัง ซึ่งจะเป็นการผ่าตัดโดยแพทย์ที่มีประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในด้านการผ่าตัดกระดูก เพื่อให้การรักษาได้ผล และผ่าตัดกระดูกสันหลังให้กลับมาใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด

          การดูแลร่างกายให้มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย เมื่อทราบสาเหตุของการเจ็บป่วย อาการผิดปกติต่างๆ เกิดขึ้น ต้องรีบพบแพทย์เพื่อหาทางรักษา ดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อจะได้ไม่ต้องทนทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วย และเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะโรคกระดูกสันหลังคดที่นอกจากจะส่งผลเสียต่อร่างกายแล้ว ยังทำให้เสียบุคลิกอีกด้วย สำหรับใครที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคกระดูกสันหลัง อยากทราบแนวทางการป้องกันและการรักษาที่ถูกต้อง แนะนำให้เข้าไปอ่านข้อมูลดีๆ ได้ที่ KDMS โรงพยาบาลกระดูกและข้อ ข้อดีมีสุข ที่มีประสบการณ์ในการวินิจฉัยโรค การผ่าตัด การทำกายภาพบำบัด รักษาคนไข้โรคกระดูก ข้อและกล้ามเนื้ออย่างมีประสิทธิภาพ

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube