ความฝันหลังการนอนหลับของหลาย ๆ คนได้ออกไปผจญภัยเรื่องราวต่าง ๆ มากมาย แต่สำหรับบางคนอาจจะไม่เห็นภาพอะไรในความฝันเลย จากอดีตอาจได้ยินมาว่าการนอนไม่ฝัน คือการหลับสนิท จนทำให้ชะล่าใจจนคิดว่ามันปกติ แต่จริง ๆ แล้วในการนอนไม่ฝันนั้น อาจไม่ได้ส่งผลดีต่อสุขภาพ
ทุกการนอนหลับ ทุกคนอาจจะฝันเสมอ
โดยปกติแล้วไม่มีใครที่ไม่ฝัน มีคำอธิบายทางการแพทย์ว่าเราทุกคนล้วนฝันอย่างน้อยวันละ 2 รอบ โดยรอบที่เราจดจำได้มักจะเป็นในช่วงก่อนตื่นนอน ซึ่งเหตุผลนี้นำมาอธิบายในคนที่ไม่ฝันได้ว่า ไม่ได้ไม่ฝันแต่แค่จำฝันไม่ได้ หรือ สุขภาพการนอนอาจไม่ดี เกิดการหลับ ๆ ตื่น ๆ ในช่วงกลางดึก จนทำให้ไม่ฝันเพราะโดยปกติแล้วเราจะฝันใน่ชวง REM หรือ ช่วงหลับฝันของการนอน จะมีในทุกคนที่ได้หลับจนทำให้เกิดความฝันขึ้นมา นั่นก็หมายความว่า นอนหลับแล้วไม่ฝัน ไม่ได้แปลว่าหลับสนิท
REM (Rapid Eye Movement Sleep) มีผลต่อการนอนอย่างไร?
ช่วง REM ที่ทุกคนได้หลับฝัน จะสามารถส่งผลการเรียนรู้ ความจำ ความคิดสร้างสรรค์ และการควบคุมอารมณ์ หากเราขาดการนอนหลับแบบ REM Sleep อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายและอารมณ์ได้ อีกทั้งการฝันในช่วงนี้ยังช่วยการพัฒนาระบบประสาทส่วนกลาง (CNS) ภาพความฝันต่าง ๆ ได้กระตุ้นทำงานของสมองเราในขณะที่หลับไปด้วย
นอนไม่ฝันนำมาซึ่งผลเสียต่อสุขภาพ
สาเหตุของการนอนไม่ฝันที่มีผลมาจากสุขภาพการนอนเกิดได้จาก การนอนไม่หลับ ภาวะเครียด อาการซึมเศร้า วิตกกังวล โรคกลัว อาจไม่ใช่เพียงการจดจำฝันไม่ได้ แต่นำไปสู่ปัจจัยเสี่ยงปัญหาสุขภาพ เกิดการนอนหลับไม่เพียงพอจนทำให้สุขภาพจิตแย่ลง และอาจเป็นสัญญาณว่าคุณมีโรคประจำตัว เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หรือโรคนอนไม่หลับ
*แม้ว่าปัญหาการนอนหลับและความซึมเศร้าจะเชื่อมโยงกัน แต่การไม่ฝันไม่ได้หมายความว่าคุณเป็นโรคซึมเศร้า*
หรือใครที่มีความเครียดสะสม การเหนื่อยล้าจากการทำงานที่ทำให้ร่างกายไม่มีแรงแม้แต่จะก้าวขึ้นเตียง อาการเหล่านี้ก็ส่งผลต่อการนอนซึ่งทำให้ไม่สามารถจดจำความฝันใน่ชวงขณะที่หลับ และไม่เกิดความฝันในช่วง REM รวมไปถึงการมีความฝันที่น้อยลงหรือที่เรียกว่า ภาวะ Chronic dream deprivation และความผิดปกติในช่วงการนอนหลับ สาเหตุที่นำมาสู่การนอนที่เปลี่ยนไป มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ มีโรคทางร่างกายหรือจิตใจ ติดยาเสพติด และอายุมาก อาจมีอาการสำคัญ (major symptoms) 4 อย่างที่มักพบได้บ่อย คือ
- Insomnia คือ อาการหลับยาก หลับ ๆ ตื่น ๆ ชั่วคราวเกิดจากโรคความเจ็บปวดทางสมอง โรคทางจิตใจ วิตก ซึมเศร้า
- Hypersomnia คือ นอนมากเกินไป ง่วงตอนกลางวัน ตื่นยาก โดยอาจมีสาเหตุจากโรคทางกาย ซึมเศร้าได้เช่นเดียวกัน
- Parasomnia คือ การนอนละเมอ ที่มีตั้งแต่เบาไปจนหนัก จนอาจทำให้ส่งผลต่อร่างกายและระบบประสาทได้ หรืออาจส่งผลต่อคนรอบข้างได้อีกด้วย
- sleep wake schedule disturbance คือ อาการที่ อยากหลับแต่หลับไม่ได้ อยากตื่นแต่ตื่นยาก หรือหลับได้ไม่ตรงเวลาที่ต้องการ
ทำอย่างไรให้ร่างกายหลับสนิท
วิธีง่าย ๆ ที่จะทำให้ร่างกายของเราสามารถหลับสนิทได้ คือ
- ออกกำลังกาย ช่วงเย็นอย่างน้อย 30 นาทีหรือ 4-6 ชั่วโมงก่อนนอน
- กินกล้วยหอม เพราะช่วยคลายเครียดลดความกังวลทำให้หลับสบาย
- หลีกเลี่ยงอาหารมื้อหนัก อาหารที่มีรสเผ็ดหรืออาหารหวานมาก งดอาหารอย่างน้อย 3-4 ชั่วโมงก่อนนอน
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ กาแฟ หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- เข้านอนให้เป็นเวลา และเพียงพ่อต่อร่างกาย
- จัดระเบียบห้องนอน และกำจัดสิ่งรบกวน
- ผ่อนคลายร่างกายและจิตใจก่อนนอน อาบน้ำอุ่น หรือนั่งสมาธิ
เมื่อการไม่ฝันเกิดจากการนอนที่ไม่เพียงพอ การนอนหลับไม่ดีอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพร่างกายและจิตใจ ปัญหาการนอนหลับเรื้อรังอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพโดยรวมได้ การไม่ฝันอาจไม่ได้หมายความว่าเราหลับสนิท ควรสังเกตการนอนให้ดี หรือถ้าหากมีปัญหาการนอนเหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อสุขภาพการนอนที่ดีขึ้น
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews
ขอบคุณข้อมูลจาก