หัวเว่ยได้จัดการประชุมสุดยอดด้านเทคโนโลยีภายใต้หัวข้อ “นวัตกรรมที่ต่อเนื่องด้าน IP โดเมน ขับเคลื่อนการเติบโตใหม่” (Continuous Innovation in IP Domain, Boost New Growth) เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมเครือข่ายเป้าหมาย วิวัฒนาการของโปรโตคอล และเทคโนโลยีอัตโนมัติเพื่อช่วยผู้ให้บริการเครือข่ายสามารถสร้างเครือข่าย IP แบบรวมเพื่อการยกระดับประสิทธิภาพ พร้อมนำเสนอโซลูชันและสถาปัตยกรรมเครือข่ายที่มีการจัดการแบบดิจิทัล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้ให้บริการเปลี่ยนจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) เป็นผู้ให้บริการที่มีการจัดการ (MSP) และขับเคลื่อนการเติบโตใหม่ ๆ ด้านบริการแบบ B2B
ซาเมียร์ มาลิก นักวิเคราะห์อาวุโสของออมเดีย (Omdia) กล่าวถึงแนวโน้มการพัฒนาอุตสาหกรรมว่า การใช้งาน 5G ในสเกลใหญ่และกิกะบิตโฮมบรอดแบนด์ทั่วโลก รวมถึงการเร่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของอุตสาหกรรม ไม่เพียงแต่จำเป็นต้องอาศัยแบนด์วิดท์เพิ่มขึ้นจากผู้ให้บริการเครือข่ายเท่านั้น แต่ยังต้องพึ่งพาการเชื่อมต่ออัจฉริยะเพื่อส่งมอบบริการต่าง ๆ ที่มีการรับรอง SLA ที่แตกต่างออกไป ทั้งหมดนี้เมื่อรวมเข้ากับความได้เปรียบด้านเครือข่ายจะช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถขยายบริการ B2B ได้
กู่ รุ่ย รองประธานสายผลิตภัณฑ์การสื่อสารข้อมูลของหัวเว่ย ได้อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมเครือข่ายเป้าหมาย IP ที่มุ่งเน้นอนาคตว่าสถาปัตยกรรมดังกล่าวต้องประกอบด้วยอัลตราบรอดแบนด์ บริการขนส่งเต็มรูปแบบ ระบบอัตโนมัติระดับสูง บริการแบบครบวงจร และการออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น Wi-Fi 7, 800GE และสถาปัตยกรรมที่เป็นอิสระแยกออกจากกันนั้น จะช่วยสร้างเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานอัลตราบรอดแบนด์เพื่อตอบสนองความต้องการด้านประสบการณ์ผู้ใช้ขั้นสูงสุด แพลตฟอร์มฮาร์ดแวร์ที่ครอบคลุมและการแบ่งส่วนเครือข่าย (network slicing) เป็นไปตามข้อกำหนดการขนส่งแบบรวมและมอบการรับรอง SLA ที่แตกต่างกัน ระบบอัตโนมัติระดับสูงถูกใช้งานโดยอิงจาก SRv6 และแผนที่ดิจิทัลบนเครือข่าย มอบบริการแบบครบวงจรสำหรับลูกค้า B2B ผ่าน IP เครือข่ายส่วนตัวของผู้ให้บริการที่มีเครือข่ายการจัดการแบบดิจิทัล
โรบิน หลี่ หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญด้านโปรโตคอล IP ของหัวเว่ย กล่าวว่า SRv6 เป็นหนึ่งในโปรโตคอลที่ดีที่สุดสำหรับการวิวัฒนาการของเครือข่าย IP มาตรฐานและเทคโนโลยี SRv6 กำลังเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปัจจุบันมีเครือข่ายมากกว่า 160 แห่งทั่วโลกที่หันมาใช้ SRv6 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
อู่ ฉิน สมาชิกคณะกรรมการสถาปัตยกรรมอินเทอร์เน็ตประจำคณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต (IETF) กล่าวว่า ยุคของเครือข่ายอัตโนมัติ (AN) ได้มาถึงแล้ว เทคโนโลยี AN กำลังมุ่งสู่การพัฒนาด้านความสามารถในการตั้งโปรแกรมเครือข่ายและการเปิดกว้าง การแยกส่วนการใช้งานออกจากข้อกำหนดบริการ การแปลงเครือข่ายเป็นดิจิทัล การจัดการอัจฉริยะ รวมถึงทิศทางสำคัญอื่น ๆ แผนที่ดิจิทัลของเครือข่ายที่ใช้การวัดและส่งข้อมูลทางไกลจะช่วยแสดงภาพเครือข่ายในมิติต่าง ๆ เช่น โครงสร้างพื้นฐาน, เครือข่าย, ชิ้นส่วน, เส้นทาง, บริการ และแอปพลิเคชัน นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบการตั้งค่าและการทำงานของเครือข่าย รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการรับส่งข้อมูล ช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถจัดการเครือข่ายทางกายภาพได้ดียิ่งขึ้นด้วยขีดความสามารถทางดิจิทัล
เหวิน หุนจือ หัวหน้าสถาปนิกด้านโซลูชันของสายการผลิตการสื่อสารข้อมูลของหัวเว่ย ได้อธิบายเกี่ยวกับการออกแบบสถาปัตยกรรมและโซลูชันสำหรับบริการเครือข่ายที่มีการจัดการแบบดิจิทัล โดยระบุว่าผู้ให้บริการจำเป็นต้องมีการออกแบบ 5 ด้าน ประกอบด้วยเครือข่ายทางกายภาพ, เครือข่ายผู้ใช้, การบำรุงรักษา, ความปลอดภัย และบริการ ตลอดจนจัดเตรียมความสามารถด้าน NaaS เพื่อตอบสนองการรับรองที่แตกต่างกัน, การทำงานร่วมกันข้ามโดเมน, การป้องกันทุกสถานการณ์ และข้อกำหนดด้านการบำรุงรักษาในระดับผู้เช่า
จัว เหมิง รองประธานสายผลิตภัณฑ์การสื่อสารข้อมูลของหัวเว่ย กล่าวว่า หัวเว่ยพร้อมที่จะทำงานร่วมกับผู้ให้บริการและพันธมิตรในอุตสาหกรรมเพื่อส่งเสริมวิวัฒนาการของเครือข่าย IP เป้าหมาย สร้างเครือข่าย IP อัลตราบรอดแบนด์แบบรวมที่ดีกว่า สำรวจสถานการณ์การใช้งาน บริการ และ โมเดลธุรกิจใหม่ ๆ รวมถึงเร่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของอุตสาหกรรม ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าประสบความสำเร็จทางธุรกิจและขับเคลื่อนการเติบโตใหม่ ๆ