“เสียงพากย์” ในภาพยนตร์หรือซีรีส์ต่าง ๆ ทำให้ผู้ชมเข้าถึงเนื้อหาความบันเทิงได้ง่ายขึ้น เป็นสื่อกลางที่ช่วยทลายกำแพงทางภาษา และทำให้ผู้ชมได้ดื่มด่ำกับเนื้อหาอย่างเต็มที่ Netflix จึงมีการพากย์ไทย เพื่อตอบสนองคนดูทุกกลุ่มในฐานะผู้นำสตรีมมิ่งความบันเทิง ด้วยนักพากย์มากฝีมือของไทย มาร่วมถ่ายทอดเรื่องราวผ่านเสียงในทั้งภาพยนตร์ ซีรีส์ และการ์ตูนของ Netflix
จากเสียงตอบรับอย่างล้นหลามของผู้ชมกับรายการ “Who Dubbed This? – เสียงนี้พี่เอง” ที่ Netflix ได้นำเสนอเมื่อปลายปีที่แล้วผ่านช่องทางออนไลน์ โดยมีนักพากย์ทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ 8 คน มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ตลอดจนเคล็ดลับการพากย์ในแบบเฉพาะตัว ในปีนี้เรากลับมาอีกครั้งกับ “Who Dubbed This? – เสียงนี้พี่เอง ซีซั่น 2” และก่อนจะไปพบกับรายการที่จะออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 17:00 น. โดยเริ่มออกอากาศตอนแรกในวันเสาร์ที่ 6 พฤษภาคม 2556 เรามาเรียกน้ำย่อยกันด้วยเรื่องราวที่มาที่ไป ของนักพากย์แต่ละท่านว่ากว่าจะเข้าสู่สายอาชีพนี้ ต้องผ่านอะไรกันมาบ้าง
เริ่มด้วยนักพากย์ที่หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับเสียงของเธออย่างคุณหุย – นลินี ชีวะสาคร ผู้มีผลงานอันโดดเด่นอย่างต่อเนื่อง เจ้าของเสียง คังคุไบ ใน Gangubai Kathiawadi: หญิงแกร่งแห่งมุมไบ (Gangubai Kathiawadi) และ อีซารา ใน The Glory เชื่อหรือไม่ว่าเธอเคยทำอาชีพที่แตกต่างอย่างสุดขั้วกับนักพากย์มาก่อนนั่นคือ นักการตลาดผู้เน้นการวางแผนบริหารและจัดการ แต่ปัจจุบันเธอได้ผันตัวมาเป็นผู้ใช้ศิลปะถ่ายทอดอารมณ์ด้วยเสียงแทน อีกหนึ่งท่านที่เคยคิดอยากทำอาชีพที่ต่างกับนักพากย์อย่างไม่น่าเชื่อคือ น้าบุญ หรือ คุณบุญชนะ โชควิชาโกศล นักพากย์รุ่นใหญ่ที่หลายคนรู้จัก เขาเคยคิดอยากเป็นนักมวยถึงขนาดไปฝึกซ้อมอยู่ในค่ายมวยเป็นปีมาก่อน จนวันหนึ่งได้มีโอกาสมาพบกับหนังกลางแปลงที่ทำให้น้าบุญได้เข้ามาสู่โลกของหนังอย่างเต็มตัว เขาเริ่มจากการเป็นเด็กดูแลเครื่องปั่นไฟ ไต่เต้ามาเป็นคนฉายหนัง จนได้เป็นนักพากย์ในที่สุด ผลงานเด่น ๆ ที่น้าบุญได้ร่วมพากย์กับ Netflix คือ คุณลุง 001 ใน สควิดเกม เล่นลุ้นตาย (Squid Game) และ มอสโก ใน ทรชนคนปล้นโลก (Money Heist)
คุณกุ้ง – โศภิตา รังสิโยทัย ผู้พากย์เสียง คุณป้านักสืบ คังฮยอนนัม ใน The Glory และ ฮวังโดฮี ใน ฉันจะปั้นราชินี (Queenmaker) กล่าวถึงบทบาทการเป็นนักพากย์ว่า “ธรรมชาติของเราเวลาลงพากย์ก็จะถอดตัวเองออกแล้วเข้าไปอยู่ในตัวละคร มันเหมือนฝึกมาแบบนี้ตลอดจนมันเป็นอัตโนมัติ” ซึ่งเส้นทางการเป็นนักพากย์ของเธอนั้นก็ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบเพราะเธอได้ผันตัวจากการเป็นผู้ช่วยผู้กำกับมาเป็นนักพากย์แบบไม่ได้ตั้งตัว เช่นเดียวกัน คุณแบงค์ – รุจิระ ขจีเจริญ ผู้พากย์เสียง แพคอีจิน จากเรื่อง ยี่สิบห้า ยี่สิบเอ็ด (Twenty Five Twenty One) และ เจฟฟรีย์ ดาห์เมอร์ จากเรื่อง เจฟฟรีย์ ดาห์เมอร์: ฆาตกรรมอำมหิต (DAHMER) ผู้ที่ใฝ่ฝันถึงการเป็นนักพากย์มาตั้งแต่เด็ก ๆ แต่เมื่อลองทำจริงกลับพบว่าอาชีพนี้ยากกว่าที่คิด และเขาเองก็เคยเทคเยอะจนถูกไล่ออกจากห้องพากย์มาแล้ว!
ในขณะที่ คุณโอเว่น – ภาคภูมิ วันทอง ผู้พากย์เสียง จางอุก จากซีรีส์ เล่นแร่แปรวิญญาณ (Alchemy of Souls) และ อีจุนโฮ จากซีรีส์ อูยองอู ทนายอัจฉริยะ (Extraordinary Attorney Woo) มองว่าเสน่ห์ของการพากย์ คือการได้ถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกและเรื่องราวต่าง ๆ ของตัวละครผ่านเสียง ซึ่งเขาได้เล่าถึงความสนุกของอาชีพนักพากย์ไว้ว่าว่า “รู้สึกอยากเอาเสียงตัวเองไปอยู่ในหนังที่ตัวเองชอบ สนุกที่ได้เป็นตัวละครต่าง ๆ สนุกที่ได้แสดงโดยใช้เสียง โดยที่ตัวเองมีสคริปต์และไม่ต้องออกหน้าฉาก” ซึ่งเสน่ห์ของการพากย์ไม่ได้มีเพียงเสียงที่เป็นคำพูดของตัวละครเท่านั้นที่สามารถดึงดูดผู้ชมได้ แต่เสียงประกอบ หรือ เสียงของสัตว์ก็เป็นอีกเสียงหนึ่งที่ช่วยเติมเต็มภาพยนตร์ การ์ตูน หรือซีรีส์ให้มีอรรถรสมากขึ้น ซึ่งคุณบีม – สิษฐารัตน์ ปี่ทอง หรือ ที่รู้จักกันในชื่อ บีมเซนเซย์ เจ้าของเสียง ชากิปิโยะ จากซีรีส์ไลฟ์แอคชัน กุเดทามะ ไข่ขี้เกียจผจญภัย (Gudetama: An Eggcellent Adventure) และ ชามินฮี จากภาพยนตร์ คิลบกซุน (Kill Boksoon) เคยมีประสบการณ์การพากย์เสียงที่ต้องเห่าอย่างเดียวทั้งตอน ไม่มีบทพูดอะไรเลย
ในขณะที่ คุณโอเว่น – ภาคภูมิ วันทอง ผู้พากย์เสียง จางอุก จากซีรีส์ เล่นแร่แปรวิญญาณ (Alchemy of Souls) และ อีจุนโฮ จากซีรีส์ อูยองอู ทนายอัจฉริยะ (Extraordinary Attorney Woo) มองว่าเสน่ห์ของการพากย์ คือการได้ถ่ายทอด
อารมณ์ ความรู้สึกและเรื่องราวต่าง ๆ ของตัวละครผ่านเสียง ซึ่งเขาได้เล่าถึงความสนุกของอาชีพนักพากย์ไว้ว่าว่า “รู้สึกอยากเอาเสียงตัวเองไปอยู่ในหนังที่ตัวเองชอบ สนุกที่ได้เป็นตัวละครต่าง ๆ สนุกที่ได้แสดงโดยใช้เสียง โดยที่ตัวเองมีสคริปต์และไม่ต้องออกหน้าฉาก” ซึ่งเสน่ห์ของการพากย์ไม่ได้มีเพียงเสียงที่เป็นคำพูดของตัวละครเท่านั้นที่สามารถดึงดูดผู้ชมได้ แต่เสียงประกอบ หรือ เสียงของสัตว์ก็เป็นอีกเสียงหนึ่งที่ช่วยเติมเต็มภาพยนตร์ การ์ตูน หรือซีรีส์ให้มีอรรถรสมากขึ้น ซึ่งคุณบีม – สิษฐารัตน์ ปี่ทอง หรือ ที่รู้จักกันในชื่อ บีมเซนเซย์ เจ้าของเสียง ชากิปิโยะ จากซีรีส์ไลฟ์แอคชัน กุเดทามะ ไข่ขี้เกียจผจญภัย (Gudetama: An Eggcellent Adventure) และ ชามินฮี จากภาพยนตร์ คิลบกซุน (Kill Boksoon) เคยมีประสบการณ์การพากย์เสียงที่ต้องเห่าอย่างเดียวทั้งตอน ไม่มีบทพูดอะไรเลย
สำหรับใครที่สนใจอยากจะเป็นนักพากย์ ไม่ว่าจะทำงานสายไหน หรือมีประสบการณ์อะไรมาก่อน เหล่านักพากย์มืออาชีพได้ให้คำแนะนำไว้ว่า “ฟังให้เยอะ ฝึกให้มาก รักษาเวลาและคุณภาพ ในขณะเดียวกันก็วิ่งหาโอกาสให้ถูก ในวันที่เราฝึกมากพอและโอกาสมันเหมาะพอดี เราจะอยู่ได้แบบยั่งยืนในวงการนี้” คำแนะนำจาก คุณ ณ ปุญญ์ – ขวัญกมล ขาวไพศาล เจ้าของเสียง อูยองอู จากซีรีส์ อูยองอู ทนายอัจฉริยะ (Extraordinary Attorney Woo) และ อีนามี จากภาพยนตร์ แค่ทำโทรศัพท์มือถือหาย ทำไมต้องกลายเป็นศพ (Unlocked) ส่วนคุณเอ – ชานน จำเนียรแพทย์ ผู้พากย์เป็น แด๊ดดี้ฮาโดยอง ใน The Glory และ ซิลโก ในซีรีส์อนิเมชัน Arcane ได้กล่าวเสริมว่า “คนเราถ้ามันตั้งใจจริง ๆ อะไร ๆ มันก็ผ่านไปได้ทั้งนั้น ที่มันยังไม่สำเร็จ ก็อาจเพราะความตั้งใจ มุ่งมั่น มันยังน้อยเกินไป”
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากเหล่านักพากย์หน้าเก่าและหน้าใหม่ในวงการ หากใครอยากรู้เรื่องราวของนักพากย์ทั้ง 8 คนนี้อย่างจุใจ สามารถรับชมได้ทาง YouTube, TikTok, Facebook, Instagram และ Twitter ของ Netflix Thailand ในรายการ “Who Dubbed This? – เสียงนี้พี่เอง ซีซั่น 2” ทุกวันเสาร์ เวลา 17:00 น. โดยเริ่มออกอากาศตอนแรกในวันเสาร์ที่ 6 พฤษภาคมนี้ เป็นต้นไป
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews