Home
|
ภูมิภาค

ชป.โคราชเผยสถานการณ์น้ำมีปริมาณลดลง

Featured Image
ชป.โคราชเผยสถานการณ์น้ำในจังหวัดมีปริมาณลดลง วอนเกษตรกรกลุ่มผู้ใช้น้ำติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด

 

 

 

ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาว่า สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 4 แห่ง และขนาดกลางอีก 23 แห่ง ภายในจังหวัดนครราชสีมาปัจจุบันนี้มีปริมาณน้ำอยู่ที่ 596 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 49% ของความจุในระดับเก็บกักทั้งหมดซึ่งมีระดับลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้วที่มีน้ำอยู่ที่ 62% ซึ่งต่างกันอยู่ 13% หรือประมาณ 160 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยอ่างเก็บขนาดใหญ่ของจังหวัดนครราชสีมาทั้ง 4 แห่ง ประกอบด้วยอ่างเก็บน้ำลำตะคองมีปริมาณน้ำเก็บกักอยู่ที่ 56.24% ,อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง 43.75% ,

 

 

อ่างเก็บน้ำมูลบน 47.15% และอ่างเก็บน้ำลำแชะมีปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ที่ 46.12% ซึ่งปริมาณน้ำที่ลดลงจากปีที่แล้วสาเหตุมาจากฝนทิ้งช่วง และอีกสาเหตุที่ทำให้ปริมาณน้ำภายในอย่างมีมปริมาณน้อยกว่าปีที่แล้วก็คือปัญหาอุณภูมิที่สูงขึ้นในช่วงหน้าแล้งทำให้น้ำในอ่างโดยเฉพาะอย่างขนาดกลางซึ่งมีระดับน้ำไม่ลึกมากจะมีอัตราการระเหยค่อนข้างสูง

 

 

ทำให้อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 4 อ่าง มีปริมาณน้ำต่ำกว่า 30% ซึ่งอ่างเก็บน้ำทั้ง 4 อ่างนั้นส่วนใหญ่นำน้ำไปใช้อุปโภคพื้นที่ทางการเกษตรนั้นมีน้อยจึงทำให้เกษตรกรไม่ได้รับผลกระทบในการทำการเกษตร อย่างไรก็ตามจากการที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้มีการพยากรณ์อากาศเอาไว้เกี่ยวกับเรื่องฝนทิ้งช่วงหลังวันที่ 20 มิถุนายน 2566 จนถึงต้นเดือนกรกฎาคม 2566 และปรากฏการณ์ ‘เอลนีโญ’ ภายในสิ้นเดือนกรกฎาคมปีนี้ ซึ่งอาจส่งผลให้หลายพื้นที่เกิดปัญหาภัยแล้งตามมา

 

 

โดยนายกิติกุล เสภาศีราภรณ์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานนครราชสีมา กล่าวว่า ทางโครงการชลประทานจังหวัดนครราชสีมา ได้มีการวางแผนการบริการจัดการน้ำในสภาวะฝนทิ้งช่วงด้วยการติดตามสถานการณ์น้ำในแต่อ่างอย่างใกล้ชิดรวมไปถึงปริมาณการใช้น้ำของประชาชนในพื้นที่ชลประทานของแต่ละอ่างทั้งการอุปโภค บริโภค และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำการเกษตรโดยทางชลประทานฯจะทำการศึกษาข้อมูลปริมาณการใช้น้ำของเกษตรกรซึ่งถ้าหากมีพื้นที่ไหนทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรแล้วจะมีการส่งงดการระบายน้ำเพื่อเป็นการสำรองน้ำเอาไว้ใช้และป้องกันปัญหาภัยแล้งภายในปีนี้ สำหรับสถานการณ์เอลนีโญในปีนี้คาดว่าจะยังไม่ส่งผลกระทบ

 

 

 

กับจังหวัดนครราชสีมา แต่จากการคาดการณ์กันว่าฤดูฝนที่จะมาถึงนี้อาจจะมีระยะเวลาที่สั้นกว่าปกติทำให้ทางชลประทานฯ จำเป็นต้องติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดเพื่อบริหารจัดการน้ำภายในอ่างให้มีความเหมาะสมเพื่อรองรับฤดูฝนที่กำลังจะมาถึง นอกจากนี้ยังมีการลงไปพูดคุยกับกลุ่มผู้ใช้น้ำในพื้นที่ชลประทานทั้งประชาชนทั่วไปและกลุ่มเกษตรอย่างต่อเนื่อง เพื่อพูดคุยชี้แจงและทำความเข้าใจถึงสถานการณ์น้ำในปัจจุบันที่มีปริมาณลดน้อยลงจากสภาวะฝนทิ้งช่วง ซึ่งเกษตรกรที่มีพื้นที่อยู่ในเขตชลประทานต่างเข้าใจถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างดีและพร้อมให้ความร่วมมือในการช่วยกันวางแผนบริหารจัดการน้ำในพื้นที่

 

 

อย่างไรก็ตามจากปัญหาฝนทิ้งช่วงและผลกระทบที่อาจเกิดจากปรากฎการณ์เอลนีโญ อาจจะทำให้ในช่วงปลายปีรวมไปถึงปีหน้าทำให้สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำแต่ละแห่งอาจมีปริมาณน้ำที่ลดน้อยลงกว่าปกติ จึงอยากฝากไปยังเกษตรกรและประชาชนในพื้นที่อยากให้ช่วยกันใช้น้ำอย่างประหยัด และวางแผนการเพาะปลูกให้สอดคล้องกับแผนบริหารจัดการน้ำเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบกับผลผลิตทางการเกษตร และให้ใช้น้ำตามไล่ตามระดับความสำคัญให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยเน้นไปที่การใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศน์ การใช้น้ำภาคอุตสาหกรรม และการใช้น้ำเพื่อการเกษตร และอยากให้เกษตระกรประชาชนกลุ่มผู้ใช้น้ำร่วมติดตามสถานการณ์น้ำและเข้าร่วมการประชุมกลุ่มบริหารจัดการน้ำในพื้นที่แต่ละอ่างทุกครั้งเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน นายกิติกุล กล่าว

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube