บ้านกำปงบูดี จ. ปัตตานี ผลกระทบจากโครงการพัฒนาของรัฐ สู่ ความเปราะบางที่ทำให้ผู้คนกลายเป็นแรงงานพลัดถิ่น
วันนี้ (21มิ.ย. 66) ที่บ้านกำปงบูดี ต.แหลมโพธิ์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดกิจกรรมพาสื่อมวลชนลงพื้นที่เพื่อรายงานข่าวอย่างสันติภาพ (PEACE JOURNALIST) ผ่านการเรียนรู้ฐานทรัพยากรธรรมชาติท้องถิ่นของชุมชนสะพานไม้บานา
แบแอ ประธานประมงพื้นบ้านบ้านกำปงบูดี กล่าวว่า อ่าวปัตตานี ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอเมืองปัตตานี อำเภอยะหริ่งจังหวัดปัตตานี เป็นอ่าวที่มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติซึ่งเป็นฐานการดำรงชีวิตที่มีความสำคัญของชุมชนชาวปัตตานีอย่างแท้จริง
โดย ชุมชุนบ้านบูดี-บ้านบานา อาศัยอยู่ติดกับอ่าวปัตตานี เป็นชุมชนส่วนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากโครงการขุดลอกและบำรุงรักษาร่องน้ำชายฝั่งทะเลอ่าวปัตตานีเมื่อปี พ.ศ. 2561 ด้วยงบประมาณ 664 ล้านบาท โดยกรมเจ้าท่าเป็นระยะเวลา 2 ปี (2561-2563)
แบแอ กล่าวว่า ทรายที่ขุดมาส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นพื้นที่ทำมาหากินของชุมชนซึ่งเป็นรายได้หลักของคนในพื้นที่ และเมื่อปี 2563 ( 24 มกราคม 2563 ) แม้จะมีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของชาวบ้านที่ต้องการการฟื้นฟูพื้นที่และเยียวยาแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการขุดลอกและบำรุงรักษาร่องอ่าวปัตตานี ซึ่งมีตัวแทน ส.ส.ในพื้นที่ภาคใต้ นายกฯอบจ.ปัตตานี คณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน และคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์โดยคณะกรรมาธิการฯส่วนหนึ่งได้เสนอให้หางบประมาณเพื่อขุดสันดอนทรายดังกล่าวออกไปทิ้งนอกพื้นที่ตามความต้องการของชาวบ้านและกรมเจ้าท่า
กระทรวงคมนาคมได้มีรายงานการวิเคราะห์ผและกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการพัฒนาร่องน้ำและท่าเทียบเรือปัตตานี แหล่งขุดทรายและในแม่น้ำปัตตานี (35 ppm) การตกตะกอนของเม็ดทรายจะกระจุกตัวอยู่เฉพาะในแหล่งขุดลอกและในแม่น้ำเช่นเดียวกับความเข้มข้นของตะกอนทรายแขวนลอย ความหนาของชั้นตะกอนสูงสุดประมาณ 2 เซนติเมตรในแม่น้ำปัตตานีเนื่องจากกระแสน้ำต่ำไม่สามารถอุ้มตะกอนทรายไว้ได้ตะกอนทรายจึงตกตะกอนอยู่ในแม่น้ำไม่สามารถแผ่ออกไปได้ ในทางกลับกันการตกตะกอนของเม็ดแผ่ออกไปในวงที่กว้างกว่ามีชั้นของตะกอนดินอยู่นอกอ่าวปัตตานีสวนทางกับ ลักษณะการแพร่กระจายของตะกอนดินแขวนลอยตะกอนดินนอกอ่าว ปัตตานีมาจาแหล่งดินบริเวณจุดขุดร่องน้ำและจุดถมทะเล ความหนาของชั้นตะกอนดิน สูงสุดเพียง 5 มิลลิเมตร ที่แหล่งขุดลอกร่องน้ำ
แบแอ กล่าวต่อว่า แม้จะมีการประชุมเพื่อแก้ปัญหาและมีการแก้ไขแต่ผลคือ เมื่อปี 2565 มีการขุดสันดอนทรายดูดเข้าไปชายฝั่งชุมชนและส่วนหนึ่งก็ประธานฯ ปล่อยไว้ที่เดิม การให้เหตุผลหนึ่งในชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบและผู้ที่มีบทบาทในการต่อสู้ สะท้อนถึงผลกระทบของสันดอนทรายที่มีมาเป็นเวลา 3 ปี มีศูนย์วิจัยเข้ามามีบทบาทในการวัดค่าคุณภาพน้ำปรากฎว่าช่วงเวลาตี 4-5 จำนวนออกซิเจนในน้ำต่ำทำให้สัตว์น้ำขาดอากาศหายใจและตายเป็นจำนวนมาก รวมถึงปลาดุกทะเล ทั้งๆที่ปลาดุกทะเลเป็นสัตว์น้ำที่สามารถอาศัยรอดชีวิตอยู่ในน้ำตื้นได้ดีที่สุด ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบอาชีพรวมถึงคุณภาพชีวิตหลายครัวเรือน
แบแอ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันสมาชิกในชุมชนหลายครัวเรือนไม่สามารถทำมาหากินผ่านการประมงเพราะต้นทุนในการลงทำการประมงกับสัตว์น้ำที่จะจับได้และนำไปขายไม่พอสำหรับที่จะเลี้ยงชีพทำให้ต้องอพยพย้ายไปหางานทำนอกเมืองและต่างประเทศเพื่อการอยู่รอดของครอบครัว ซึ่งการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจะสามารถช่วยให้ชาวประมงสามารถกลับไปประกอบอาชีพเพื่อเลี้ยงชีพตัวเองไม่ได้100%เพราะระบบนิเวศของอ่าวมันเปลี่ยนไปทำให้ไม่มีสัตว์น้ำ ชาวบ้านที่ออกทำการประมงแต่ไม่มีปลากลับมา จนกระทั่งมีคำที่บ่งบอกและเข้าใจถึงปัญหา “ทำประมงแต่จะกินปลาต้องซื้อ”
ซึ่งผลกระทบจากโครงการพัฒนาที่ขาดการมีส่วนร่วม ส่งผลให้ใต้ผืนน้ำอันเป็นแหล่งทำมาหากินของคนในหมู่บ้านกัมปงบูดี จ.ปัตตานี จำนวนสัตว์น้ำที่เคยเป็นอาหารประทังปากและรายได้ประทังท้องของคนนับร้อยครัวเรือนลดลงเนื่องจากปัจจัยทางธรรมชาติ รวมถึงโครงการพัฒนาชุมชน ต้นทุนการทำประมงก็เพิ่มขึ้น เพราะการหาสัตว์น้ำไม่ง่ายเหมือนเก่า การเป็นลูกหลานชาวประมงที่เกิดลืมตามาเพื่อรับช่วงต่อของวัฒนธรรมประมงพื้นบ้านแบบดั้งเดิมในหมู่บ้านแห่งนี้ จึงเป็นเรื่องยาก
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews