ที่ประชุม WGC2023 เผยแพร่ปฏิญญาปักกิ่งและมาตรฐานอุตสาหกรรมความร้อนใต้พิภพฉบับแรกของโลก
การประชุมพลังงานความร้อนใต้พิภพโลก (World Geothermal Congress หรือ WGC) ครั้งที่ 7 หรือ “WGC2023″ ซึ่งจัดโดยไชน่า ปิโตรเคมิคอล คอร์ปอเรชัน (China Petrochemical Corporation) หรือซิโนเปค กรุ๊ป ได้เผยแพร่มาตรฐานอุตสาหกรรมความร้อนใต้พิภพฉบับแรกของโลก (“มาตรฐาน”) และปฏิญญาปักกิ่ง (Beijing Declaration)
ดร. หม่า หยงเชิง ประธานซิโนเปค กล่าวว่า “ซิโนเปคได้สร้างจุดแข็งและสั่งสมประสบการณ์มากมาย ในการพัฒนาและการใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพที่สะอาดและมีประสิทธิภาพ และถือเป็นเป้าหมายและความรับผิดชอบของเราในการขับเคลื่อนความก้าวหน้าในเรื่องนี้ รวมถึงส่งเสริมการเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างคาร์บอนต่ำทั่วโลก”
การประกาศมาตรฐานและปฏิญญาปักกิ่งจะเป็นตัวกำหนดหลักการและเพิ่มแรงผลักดัน ให้อุตสาหกรรมความร้อนใต้พิภพทั่วโลกพัฒนาอย่างยั่งยืนและมีคุณภาพ ซึ่งจะเข้ามายกระดับการพัฒนาพลังงานความร้อนใต้พิภพและพลังงานสะอาด พร้อมผลักดันการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศ ส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงาน
ปฏิญญาปักกิ่งระบุว่า การสนับสนุนจากทุกฝ่ายจะทำให้พลังงานความร้อนใต้พิภพกลายเป็นหนึ่งในแหล่งพลังงานที่ได้รับความนิยมและมีการแข่งขันมากที่สุดในอนาคต ด้วยเหตุนี้ ผู้เข้าร่วมงาน WGC2023 จึงให้คำมั่นที่จะปฏิบัติตามหลักการดังต่อไปนี้
- หลักการพัฒนาที่ยั่งยืนและสร้างความตระหนักรู้ทั่วโลกเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมความร้อนใต้พิภพ เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- หลักการของการเปิดกว้างและความร่วมมือ เพื่อร่วมกันส่งเสริมนวัตกรรมทางเทคโนโลยีและผลักดันให้อุตสาหกรรมความร้อนใต้พิภพพัฒนาอย่างมีคุณภาพ
- หลักการแห่งความเป็นธรรมและเหตุผล และการส่งเสริมความร่วมมือและการพัฒนาอุตสาหกรรมความร้อนใต้พิภพทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง
- หลักการที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ การแบ่งปัน และการกระชับความร่วมมือของอุตสาหกรรมพลังงานความร้อนใต้พิภพทั่วโลก
มาตรฐานดังกล่าวอาศัยแนวปฏิบัติด้านความร้อนใต้พิภพของจีนเป็นข้อมูลอ้างอิง ในการกำหนดรูปแบบการใช้ประโยชน์และการพัฒนาอย่างยั่งยืนของวงจรชีวิตของพลังงานความร้อนใต้พิภพทั้งหมด โดยเป็นข้อมูลอ้างอิงที่ครอบคลุมสำหรับมาตรฐานทางเทคนิคของอุตสาหกรรมความร้อนใต้พิภพทั่วโลก พร้อมแนะนำแนวทางปฏิบัติสำหรับการทำความร้อนใต้พิภพด้วยความร้อนและน้ำใต้พิภพที่อุณหภูมิต่ำและปานกลาง ครอบคลุมการประเมินทรัพยากรความร้อนใต้พิภพ การคำนวณภาระความร้อน การออกแบบแผนการขุด วิศวกรรมการขุดเจาะและหลุมผลิต วิศวกรรมการทำความร้อน การตรวจสอบ และการควบคุม