Home
|
ไลฟ์สไตล์

ไม่จำเป็นต้องหลับก็ฝันกลางวันได้ มารู้จัก ‘โรคฝันกลางวัน’ Maladaptive Daydreaming

Featured Image

          โดยปกติคนเราถ้าพูดถึงฝัน ก็ต้องนึกถึงการนอนหลับพักผ่อนกันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะฝันเรื่องสั้น เรื่องยาว ฝันดี หรือฝันร้าย ก็มักจะเกิดในตอนที่เรากำลังหลับ แต่การฝันกลางวันนี้ไม่จำเป็นต้องหลับเพื่อให้ฝัน ก็สามารถมีอาการของโรคฝันกลางวันได้

โรคฝันกลางวันคืออะไร? 

          โรคฝันกลางวัน หรือ Maladaptive daydreaming จะมีอาการคล้ายกับโรคจิตเภท (Schizophrenia)  คือ การที่เราถูกดึงเข้าสู่โลกของจินตนาการที่เราสร้างขึ้น สร้างเรื่องราว ภาพเสมือนที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง และไม่ได้เกิดขึ้นในขณะที่เราหลับอยู่ เราจะรู้ตัวว่าสิ่งนี้คือภาพที่คิด แต่ไม่สามารถดึงตัวเองกลับจากความนึกคิดหรือจินตนาการในขณะนั้นได้

          เจย์น บีเกลเซน (Jayne Bigelsen) นักวิจัยสาวชาวอเมริกัน เริ่มจินตนาการถึงซีรีส์ต่าง ๆ ที่เธอชอบ แต่แทนที่เธอจะรอดูตอนต่อไป เธอกลับสร้างตอนใหม่ขึ้นมาในหัว เธอบอกว่าภาพในหัวเธอนั้นมันชัดเจนมากราวกับกำลังนั่งดูซีรีส์จริงๆ แถมบางครั้งมันยังสนุกกว่าเรื่องต้นฉบับอีกด้วย 

          เป็นตัวอย่างของการฝันกลางวันที่เกิดขึ้น ถ้าพูดโดยง่ายคือเหมือนกับเรากำลังนั่งคิดภาพในหัว แต่มันดันชัดซะจนเหมือนจริง 

สิ่งที่กระตุ้นให้เกิดการฝันกลางวัน

          อาการฝันกลางวันที่เกิดขึ้นแม้จะเป็นการจินตนาการแต่มีผลมาจากเหตุการณ์ในชีวิตจริงที่ไปกระตุ้นให้เกิดการฝันตอนกลางวัน เช่น

  • หัวข้อที่สนทนา
  • สิ่งเร้าต่างๆ เช่นเสียงหรือกลิ่นที่ทำให้นึกถึงเหตุการณ์นั้น ๆ 
  • ความรุนแรงในวัยเด็ก การเคยเจอความรุนแรงในวัยเด็ก เช่น การถูกทำร้ายร่างกายหรือจิตใจ อาจทำให้คุณสร้างโลกอีกใบขึ้นมาเพื่อหลบหนีจากความเจ็บปวดนั้น

และสันนิษฐานว่าโรคทางจิตอื่นที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ เช่น โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคสมาธิสั้น (ADHD) หรือโรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder) มีส่วนทำให้เกิดอาการของโรคฝันกลางวัน

อันตรายของโรคฝันกลางวัน

          อาจจะมองว่าแค่การจินตนาการภาพต่าง ๆ ดูน่าจะสนุกมากกว่า แต่ภายใต้การนึกคิดเหล่านั้นส่งผลต่อเรามากกว่าที่คิด รีบสังเกตตัวเองให้เร็วโดยหากมีอาการเหล่านี้ คุณเข้าข่ายโรคฝันกลางวัน

1.ใจลอยเป็นประจำ อาจจมองว่าเป็นการใจลอยแบบปกติแต่หากรู้สึกว่าบ่อยเกินไปและนานเกินไป อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคฝันกลางวันได้

2.ย้ำคิดย้ำทำ อันนี้อันนั้นทำแล้วหรือยัง การเดินวนไปวนมา การโยนของในมือไปมา หรือหมุนสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในมือ ก็เป็นอีกหนึ่งสัญญาณได้

3.เห็นภาพคมชัดระดับ HD ผู้ที่เป็นโรคฝันกลางวันมักจะเห็นภาพในหัวชัดเจนจนน่าตกใจ บางครั้งก็จมอยู่กับมันได้นานหลายนาที บางคนถึงขั้นหลายชั่วโมง ราวกับคุณกำลังนั่งดูหนังอยู่ในโรงภาพยนตร์

4.เพ้อฝันเกินความจริง แม้ว่าคุณจะหลงใหลการฝันกลางวันมากเพียง แต่ยังมีสติรู้ตัว และสามารถแยกแยะได้อยู่เสมอว่ามันคือความฝัน แต่ไม่สามารถหยุดความคิดนั้นได้เลย 

          โรคนี้ยังไม่ได้จัด เป็นโรคทางจิตเวช แต่ก็ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต และยังไม่มีวิธีการรักษาอย่างเป็นทางการ  แต่ก็มีวิธีการจัดการเพื่อขจัดอาการฝันกลางวันออกไปจากเราได้

วิธีป้องกัน และบรรเทาอาการฝันกลางวัน

1.จดบันทึก สิ่งที่เราคิด เพื่อเป็นการกลั่นกรองสิ่งในหัวออกมาเป็นตัวหนังสือและให้โฟกัสกับการถ่ายทอดลงบนกระดาษมากกว่าการจินตนาการเป็นภาพ เพื่อป้องกันการหลุดเข้าไปในห้วงของจินตนาการ

2.ใช้ประโยชน์จากความคิด ด้วยจินตนาการอันล้ำเลิศโดยสามารถสร้างเรื่องราว ตัวละครออกมาได้สมจริงสุด ๆ บางทีอาจนำมาสู่การนำไปเขียนนิยาย บอกเล่าเรื่องราว นำความคิดเหล่านั้นมาสร้างเป็นผลงานของตัวเอง 

3.หลีกเลี่ยงสิ่งเร้า หากเรารู้ว่าสิ่งไหนที่กระตุ้นให้เราเกิดอาการฝันกลางวันขึ้น ให้หลีกเลี่ยงเหตุการณ์นั้น ๆ หลีกเลี่ยงสถานที่ บทสนทนาที่จะทำให้อาการกำเริบ 

4.ทำตัวให้ไม่ว่าง ลองหาเป้าหมายหรือสิ่งที่อยากทำอยู่ตลอด เพื่อไม่ให้สมองเกิดการคิดหรือจินตนาการผ่านช่องว่างนั้น ๆ จนทำให้หลุดเข้าไปในโลกแห่งความฝัน

5.บอกเล่าให้คนอื่นได้ฟัง การบอกเล่าถึงอาการที่เกิดขึ้นอาจทำให้คนเข้าใจเราได้มากขึ้นและอาจมาช่วยเรียกสติกลับมาจากโลกความฝัน เพื่อให้มีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างได้ อีกทั้งอาจเจอคนที่มีอาการเหมือนกัน เพื่อให้คุณและเขาได้รู้ว่าไม่ได้มีแค่ตัวคนเดียว

6.ปรึกษาจิตแพทย์ หากสังเกตตัวเองแล้วพบว่าเรามีอาการดังกล่าว และยากเกินควบคุม ควรเข้าพบจิตแพทย์ เพื่อหาทางออกและแนวทางการรักษาตามอาการ

‘โรคฝันกลางวันหากเกิดอย่างรุนแรงและทำให้ส่งผลต่อชีวิตประจำวัน ไม่สนใจความจริง’

          หากมองผิวเผินอาจจะดูไม่มีอะไรไปกว่าการเหม่อลอยปกติ แต่อย่าชะล่าใจเพราะมันร้ายแรงกว่าที่คิด ทั้งผลกระทบต่อการทำงาน การเรียน และความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาให้ถูกวิธีและก้าวออกมาจากโลกของจินตนาการได้ทัน  

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

ขอบคุณข้อมูลจาก

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube