“ชูศักดิ์” คกก.ประชามติไทม์ไลน์ชัดศึกษาจบในปีนี้
“ชูศักดิ์” คกก.ประชามติ นัดคุย 10 ตค.ก้าวไกลไม่ร่วม อาจปรับเพิ่มกรรมการ รอ “ภูมิธรรม” ตัดสินใจ ยันไทมไลน์การศึกษาจบในปีนี้
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย สส.บัญชีรายชื่อ และ ประธาน กมธ.ปปช. สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า ในวันอังคารที่ 10 ตุลาคมนี้ คณะกรรมการศึกษาการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ จะเรียกประชุมเพื่อหารือกรณีที่พรรคก้าวไกล ไม่ได้เข้าร่วม จะมีการปรับคณะกรรมการใหม่เพิ่มเติมขึ้น ส่วนจะปรับอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานฯ
พร้อมกันนี้ ยังยืนยันไทม์ไลน์การศึกษาของคณะกรรมการชุดดังกล่าวว่าจะศึกษาให้แล้วเสร็จภายในปีนี้ตามที่ได้ประกาศไว้ ซึ่งเรื่องสำคัญของคณะกรรมการชุดนี้มี 2 เรื่อง คือ 1. จะทำประชามติอย่างไรเพราะความคิดเห็นเรื่องการทำประชามติยังต่างกันอยู่ ว่าจะทำกี่ครั้ง และจะต้องให้การทำประชามตินั้นเป็นไปตามคำวินิจฉัยของศาลก็จะธรรมนูญ ที่ต้องถามประชาชนก่อนว่าเห็นควรจะให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่
ซึ่งคำวินิจฉัยในลักษณะนี้ ตีความได้ว่าทำประชามติ 2 ครั้ง แต่พอหลายคนได้อ่านก็ตีความแตกต่างกัน บางคนเห็นว่าจะต้องทำประชามติ 3 ครั้ง เรื่องนี้ต้องหารือให้ได้ข้อยุติ ส่วนตัวเห็นว่าหากทำร่างแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256 หากผ่านรัฐสภาในวาระ3 ถึงจะทำประชามติ ซึ่งจะเป็นประชามติครั้งแรก มี ส.ส.ร. มายกร่างใหม่ เมื่อผ่านรัฐสภาก็นำไปทำประชามติซึ่งจะเป็นประชามติครั้งที่ 2 นำขึ้นทูลเกล้าฯ
ขณะเดียวกัน จะต้องหารือ หากเกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอย วาระ 3 เหมือนคราวที่แล้วก็จะยุ่ง หน้าที่จะต้องทำเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญเป็นเรื่องแรก และร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขมาตรา 256 จะต้องทำมีบรรจุเรื่อง ส.ส.ร.ร่างนี้ตอน ส.ส.ร. จะมีการกำหนดเงื่อนไขอะไรบ้าง เช่น ที่รัฐบาลกำหนดห้ามแก้หมวด 1 หมวด 2 หรือ ที่มา ส.ส.ร. มาจากการเลือกตั้งจากประชาชนทั้งหมด 200 คน หรือจะมีผสมจากการสรรหาบ้างแล้วแต่ โดนร่าง ของพรรคเพื่อไทยที่คิดไว้คือ 200 คน เลือกตั้งทั้งหมด
นายชูศักดิ์ ยังระบุว่า ให้ ส.ส.ร. มีอำนาจตั้งกรรมาธิการราว 47 คน ให้มาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มาจากคณะต่างๆให้มีความหลากหลาย ซึ่งประเด็นนี้ยังถกเถียงกันอยู่ กรรมการชุดนี้ต้องหาข้อยุติตรงนี้ 2 ประเด็นใหญ่ ใช้เวลาไม่นานทันก่อนสิ้นปีนี้
อย่างไรก็ตาม ในฐานะประธานกรรมาธิการ ป.ป.ช. ประธารสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงข้อวิพากษ์วิจารณ์พรรครัฐบาลได้นั่งเป็นประธานกรรมาธิการตรวจสอบ หรือข้อคอรหาเอาไปฟอกรัฐบาลหรือไม่โดยยืนยันการทำหน้าที่ด้วยความเป็นกลาง แล้วในการลงมติก็จะเป็นไปในรูปแบบของคณะกรรมาธิการ จึงไม่หนักใจในการทำหน้าที่ในครั้งนี้หากมีคำร้องเกี่ยวกับคนในรัฐบาล เพราะจะต้องทำหน้าที่ที่คำนึงถึงความยุติธรรมและคำนึงถึงกฎหมาย
โดยเราไม่มีหน้าที่มาปกป้องใคร ในทัศนะของตนเองที่ต้องทำหน้าที่ไปอย่างตรงไปตรงมาตามกฏหมาย ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นว่าเป็นกรรมาธิการของรัฐบาล เป็นกรรมการของฝ่ายค้านน่าจะถูกต้องสำหรับระบบประชาธิปไตย
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews