ภาวะหนังตาตก แม้ว่าจะดูเป็นอาการที่ดูไม่รุนแรงและสามารถรักษาแก้ไขได้ แต่ถึงอย่างนั้นก็ใช่ว่าคนไข้ทุกรายที่เป็นจะอยู่ในขั้นที่รักษาได้หายขาด ยิ่งหากนิ่งนอนใจและปล่อยไว้นานเกินไป ก็อาจส่งผลให้การรักษายุ่งยากมากขึ้น ซึ่งในคนไข้ที่ยังมีอายุน้อยบางรายอาจเกิดเป็นภาวะตาขี้เกียจตามมาได้ วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับภาวะหนังตาตก อันตรายของโรค สาเหตุการเกิด ไปจนถึงวิธีการรักษาผ่าตัดหนังตาตก ใครกำลังเผชิญกับปัญหาหรือกำลังสงสัยว่าเรากำลังเป็นภาวะหนังตาตกอยู่หรือไม่ ตามไปอ่านกันต่อได้เลย
ภาวะหนังตาตก เกิดจากอะไร
ภาวะหนังตาตกหรือกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง คือภาวะที่เปลือกตาตกลงต่ำกว่าตำแหน่งที่ควรจะเป็น จนมีผลกระทบและบดบังทัศนวิสัยการมองเห็น ซึ่งปกติแล้วเปลือกตาบนของเราควรอยู่เหนือขอบตาดำบน แต่ถ้าหนังตาบนเริ่มตกลงมาต่ำจนบังขอบตาดำ ทำให้ต้องเพ่งตาหรือเบิ่งตาตลอดเวลา ให้คาดเดาไว้ก่อนว่ากำลังเผชิญกับปัญหาภาวะหนังตาตกหรือกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้ สำหรับคนที่มีอาการเปลือกตาตกเพียงข้างเดียว จะทำให้ตาทั้งสองข้างดูไม่เท่ากัน แต่ถ้าเป็นทั้งสองข้าง ก็จะทำให้ภาพลักษณ์เป็นคนเซื่องซึมง่วงนอนตลอดเวลา ทำให้เสียบุคลิกได้ ยิ่งเปลือกตาตกลงมากขึ้นเท่าไหร่ นั่นแสดงถึงอาการที่เริ่มรุนแรงขึ้น ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยด่วน
ภาวะหนังตาตกอันตรายหรือไม่
เราสามารถจำแนกอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้เป็น 3 กลุ่ม ซึ่งจะมีความรุนแรงและผลกระทบในระดับที่แตกต่างกันออกไป
- กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงตั้งแต่วัยเด็ก สำหรับกลุ่มภาวะหนังตาตกกลุ่มแรก จะเกิดจากกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงตั้งแต่ยังเด็ก สามารถสังเกตได้จากตาทั้งสองจะไม่เท่ากัน คือหนังตาตกข้างใดข้างหนึ่ง มักจะมาควบคู่กับอาการที่ตาข้างที่เป็นมองเห็นได้ไม่ชัด ซึ่งแม้ว่าอาการนี้จะไม่ได้อันตรายเท่าไหร่นัก แต่ถ้าหากปล่อยไว้และไม่รีบรักษา อาจนำสู่อาการตาขี้เกียจได้ หากยิ่งสังเกตเห็นได้เร็วยิ่งต้องรีบทำการรักษา โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุก่อน 8 ขวบ เพราะหากปล่อยไว้นานและอายุมากขึ้นกว่านี้ ต่อให้ทำการรักษาแก้ไขแล้วก็อาจจะส่งผลต่อการมองเห็นได้อีกเช่นกัน
- ผู้ที่มีภาวะหนังตาตกภายหลัง สำหรับกลุ่มถัดมาจเะป็นผู้ที่เริ่มมีภาวะหนังตาตกเกิดขึ้นภายหลัง เกิดได้จากหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็น อายุที่มากขึ้นหรือการขยี้ตาบ่อยๆ กลุ่มนี้จะไม่อันตรายหรือร้ายแรงนัก แต่จะสร้างความรำคาญและความลำบากในการใช้ชีวิต เพราะอาจทำให้ต้องพยายามเบิ่งตาตลอดเวลา เพื่อไม่ให้เปลือกตาที่เริ่มตกลงมา บดบังการมองเห็นและรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน
- ผู้ที่มีโรคบางชนิด อีกกลุ่มนับว่าจัดอยู่ในภาวะอันตรายและต้องรีบทำการรักษาโดยด่วน คือกลุ่มผู้ที่มีโรคบางชนิด โดยเฉพาะโรคเส้นประสาทสมองเป็นอัมพาต และผู้ป่วยเนื้องอกในสมองหรือเส้นเลือดโป่งพองในสมองไปกดเส้นประสาท ซึ่งผู้ที่เป็นโรคเหล่านี้ ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดควรหมั่นสังเกตอยู่ตลอด เพราะมักจะมีอาการหนังตาตกเฉียบพลัน เช่น นั่งคุยกันอยู่ดีๆ หนังตาก็ตกลง หรือหนังตาตกลงมาทันทีเมื่อตื่นนอน ซึ่งอาการจะมาควบคู่กับการมองเห็นภาพซ้อน และหน้าชา
ภาวะหนังตาตกรักษาได้อย่างไร
บางคนอาจคิดว่าการรักษาหนังตาตกเหมือนกับการผ่าตัดศัลยกรรมตาสองชั้น ถึงแม้การผ่าตัดทั้งสองอย่างจะคล้ายคลึงกันแต่ก็มีวิธีการรักษาแตกต่างกัน เพราะการผ่าตัดศัยกรรมตาสองชั้นเป็นการผ่าตัดหนังตาส่วนเกินออก แต่การผ่าตัดหนังตาตก เป็นการผ่าตัดที่ชั้นกล้ามเนื้อตาที่อยู่ด้านในสุดของเปลือกตา ซึ่งหลักๆ จะมีด้วยกัน 3 วิธี ได้แก่
- ผ่าตัดกล้ามเนื้อตามัดเล็ก วิธีนี้เหมาะสำหรับการแก้ไขผ่าตัดหนังตาตกในขั้นที่ไม่รุนแรง ซึ่งข้อดีของวิธีนี้คือจะไม่มีแผลที่บริเวณผิวหนังที่สังเกตเห็นได้ชัด
- ผ่าตัดกล้ามเนื้อตามัดใหญ่ วิธีนี้สามารถแก้ไขปัญหาหนังตาตกในขั้นที่รุนแรงกว่าวิธีแรกได้ ข้อดีของการผ่าตัดหนังตาตกวิธีนี้คือ สามารถผ่าตัดร่วมกับทำตาสองชั้นได้พร้อมกัน แต่ข้อเสียคือจะทำให้เกิดภาวะหลับตาไม่สนิทได้ในช่วงแรก
- ผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้อหน้าผาก วิธีนี้สามารถแก้ไขปัญหาภาวะหนังตาตกแบบรุนแรงได้ โดยเฉพาะภาวะหนังตาตกตั้งแต่กำเนิด แต่ข้อเสียสำหรับวิธีนี้คือต้องยกคิ้วขึ้นเล็กน้อย และอาจส่งผลให้หลับตาไม่สนิทในช่วงแรกนั่นเอง
การรักษาผ่าตัดหนังตาตกแต่ละวิธี มีข้อดี-ข้อเสียที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่ความรุนแรงของอาการ ซึ่งการที่เราจะรู้ว่าควรรักษาด้วยขั้นตอนและวิธีไหนนั้น ควรปรึกษาแพทย์ที่มีความรู้เฉพาะทางและมีประสบการณ์ด้านโรคนี้โดนเฉพาะ ที่ Saonanon Clinic คลินิกศัลยกรรมตกแต่งเสริมความงาม ที่มีจักษุแพทย์มากประสบการณ์และมีความรู้ด้านดวงตาโดยเฉพาะ พร้อมวางแผนแก้ไขปัญหาภาวะหนังตาตกได้อย่างตรงจุด รวมไปถึงออกแบบทรงตาใหม่ที่ตอบโจทย์และตรงกับผู้รับการรักษามากที่สุด คืนดวงตาคู่สวยให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของใบหน้าอีกครั้ง ใครที่มีปัญหาหนังตาตกหรือภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง สามารถกลับมาเป็นเจ้าของดวงตาคู่สวยได้แล้ววันนี้
ปรึกษา Saonanon Clinic | ติดต่อ สอบถามเพิ่มเติม
Tel: 090-9463090
Line: @saonanon
Facebook: Saonanon Clinic