Home
|
ข่าว

“หมอวรงค์” ยื่นกกต.เอาผิดเพื่อไทยหาเสียงเข้าข่ายหลอกลวง

Featured Image
“หมอวรงค์” ยื่น กกต.สอบเอาผิดเพื่อไทย หาเสียงแจกดิจิทัล 1 หมื่น ไม่ตรงปก ผิด ม.73 (1) เข้าข่ายสัญญาว่าจะให้หรือไม่

 

 

 

 

 

 

นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม หัวหน้าพรรคไทยภักดี นำคณะเดินทางมายื่นหนังสือที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทยหาเสียงไว้ว่าจะแจกเงินดิจิทัลวอลเลต 10,000 บาท ว่า วันนี้พรรคไทยภักดีได้รวบรวมหลักฐานเอกสารมาร้องกกต.

 

 

 

 

นพ.วรงค์ กล่าว่วา สาระหลักสำคัญคือกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสส.มาตรา 73 (1) ถ้าจำได้ว่าพรรคเพื่อไทยและรวมถึงแกนนำพรรค ในยุคนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ฐานะแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้มีการหาเสียงว่าจะมีการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท หรือการเติมเงินดิจิทัลเข้ากระเป๋าตังค์ 10,000 บาท โดยบอกว่าจะใช้เงินงบประมาณตลอดจนการปรับการบริหารภาษี แต่ ณ ขณะนี้เป็นการยืนยันแล้วว่าไม่ได้ใช้เงินงบประมาณหรือการบริหารภาษี แต่มีการกู้เกิดขึ้นจริง

 

 

 

 

ดังนั้นถ้าตีความการกู้ มันเป็นเงื่อนไขสัญญาว่าจะให้หรือไม่ ประเด็นที่ 2.เราจะพบว่าในสารระบบการเงินของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นงบประมาณเงินแผ่นดินจะไม่มีเงินดิจิทัลใช้จริง ดังนั้นการที่พรรคเพื่อไทยได้มีการแจกเงินดิจิทัล ซึ่งไม่มีอยู่ในระบบของเงินงบประมาณและเงินแผ่นดินของประเทศไทย การแจกเงินดิจิทัลจึงเข้าข่ายสัญญาว่าจะให้หรือไม่

 

 

 

 

นพ.วรงค์ กล่าวว่า ตนมาร้องเรื่องนี้เพื่อให้กกต. สร้างเป็น บรรทัดฐานสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งครั้งนี้ที่จะตัดสินรวมทั้งเป็นบรรทัดฐานเลือกตั้งในอนาคต “เพราะไม่อย่างงั้นแล้ว พรรคการเมืองต่างๆก็จะสร้างระบบสวัสดิการถ้วนหน้าโดยที่ประเทศไม่มีเงิน และสุดท้ายก็จะมีการกู้เอามาแจดตั้งแต่เกิดจนตาย โดยที่ประชาชนไม่ต้องทำงานอะไรเลย ต่อไปนี้เราหวังว่าพรรคการเมืองต่างๆในการกำหนดนโยบายเพื่อดูแลพี่น้องประชาชน จะต้องอยู่บนฐานที่ไม่ทำให้ประเทศชาติเสียหาย แต่ถ้าสมมุติกกต.บอกว่าไม่ผิด ก็ไม่ผิด ต่อไปในอนาคตก็คงจะกู้กันให้สนุกไปเลย แจกกันให้มันส์ไปเลย” นพ.วรงค์ กล่าว

 

 

 

นพ.วรงค์ กล่าวต่อว่า ตนได้สอบถามประชาชนทั่วไปทุกคนมองว่าเป็นวิธีการหลอกลวงประชาชน ตนคิดว่าหลังจากที่เราร่างด้วยเหตุด้วยผลแล้ว เราจะโย่งเรื่องนี้ไปสู่สัญญาที่จะให้เพระตนจำได้ว่า นายแสวง บุญมี เลขธิการกกต. ได้เคยตีความว่าถ้าใช้เงินในงบประมาณแผ่นดินถือว่าไม่ผิดในสัญญาว่าจะให้ แต่เนื่องจากตอนนี้มีการกู้แล้ว ตนก็อยากรู้ว่าทางกกต.จะมีผลตอบรับอย่างไร

 

 

 

 

หากถ้าเรื่องนี้กกต.ไม่ขับเคลื่อนหรือไม่มีหนังสือตอบกลับมา และถ้ามีการเลือกตั้งครั้งหน้า และมีการจ่ายเงินอย่างเดียวจะมีการสูญเสียต่อประเทศชาติและประชาชนอย่างไรนั้น นพ.วรงค์ ระบุว่า ประเทศจะไปไปรอด นี่ถือว่าจะเป็นบรรทัดฐานครั้งสำคัญของประเทศ ที่กกต. จะต้องวางและการชี้ครั้งนี้มีผลมาก ถ้ากกต.บอกว่าการกู้ไม่ถือว่าเป็นสัญญาว่าจะให้ ตนคิดว่าครั้งหน้าสวัสดิการที่จะมีการแจกตั้งแต่เกิดจนเสียชีวิตอาจจะทำให้ประเทศพังได้

 

 

 

นพ.วรงค์ กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่าเงินดิจิทัลคือเงินบาทชั้น2 ไม่ใช่เงินบาทชั้น1 เงินบาทชั้น1 คือเงินสด ที่สามารถชำระหนี้ ได้ตามกฏหมาย และสามารถซื้อสินค้าอะไรก็ได้ที่เจ้าของเงินต้องการจะซื้อ ส่วนเงินชั้น2 ไม่ได้อยู่ในระบบของเงินงบประมาณไม่ได้อยู่ในระบบเงินแผ่นดิน ตนจึงมองว่าเป็นการแจกที่แปลก และมองว่านี่เป็นสัญญาทั่จะให้แต่ไม่ได้อยู่ในเงื่อนไขที่กกต.กำหนดไว้

 

 

 

 

นพ.วรงค์ กล่าวถึงความแตกต่างระหว่างแอพเป๋าตังในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกรัฐมนตรี และโครงการแจกเงินดิจิทัล 10,000บาท ว่า ตนขอยกตัวอย่าง อาทิ โดยการเอาเงินผ่านแอพเป๋าตังและโครงการคนละครึ่งนั้นคือสิ่งที่เรียกว่าว่าเงินสดหรือเงินชั้น1 เพราะเวลาจ่ายเงินก็จะจำกัดวงเงินในการใช้จ่าย ซึ่งรวมแล้วไม่เกิน 300 บาทต่อวัน

 

 

 

 

มีแต่แม่ค้าพ่อค้ารายย่อยที่ได้ประโยชน์ ที่ขายของไม่แพงมากจะได้ประโยชน์เต็มที่ เงินจะเข้าถึงทันที เรานะเห็นได้ชัดเจนว่ารายย่อยได้ประโยชน์หมด แต่โครงการแจกเงินดิจิทัล ฟังดูเหมือนต้องการจะช่วยคนจน แม่ค้าพ่อค้ารายย่อยขายได้ แต่ขึ้นเงินไม่ได้ เพราะไม่อยู่ในระบบการเสียภาษี นี่คือหัวใจสำคัญ

 

 

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

 

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube