“ศิริกัญญา”สับจัดทำงบแบบ “ประยุทธ์ดาวน์ เศรษฐาผ่อนต่อ”
“ศิริกัญญา” ชี้ นายกฯบอกเศรษฐกิจวิกฤต แต่ไม่มีงบกระตุ้น เจองบกระตุ้นเศรษฐกิจทิพย์ สับจัดทำงบแบบ “ประยุทธ์ดาวน์ เศรษฐาผ่อนต่อ”
นางสาวศิริกัญญา ตันสกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล อภิปรายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 บอกว่า การจัดทำงบประมาณของรัฐบาลที่
จะนำมาใช้ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งไม่ใช่ฝ่ายค้านพูดเอง แต่นายกฯ พูดย้ำเองว่าเศรษฐกิจกำลังวิกฤต ซึ่งหากวิกฤตจริงตัวงบประมาณจะไม่ออกมาในรูปแบบนี้
ซึ่งในเอกสารการจัดทำงบประมาณ ระบุว่า เศรษฐกิจปี 66 คาดจะโต 2.5% ปี 67 โต 3.2% ดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุล ดูยังไงก็ยังไม่วิกฤตแบบที่นายกรัฐมนตรีพูด เรื่องงบประมาณ
ที่จัดทำก็มองไม่ออกว่ากำลังจะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งดูจากที่สำนักงบประมาณ ฉบับประชาชน ระบุว่า เศรษฐกิจจะเติบโตได้ระดับ 5 % โดยรัฐบาลกำลังจะบรรลุเป้าหมาย จีดีพี โต 5%
ด้วยการโกงสูตรปรับจีดีพีที่นักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลกรู้ดี อย่าโกงสูตรเพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัวตามเป้าหมาย ซึ่งตามปกติ เศรษฐกิจจะโตได้เมื่อมีการกู้เงิน มาใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ การลงทุนแต่ยังตั้งงบขาดดุลเท่าเดิมแผนการคลัง ของรัฐบาล ทำไมต้องทำขาดดุล 3.4% ไปต่อเนื่อง ทั้งที่พรรคเพื่อไทยบอกเองว่าจะทำงบสมดุลภายใน 7 ปี
หากมีวิกฤตก็ต้องกระตุ้นเศรษฐกิจ สิ่งที่เป็นเรือธงกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลคือดิจิทัลวอลเล็ต แพ็คเกจใหญ่ 500,000 ล้านบาท เอาเงินเติมให้กับประชาชน ใช้เงินจากพรบ. เงินกู้ 500,000 ล้านและงบประมาณรายจ่ายประจำปีอีก 100,000 ล้านบาท แต่งงบดิจิทัลวอลเล็ตกลับล่องหนไม่มีในงบประมาณ ส่วนกองทุนเพิ่มขีดความสามารถ 100,000 ล้านบาทเหลือเพียง 15,000 ล้านบาทและเพิ่งใส่มาเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายนที่ผ่านมา แสดงว่ายังไม่มีเงินเติมอีก 100,000 ล้านบาท
โดยต้องรอดูว่าจะต้องกู้ 500,000 ล้านบาทได้หรือไม่ คิดว่ารัฐบาลฝากความหวังไว้ที่ พรบ. เงินกู้ เหมือนการฝากไข่ไว้ในตะกร้าใบเดียวและมีความเสี่ยงสูงหากไม่สามารถออกพรบ.เงินกู้ได้
หากกู้ไม่ได้ก็จะเป็นงบกระตุ้นเศรษฐกิจทิพย์ทันที
นอกจากนี้ยังมองว่า วิกฤตแบบใดที่งบกลาโหมเพิ่มขึ้น เพราะปกติแล้วเมื่อเกิดวิกฤตกลาโหมมักตัดงบประมาณของตัวเองลงเพื่อช่วยประเทศ ที่ผ่านมา ต้มยำกุ้ง,แฮมเบอร์เกอร์,โควิด
มีการลดงบมาโดยตลอด แต่วิกฤตของนายกเศรษฐา งบกลาโหมกลับเพิ่มขึ้น 2% โครงการเรือธงที่เป็นโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่กลับไม่มี อยู่ใน งบประมาณ ไหนว่าเกิดวิกฤตทำไมงบยังคงเดินหน้าแบบเดิม 6 ยุทธศาสตร์เดิมซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ชาติเข้าใจได้ว่าต้องสานต่อแต่มีโครงการใหม่เพียง 236 โครงการจาก 1,500 โครงการมีงบประมาณเพียง 13,656 ล้านบาทจากงบโครงการใหม่กว่า 830,000 ล้านบาทชี้ว่ามีงบมรดกตกทอดจากรัฐบาลก่อน
มองว่า “ประยุทธ์ดาวน์เศรษฐาผ่อนต่อ ” ซึ่งถือว่าพลาดแล้ว พลาดอยู่ พลาดต่อ โดยทำงบประมาณการชดใช้เงินคงคลัง 120,000 ล้านบาท โดยเอาไปชดใช้งบบุคลากรไม่เพียงพอกว่า 20,000 ล้านบาท บำเหน็จบำนาญกว่า 50,000 ล้านบาท ค่าพยาบาล 20,000 ล้านบาท เป็นงบประมาณที่ไม่ควรพลาด เพราะเป็นงบเงินเดือน ทำไมถึงตั้งไม่เพียงพอ แต่ส่วนหนึ่งก็เป็นการผิดพลาดของรัฐบาลก่อน รัฐบาลปัจจุบันก็ยังคงตั้งไว้ไม่พอใจเช่นเดิม สุดท้ายแล้วงบในปีถัดไปก็จะต้องนำเงินคงคลังออกมาใช้และต้องมาชดใช้เงินคงคลังต่อไป โดยไม่เรียนรู้ความผิดพลาดในอดีตเลย มองว่าเป็นความตั้งใจผิดพลาด เพราะใช้จ่ายเกินงบประมาณกลาง 90,000 ล้านบาทอย่างแน่นอน ซึ่งผิดพลาดทั้งการตั้งงบรายจ่ายไม่พอ และยังผิดพลาดเรื่องการประมาณการรายได้ จากการไม่เก็บภาษีหรือการลดหย่อนภาษีต่างๆ ทำให้ประมาณการรายได้ลดลงด้วย
โดย สรุปได้ว่า ร่าง พรบ. ฉบับนี้ ไม่เห็นอะไรเป็นบทพิสูจน์ รัฐบาลไม่สามารถทำงานได้อย่างมืออาชีพ นี่หรือเป็นรัฐบาลที่เคยสืบทอดขึ้นชื่อด้านเศรษฐกิจ การหาเงินได้ใช้เงินเป็น แต่กลับผิดพลาดในการจัดทำงบประมาณตั้งงบไม่เพียงพอประมาณการรายได้ผิดพลาดอย่างไม่น่าให้อภัยและไม่คิดที่จะแก้ มุ่งแต่ใช้กลไกนอกงบประมาณมาแก้ไขปัญหา คงถึงเวลาแล้วที่ประชาชนจะต้องคิดใหม่กับการบริหารราชการของพรรคเพื่อไทย
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews