“สว.เฉลิมชัย” ฉะ กกต.ปล่อยผ่านโครงการดิจิทัลฯ
“สว.สถิตย์” อภิปราย “เศรษฐกิจ-ปากท้อง” เหน็บไทยโตต่ำกว่าศักยภาพหรือศักยภาพเศรษฐกิจไทยต่ำ ขณะ “สว.เฉลิมชัย” กล่าวหา กกต.กลางสภา ปล่อย โครงการดิจิทัล ผ่าน ถือว่าละเว้นหน้าที่
นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ สมาชิกวุฒิสภา อภิปรายในการประชุมวุฒิสภา พิจารณาญัตติด่วนขอเปิดอภิปรายทั่วไป ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 153 แบบไม่ลงมติ โดยอภิปรายในด้านปัญหาด้านเศรษฐกิจของชาติและปากท้องประชาชนว่า เมื่อวันที่ 22 ส.ค.ตนเป็นคนหนึ่งที่ลงมติเห็นชอบให้ นายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาวันที่ 11 ก.ย. 2566 รัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา
วันนี้ตนใช้สิทธิ์ตามมาตรา 153 เพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริงการบริหารราชการแผ่นดิน อัตราการเติบโตเศรษฐกิจของประเทศไทย เต็มศักยภาพอยู่ที่ร้อยละ 35 แต่ด้วยการคาดการณ์ของเศรษฐกิจในปี 2567 เดิมคาดว่าขยายตัวเกินร้อยละ 3 แต่วันนี้ได้ปรับการแก้ใหม่การคาดการณ์ ทั้งจากภาครัฐ สหพัฒน์ แบงค์ชาติ และภาคเอกชน คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวโตต่ำกว่าร้อยละ 3 คำถามว่า จึงมีว่า ไทยโตต่ำกว่าศักยภาพที่มี หรือศักยภาพเศรษฐกิจไทยต่ำ จึงไม่โต
ด้านนายเฉลิมชัย เฟื่องคอน สว. ได้ลุกขึ้นอภิปรายนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ว่า ตามรัฐธรรมนูญ ในกฎหมาย พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง กำหนดว่าให้มีกลไกความรับผิดชอบทางการเมืองที่ไม่ได้วิเคราะห์ผลกระทบ นโยบายใดที่ต้องใช้จ่ายเงินตามประกาศโฆษณานโยบายนั้น อย่างน้อยต้องมีรายละเอียดวงเงินที่ต้องใช้ และที่มาของเงิน ความคุ้มค่าผลกระทบและความเสี่ยงอย่างรอบด้าน แต่ กกต.กลับบอกว่า ทำได้ เพราะใช้จ่ายจากเงินงบประมาณ
ในช่วงการจัดตั้งรัฐบาล ได้ระบุว่า นโยบายนี้จะทำหน้าที่เป็นชนวนกระตุกเศรษฐกิจของประเทศ เป็นการสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพ ขยายกิจการผลิตสินค้า เกิดการจ้างงานการหมุนว่างานเศรษฐกิจอีกหลายรอบ เป็นการเตรียมความพร้อมของประเทศให้เข้าสู่เศรษฐกิจสมัยใหม่ และมีการแถลงนโยบาย 11 กันยายน 2566 แต่กลับไม่ได้ชี้แจงแหล่งที่มาของรายได้ที่จะนำมาใช้จ่ายในการดำเนินนโยบายเติมเงินดิจิทัล ตนตั้งข้อสังเกตว่าจะเป็นการกระทำผิดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 มาตรา 162 หรือไม่
ซึ่งบัญญัติไว้ว่าคณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดินต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภา และต้องชี้แจงแหล่งที่มาของรายได้ที่จะนำมาใช้จ่ายในการดำเนินนโยบาย โดยไม่มีการลงมติความไว้วางใจ
ประกอบกับ นายเศรษฐา ได้แถลงข่าวอ้างวิกฤติเศรษฐกิจ ซึ่งมีเงื่อนไขเปลี่ยนไป ทำให้ต้องกู้เงิน แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าหน่วยงานไหนจะรับผิดชอบ ตอนหาเสียงบอกจะใช้งบประมาณ 2567 ตั้งรัฐบาลได้บอกผมขอกู้ เป็นข้อบ่งชี้ว่าการหาเสียงที่ไม่มีความพร้อม ไม่มีความรับผิดชอบ สักแต่จะให้ชาวบ้านเลือก
นายเฉลิมชัย ยังกล่าวว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) บอกว่า การหาเสียงแบบนี้จะเป็นบรรทัดฐานต่อไปสำหรับพรรคการเมือง ตนจึงขอกล่าวหาด้วยวาจาว่า การที่ กกต. ใช้ดุลยพินิจในนโยบายดิจิทัล บอกว่าทำได้ ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 162 หรือไม่ ถ้าขัดก็เป็นการจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง พร้อมถามว่า ป.ป.ช. เปิดโทรทัศน์ ดูหรือไม่ ถ้าเปิดดู ขอให้ทราบว่า ตนกล่าวหาไปแล้ว ในเมื่อ กกต. บอกว่า ทำได้ ก็ไปคุยกันที่ ป.ป.ช.
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews