Home
|
ข่าว

ส่งศาลรธน.ตีความอำนาจหน้าที่รัฐสภาแก้รธน.

Featured Image
มติรัฐสภา ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 (2) เพื่อให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญมีความชัดเจนมากขึ้น

 

การประชุมร่วมกันของรัฐสภา ที่ประชุมได้พิจารณาญัตติ เรื่อง ขอเสนอญัตติตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2563 ข้อ 31 ให้รัฐสภามีมติขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 (2) ที่นายชูศักดิ์ ศิรินิล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เป็นผู้เสนอ โดยกล่าวว่าการเสนอญัตตินี้เพื่อให้รัฐสภาได้มีมติว่ากรณีมีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 (2) และขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า รัฐสภาจะบรรจุวาระและพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่มีบทบัญญัติให้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

 

โดยยังไม่มีผลการออกเสียงประชามติว่าประชาชนประสงค์ต้องการให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้หรือไม่ และหากว่ารัฐสภาสามารถบรรจุร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่มีบทบัญญัติให้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ ดังนั้นการจัดให้ประชาชนออกเสียงประชามติก่อนว่าสมควรให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่จะสามารถกระทำในขั้นตอนที่รัฐสภาลงมติให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมในวาระ 3 แล้ว โดยสอบถามไปพร้อมกับกรณีตามมาตรา 256 (8) ได้หรือไม่ เพื่อให้สอดคล้องกับคำวินิจฉัยที่ 4/2564 หากไม่ได้จะต้องสอบถามในขั้นตอนใด

 

จากนั้น สมาชิกรัฐสภาได้อภิปรายแสดงความเห็นอย่างกว้างขวาง โดยมีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับญัตติดังกล่าว โดยสมาชิกรัฐสภาที่เห็นด้วย มองว่าการส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยจะทำให้เกิดความชัดเจนว่าจะต้องมีการทำประชามติสอบถามประชาชนก่อนหรือหลัง ซึ่งหากมีความชัดเจนจะทำให้ประหยัดเวลาและงบประมาณของประเทศ

 

เพราะการทำประชามติแต่ละครั้งต้องใช้งบประมาณมากกว่า 3,200 ล้านบาท พร้อมฝากให้คำนึงว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้มีส่วนดีที่ต้องรักษาไว้ แต่หากมาตราใดมีปัญหาก็สามารถการแก้ไขในสภาได้ ซึ่งหากจะมีการแก้ไขต้องไม่แก้ไขหมวด 1 และหมวด 2 และบทบัญญัติเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ

 

ด้านสมาชิกรัฐสภาที่ไม่เห็นด้วย มองว่า ไม่มีความจำเป็นต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอีก เพราะศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยมาชักเจนแล้ว พร้อมตั้งข้อสังเกตเป็นการซื้อเวลาเรื่องการทำประชามติหรือไม่ อีกทั้งการส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยจะเป็นการเพิ่มอำนาจให้ศาลรัฐธรรมนูญมากขึ้นหรือไม่

 

ขณะที่ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ใช้สิทธิ์ชี้แจงว่า การตัดสินใจของประธานรัฐสภาทึ่วินิฉัยไม่บรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที้พรรคเพื่อไทย และพรรคก้าวไกลเสนอ ได้ให้ฝ่ายกฎหมายของรัฐสภาพิจารณอย่างรอบคอบ และเห็นว่าหากบรรจุเข้าสู่การพิจารณาจะขัดหรือแย้งกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 ซึ่งตามรัฐธรรมนูญปี 2560 มาตรา 211 วรรคสี่ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันรัฐสภา ประกอบกับประธานรัฐสภาจะบรรจุร่างรัฐธรรมนูญฯ แก้ไขเพิ่มเติมเข้าระเบียบวาระการประชุมได้ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภาปี 2563 ข้อ 119 จะต้องเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเป็นรายมาตรา

 

อย่างไรก็ตาม หลังการอภิปรายของสมาชิกเสร็จสิ้นที่สุดแล้วที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยด้วยคะแนน 233 เสียง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

 

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube