Home
|
ข่าว

“ปริญญา” เชื่อผู้สมัครสว.2 แสน-ประชามติแก้รธน.เต็มไปด้วยปัญหา

Featured Image
“ปริญญา” เชื่อมีผู้สมัคร สว. 2 แสนคน “ก้าวหน้า” รณรงค์ประชาชนสมัคร ทำได้ มองประชามติแก้ รธน.เต็มไปด้วยปัญหา

 

 

นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้สัมภาษณ์ต่อการได้มาซึ่ง สว. ด้วยการเลือกกันเอง 3 ระดับ โดยไทม์ไลน์กำหนดให้เปิดรับสมัครวันที่ 13 พ.ค. โดยตนเชื่อว่า จะมีผู้สมัครจำนวนมาก ถึง 2 แสนคน ดังนั้นอาจจะมีปัญหาและข้อร้องเรียนเกิดขึ้นได้ พร้อมมองการรณรงค์ของคณะก้าวหน้าต่อการให้ประชาชนสมัครเข้าไปโหวต สว. นั้น เป็นเรื่องที่ทำได้ เพื่อต้องการผู้โหวตอิสระสู้กับผู้สมัครที่มีการจัดตั้งจากนักการเมืองบ้านใหญ่ในพื้นที่ ส่วนประเด็นการฮั้วกันที่จะเกิดขึ้นนั้น ด้วยระบบที่ให้เลือกกันเองตาม 20 สาขาวิชาชีพ และเลือกไขว้นั้น เชื่อว่า จะสามารถทำให้การฮั้วกันทำได้ยาก

 

อีกทั้งการลงคะแนนให้กันถือว่าไม่ผิดกฎหมาย ยกเว้นจะมีการซื้อเสียงหรือให้ผลประโยชน์ ซึ่งประเด็นดังกล่าวขอให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตรวจสอบให้ดี ในประเด็นการใช้เงินซื้อเสียง นอกจากนั้นแล้ว กกต.ควรพิจารณาทบทวนค่าสมัครจากเดิมที่กำหนดค่าสมัครที่ 2,500 บาท เหลือ 500 บาท เพื่อให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงการสมัครและสมัครได้มากขึ้น

 

ทั้งนี้ มองประเด็นการฮั้วกันหรือการยื่นเรื่องให้พิจารณากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญจะทำให้การเลือกของ สว.สะดุดหรือไม่ นายปริญญา กล่าวว่า อาจมีประเด็นเกิดขึ้นได้ ทั้งใน 2 กรณี แม้ตามกติกา กกต. มีอำนาจประกาศผลภายในระยะเวลาเท่าใด แต่เป็นกรณีที่ไม่มีปัญหา แต่หากมีปัญหาเกิดขึ้น เช่น การร้องเรียนตั้งแต่ระดับอำเภอที่มีผู้สมัครจำนวนมาก จะดำเนินการอย่างไร ตนขอให้จับตาให้ดี

 

หากการประกาศผลเลือก สว.ใหม่ต้องยืดเวลาออกไป ที่มีผลต่อการดำรงอยู่ของ สว. ชุดที่มาจาก คสช.ที่ต้องทำหน้าที่รักษาการไปจนกว่ามี สว.ชุดใหม่ เกี่ยวกับอำนาจเลือกนายกฯในรัฐสภา แม้บทเฉพาะกาล มาตรา 272 จะกำหนดให้มีอำนาจ 5 ปีนับแต่มีสภา แต่อาจมีคนที่ไปยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความได้ หากมีปัจจัยที่ต้องการทำให้เปลี่ยนตัวนายกฯ

 

ขณะเดียวกัน นายปริญญา กล่าวถึง การทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่เต็มไปด้วยปัญหามากมาย เพราะร่างขึ้นมาโดยกระบวนการที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ผู้ร่างก็มาจากรัฐประหารและวางกลไกในการสืบทอดอำนาจไว้มาก จึงต้องมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง แม้ว่าสว ที่มีส่วนในการสืบทอดอำนาจ จะหมดวาระในวันที่ 10 พฤษภาคม แต่กลไกต่างๆที่หวังไว้ที่ไม่เป็นประชาธิปไตยที่ยังต้องแก้อยู่มาก

 

ซึ่งที่ผ่านมาการแก้รัฐธรรมนูญ 2560 เป็นไปได้ยาก ซึ่งได้วางกลไกไว้ว่าถ้าจะแก้รัฐธรรมนูญจะต้องใช้เสียงสวมากถึง 1 ใน 3 ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน และเมื่อสว.ชุดนี้จะหมดวาระโอกาสที่จะได้สว.ชุดใหม่ มาเห็นชอบด้วยหนทางก็จะเปิด

 

ทั้งนี้ ข้อที่เป็นอุปสรรคใหญ่ คือกติกาของศาลรัฐธรรมนูญ ข้อถกเถียงที่ว่าจะต้องทำประชามติ 2 หรือ 3 ครั้ง เป็นเรื่องที่ศาลไม่รับวินิจฉัย ซึ่งรัฐบาลก็ได้แถลงออกมาแล้วว่าจะทำประชามติ 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 คือเริ่มเสนอร่าง ครั้งที่ 2 คือร่างเสร็จ และครั้งที่ 3 คือก่อนประกาศใช้ ในความเห็นของตนคือครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ไม่จำเป็นต้องถามเพราะ การถามครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 เป็นเรื่องเดียวกัน แต่เมื่อรัฐบาลมีแนวทางแบบนี้ก็ต้องติดตามดู ต่อไปว่าครั้งที่ 1 จะเริ่มต้นขึ้นเมื่อไหร่

 

ส่วนเรื่องที่คงจะเป็นข้อเห็นต่างกันมากระหว่างพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกลคือเรื่องของ คำถามที่จะถาม เพราะในคำถามมีคำถามที่ว่า”จะเห็นชอบด้วยหรือไม่ กับการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ โดยไม่แก้ไขหมวด 1 และหมวด 2″ ซึ่งในส่วนนี้มีความไม่ลงรอยกันอยู่ และตนเห็นว่า ตามกติการัฐธรรมนูญมาตรา 255 ระบุว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ที่เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ หรือมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จะแก้ไขไม่ได้

 

ซึ่งในส่วนนี้มีขอบเขตอยู่แล้วและที่ผ่านมา การร่างใหม่ของรัฐธรรมนูญเช่น ปี2540 ก็อยู่ภายใต้ หลักการนี้อยู่แล้ว พร้อมมองว่า หากรัฐบาลจะเดินหน้าได้ ควรหาหนทางที่จะพูดคุยกับฝ่ายค้าน ให้พอจะไปกันได้ เพราะจะไม่ได้เริ่มต้นตั้งแต่ครั้งแรกด้วยซ้ำ หากมีความเห็นต่างกันอยู่ เพราะนี่คือสิ่งที่ประชาชนคาดหวังอยากจะเห็น ตนในฐานะนักวิชาการ ประชาชนอยากจะเห็น 2 พรรคนี้ คุยกันไม่ใช่ต่างคนต่างทำ

 

ขณะเดียวกัน นายปริญญา กล่าวถึง การทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่เต็มไปด้วยปัญหามากมาย เพราะร่างขึ้นมาโดยกระบวนการที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ผู้ร่างก็มาจากรัฐประหารและวางกลไกในการสืบทอดอำนาจไว้มาก จึงต้องมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง แม้ว่าสว ที่มีส่วนในการสืบทอดอำนาจ จะหมดวาระในวันที่ 10 พฤษภาคม แต่กลไกต่างๆที่หวังไว้ที่ไม่เป็นประชาธิปไตยที่ยังต้องแก้อยู่มาก

 

ซึ่งที่ผ่านมาการแก้รัฐธรรมนูญ 2560 เป็นไปได้ยาก ซึ่งได้วางกลไกไว้ว่าถ้าจะแก้รัฐธรรมนูญจะต้องใช้เสียงสวมากถึง 1 ใน 3 ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน และเมื่อสว.ชุดนี้จะหมดวาระโอกาสที่จะได้สว.ชุดใหม่ มาเห็นชอบด้วยหนทางก็จะเปิด

 

ทั้งนี้ ข้อที่เป็นอุปสรรคใหญ่ คือกติกาของศาลรัฐธรรมนูญ ข้อถกเถียงที่ว่าจะต้องทำประชามติ 2 หรือ 3 ครั้ง เป็นเรื่องที่ศาลไม่รับวินิจฉัย ซึ่งรัฐบาลก็ได้แถลงออกมาแล้วว่าจะทำประชามติ 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 คือเริ่มเสนอร่าง ครั้งที่ 2 คือร่างเสร็จ และครั้งที่ 3 คือก่อนประกาศใช้ ในความเห็นของตนคือครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ไม่จำเป็นต้องถามเพราะ การถามครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 เป็นเรื่องเดียวกัน แต่เมื่อรัฐบาลมีแนวทางแบบนี้ก็ต้องติดตามดู ต่อไปว่าครั้งที่ 1 จะเริ่มต้นขึ้นเมื่อไหร่

 

ส่วนเรื่องที่คงจะเป็นข้อเห็นต่างกันมากระหว่างพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกลคือเรื่องของ คำถามที่จะถาม เพราะในคำถามมีคำถามที่ว่า”จะเห็นชอบด้วยหรือไม่ กับการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ โดยไม่แก้ไขหมวด 1 และหมวด 2″ ซึ่งในส่วนนี้มีความไม่ลงรอยกันอยู่ และตนเห็นว่า ตามกติการัฐธรรมนูญมาตรา 255 ระบุว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ที่เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ หรือมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จะแก้ไขไม่ได้

 

ซึ่งในส่วนนี้มีขอบเขตอยู่แล้วและที่ผ่านมา การร่างใหม่ของรัฐธรรมนูญเช่น ปี2540 ก็อยู่ภายใต้ หลักการนี้อยู่แล้ว พร้อมมองว่า หากรัฐบาลจะเดินหน้าได้ ควรหาหนทางที่จะพูดคุยกับฝ่ายค้าน ให้พอจะไปกันได้ เพราะจะไม่ได้เริ่มต้นตั้งแต่ครั้งแรกด้วยซ้ำ หากมีความเห็นต่างกันอยู่ เพราะนี่คือสิ่งที่ประชาชนคาดหวังอยากจะเห็น ตนในฐานะนักวิชาการ ประชาชนอยากจะเห็น 2 พรรคนี้ คุยกันไม่ใช่ต่างคนต่างทำ ขณะนี้ดูเหมือนว่าจะเดินหน้าไปข้างเดียว เกรงว่าจะไม่สำเร็จ

 

นายปริญญา กล่าวว่า สิ่งที่เราแตะไม่ได้คือระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมถึงรูปแบบราชอาณาจักรที่เป็นรัฐเดียว ซึ่งนี่มันต้องห้ามอยู่แล้วในความเห็นส่วนตัว ในหมวดทั่วไปมาตรา 4 ที่เกี่ยวกับเรื่องสิทธิเสรีภาพของมนุษย์ และมาตรา 5 ที่กฎหมายจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้ ความหมายคือต้องคุยกันด้วยเหตุและผล ฉะนั้น จะเป็นคำถามแบบไหนถ้ารัฐบาลกับฝ่ายค้านคุยกันได้จะเป็นประโยชน์ที่สุด

 

ส่วนจำนวนผู้มาใช้สิทธิ์ออกเสียงประชามติต้องเกินกึ่งหนึ่งจะเป็นอุปสรรค ต่อการแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่ นายปริญญากล่าวว่า การใช้สิทธิ์เลือกตั้งของประชาชนไทย ล่าสุด 74% ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ซึ่งส่วนตัวมองว่าโอกาสถึงกึ่งหนึ่งมีอยู่แล้ว ถ้าทุกคนมีความเห็นเป็นไปในทิศทางเดียวกันว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องร่างกันใหม่ แต่ถ้าหากรัฐบาลกับฝ่ายค้านยังคงเห็นต่างกัน 50% อาจจะถึงยาก

 

อย่างไรก็ตาม ตนคิดว่าการออกแบบเรื่องของประชามติ คือต้องได้เสียงเกินครึ่งหนึ่งของประชาชนที่มาออกเสียง ส่วนขั้นต่ำจะเป็นเท่าไหร่ตนคิดว่าเป็นเรื่องที่สามารถหารือกันได้ เรื่องนี้ตนก็คิดว่าทางรัฐบาลและฝ่ายค้านก็ต้องหารือกันด้วย แต่ถ้าหากเงื่อนไขค่อนข้างจะสูง ทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาได้ ไม่ใช่ปัญหาที่ตัวคำถามแต่ปัญหาคือความเห็นต่างระหว่างรัฐบาลและฝ่ายค้าน และตัวร่างแก้ไขจะไปไม่ถึงสภาฯถ้าหากรัฐบาลกับฝ่ายค้านยังคงเห็นต่างกันอยู่

 

คำถามคือเขาจะคุยกันได้หรือไม่ เป็นเรื่องที่ประชาชนคาดหวังอยากจะเห็น และหวังว่าจะเดินหน้าต่อไปได้ ประชามติจะ 2-3 รอบ ก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะเราคาดหวังจะเห็นรัฐธรรมนูญถ้าจะมีการร่างใหม่ ก็ควรจะเป็นครั้งสุดท้ายเสียที รัฐธรรมนูญที่จะเป็นครั้งสุดท้ายได้จะต้องเป็นของประชาชน ไม่ใช่ของรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน ดังนั้นจุดเริ่มต้นของความสำเร็จคือรัฐบาลและฝ่ายค้าน ต้องมาคุยกันและหาทางออก ร่วมกัน แต่ถ้ายังคงเดินหน้าอย่างนี้ต่อไปอยู่คงจะสำเร็จยาก

 

 

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube