อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจไทยมีข้อจำกัดและมีปัจจัยเสี่ยง ที่สำคัญจากความยืดเยื้อของความขัดแย้งเชิงภูมิศาสตร์และการดำเนินมาตรการกีดกันทางการค้าที่อาจส่งผลต่อเศรษฐกิจโลก และสร้างความผันผวนของตลาดเงินและตลาดทุน
ส่วนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจปี 2568 คาดว่าอัตราเงินเฟ้อ จะอยู่ระหว่างช่วง 0.7 -?1.7 ค่ากลางร้อยละ 1.2 และดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มเกินดุลร้อยละ 1.5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในช่วงปลายปี 2567 นโยบายดิจิทัล 10,000 บาท 50 ล้านคน เกิดเป็นพายุหมุนทางเศรษฐกิจ กระตุ้นเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง ตั้งแต่ระดับฐานราก กระจายไปยังพื้นที่ทั่วประเทศ ก่อให้เกิดการจับจ่ายใช้สอย
สั่งผลิตสินค้า จ้างงานและกลับมาเป็นภาษีให้กับภาครัฐ เพื่อใช้ในการลงทุน สร้างขีดความสามารถให้กับประเทศต่อไป โดยช่วงต้นปี 2567 รัฐบาลได้ประกาศวิสัยทัศน์ อิกไนท์ ไทยแลนด์ เป็นเป้าหมายของการพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ 8 ด้านได้แก่ ศูนย์กลางการท่องเที่ยว ศูนย์กลางการแพทย์และสุขภาพ ศูนย์กลางเกษตรและอาหาร
/ศูนย์กลางการบิน ศูนย์กลางการขนส่งของภูมิภาคศูนย์กลางการผลิตยานยนต์แห่งอนาคต ศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิทัล และศูนย์กลางการเงิน บนการพัฒนา 6 พื้นฐานที่สำคัญได้แก่ การเป็นรัฐบาลดิจิทัลเพื่อความโปร่งใส ความเสมอภาคเท่าเทียม ความสะอาดและปลอดภัย ระบบขนส่งที่เข้าถึงและสะดวก การศึกษาและเรียนรู้สำหรับทุกคน และพลังงานสะอาดและมั่นคง
นายเศรษฐา ยังระบุอีกว่า ในครึ่งปีแรกแสดงให้เห็นว่าการท่องเที่ยว เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจที่สำคัญ มีเป้าหมาย นักท่องเที่ยวเข้าประเทศ มากกว่า 36.7 ล้านคน จะกลับไปสู่ ตัวเลขใกล้เคียงกลับช่วงก่อนการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 รัฐบาลมีแผนให้ปี 2568 เป็นปีแห่งการท่องเที่ยวที่ยิ่งใหญ่เพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวให้มากยิ่งขึ้น และกระตุ้นการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวผ่านการเฟ้นหาจุดเด่นจัดเทศกาล กิจกรรม คอนเสิร์ต หรือการแสดงต่างๆ เพื่อเพิ่มระยะเวลาการพำนัก และค่าใช้จ่ายต่อหัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติให้มากยิ่งขึ้น และเพื่อเป็นการรองรับการเจริญเติบโตนักท่องเที่ยวในอนาคต
รัฐบาลจะเดินหน้า ขยาย โครงสร้างพื้นฐานทางอากาศให้มากยิ่ง โดยจะขยายโครงข่ายสนามบินทั่วประเทศ เพื่อรองรับผู้โดยสารให้มากขึ้น ตกลงถึงค่าขนส่งทางอากาศ เชื่อมโยงไปยังขนส่งทางรถไฟรางและเรือ อย่างครบวงจรทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งจากไทยไปยังกลุ่มประเทศ CLMV และเชื่อมต่อไปยัง Land Bridge เพื่อไปทั่วโลกได้
ขณะเดียวกันปัญหาหนี้สินปัญหาหนี้สินยังเป็นปัญหาใหญ่ โดยเฉพาะในภาคครัวเรือนที่มีภาระหนี้สินสูงกว่าร้อยละ 91.3 ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และยังซ้ำร้ายด้วยภาระหนี้นอกระบบโดยรัฐบาลได้มีมาตรการช่วยเหลือในการไกล่เกลี่ย และจับกุมเจ้าหนี้นอกระบบที่ทำผิดกฎหมาย เพื่อคืนอิสรภาพให้ประชาชน
ขณะที่ภาคธุรกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย ประเมิน SMEs กว่า 3.2 ล้านราย เข้าถึงสินเชื่อไม่ถึงครึ่ง ทำให้ต้องอาศัยสินเชื่อที่ไม่เป็นธรรมส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจ ทำให้เจริญเติบโตต่ำ ขณะที่สินเชื่อธุรกิจรายใหญ่ ขยายตัวร้อยละ 3.3 ในไตรมาส 1 ของปี 2567 การลงทุนต่างประเทศมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น มีการขอส่งเสริมการลงทุน มูลค่ากว่า 8.5 แสนล้านบาทในปี 2566
ซึ่งสูงสุดในรอบ 9 ปี เป็นผลมาจากการเจรจา การค้าการลงทุนอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงความเชื่อมั่น และยังมีการลวทุนจาดอุตสาหกรรม?ชั้นมูงที่เจ้ามาลงทุนและตั้งสำนักงานในประเทศไทย เช่นอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และอุตสาหกรรมดิจิทัล
สำหรับนโยบายการคลังและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รัฐบาลจำเป็นงบประมาณขาดดุล เพื่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจให้ต่อเนื่อง โดยประเมินว่าจะสามารถจัดเก็บภาษีได้ 3,022,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 จากปีก่อน นอกจากนี้ยังมีการจัดสรรเพื่อภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 135,700 ล้านบาท และจัดสรรเป็นรายจ่ายรัฐบาล 2,887,000 ล้านบาท กู้เพื่อชดเชยขาดดุล 865,700 ล้านบาท รวมรายรับ 3,752,700 ล้านบาท ซึ่งเท่ากับวงเงินงบประมาณรายจ่าย
ขณะที่นี่สาธารณะ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567 11,474,154 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 63.37 ของผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายใต้กรอบบริหารหนี้สาธารณะที่กำหนดไว้ ต้องไม่เกินร้อยละ 70 ซึ่งการที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.5 ต่อปี โดยมีเหตุผลว่าเป็นอัตราที่สอดคล้องกับการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงิน มีอัตราเงินเฟ้อที่สอดคล้อง กับการขยายตัวของเศรษฐกิจที่โน้มเข้าสู่ศักยภาพ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการท่องเที่ยวที่ขยายตัวต่อเนื่อง และการเบิกจ่ายภาครัฐที่กลับมาเร่งขึ้นในไตรมาส 2 ของปี 2567 ซึ่งต้องติดตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะการส่งออกของภาคผลิต
ขณะที่ไทย มีเงินสำรองระหว่างประเทศ ณวันที่ 31 ธ.ค.66 จำนวน 224, 283.9 ร้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงิน 2.5 เท่าของหนี้ต่างประเทศ ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งมาก ดังนั้นการจัดทำงบประมาณงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ 2568 จำแนกเป็นรายจ่ายประจำ 2, 704, 574 .7 ล้านบาท ที่เป็นร้อยละ 72.1 รายจ่ายลงทุน 908, 224 ล้านบาท เป็นร้อยละ 24.2 เป็นสัดส่วนการลงทุนที่สูงสุดในรอบ 17 ปี จ่ายคืนเงินกู้? 150,100 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.0 และรายจ่าย กู้เพื่อการลงทุนรัฐวิสาหกิจ 10,198.7 ล้านบาท
งบประมาณรายจ่ายงบกลาง กำหนดไว้ จำนวน 805,745.0 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 21.5 ของวงเงินงบประมาณ 1.2 ของงบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ กำหนดไว้ จำนวน 1,254,576.8 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 33.4 ของวงเงินงบประมาณ1.3?งบประมาณรายจ่ายบูรณาการ กำหนดไว้ จำนวน 206,858.5 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5.5 ของวงเงินงบประมาณ
นายเศรษฐา ยังกล่าวได้ว่า การจัดทำงบประมาณรายจ่าย ปี 2568 แบ่งเป็น 6 ยุทธศาสตร์ คือ 1 ด้านความมั่นคง จำนวน 405,412.8 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10.8 ของวงเงินงบประมาณ 2. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน จำนวน 398,185.9 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10.6 ของวงเงินงบประมาณ 3. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ จำนวน 583,023.4 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 15.5 ของวงเงินงบประมาณ
4. ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม จำนวน 923,851.4 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 24.6 ของวงเงินงบประมาณ 5.ด้านการสร้างการเติบโต
บนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม วงเงิน 137,291.9 ล้านบาท เป็นร้อยละ 37 ของวงเงินงบประมาณ และ 6. ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบ
การบริหารจัดการภาครัฐ จำนวน 645,880.9 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 17.2 ของวงเงินงบประมาณ
ทั้งนี้การบริหารงบประมาณรายจ่ายทั้งหมดนี้ จะเป็นการใช้จ่ายเพื่อดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล และกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลจะดำเนินการให้เป็นไปตามกรอบ วินัยการเงินการคลังของรัฐ ใช้จ่ายเงินภาษีของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด กระตุ้นเศรษฐกิจให้เม็ดเงินไหลไปสู่ประชาชนและภาคธุรกิจ สร้างการเจริญเติบโต ให้กับประเทศพัฒนาศักยภาพอย่างยั่งยืน และเป็นไปตามกฎหมาย
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews