Home
|
ข่าว

“ปริญญา”อัดผลเลือกสว.จัดให้มีเลือกตั้งโดยตรงจะดีกว่า

Featured Image

 

 

 

“ปริญญา” อัด ผลเลือก สว. ที่ออกมา จัดให้มีการเลือกตั้ง โดยตรงจะดีกว่า เป็นไปได้อย่างไร มีหลักฐานบ่งชี้มีการฮั้ว แต่ไม่ให้ประโยชน์ ไม่มีความผิด

 

 

ที่ศูนย์นิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับโครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) จัดเสวนาเลือก สว.จะได้ประกาศผลหรือไม่ ปัญหาฮั้ว กกต.จะสอยอย่างไร

 

ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่าผลออกมาเช่นนี้ จัดให้มีการเลือกตั้ง สว.โดยตรงจะดีกว่าหรือไม่ เพราะการเลือก สว.ในระบบนี้ ผู้ที่จะได้เป็นต้องพวกเยอะและจัดตั้งให้ได้มาก พร้อมกับตั้งคำถามถึงขั้นตอนการประกาศผล ต้องรอให้ได้ สว.ครบทั้ง 200 ถึงจะประกาศผล หรือจะประกาศเท่าที่ประกาศได้ก่อน ไม่เหมือนกับการเลือกตั้ง สส.ที่มีการกำหนดกรอบเวลาในการประกาศผลชัดเจน

 

แม้มีหลักฐานบ่งชี้ว่ามีการฮั้วแต่ไม่ให้ประโยชน์ ไม่มีความผิด ทั้งนี้ถ้าเป็นพรรคการเมือง แม่จะไม่ให้ประโยชน์ก็ถือว่าเป็นความผิด ซึ่ง กกต.มีหน้าที่ต้องไปหาหลักฐานมา ส่วนประเด็นเรื่องการประกาศผลก่อนแล้วสอยทีหลังนั้น ตามมาตรา 42 ของ กกต. กระบวนการพิจารณาประกาศผลต้องรอไว้ไม่น้อยกว่าห้าวัน ซึ่งมีแนวโน้มว่าหากได้ สว.ไม่ครบ 200 คน กกต.อาจไม่ประกาศผล ทั้งนี้หากจะขยับเวลาในการประกาศผล กกต.ต้องมีเหตุผล และมีความชัดเจนว่าจะขยับกี่วัน จึงขอเสนอให้ประกาศผลแล้วสอยเป็นราย ๆ กรณีปรากฏหลักฐานไม่เพียงพอ

 

”ไม่ว่า 200 คนจะมีที่มาอย่างไร เป็นเครือข่ายผลประโยชน์หรือไม่ หากเอาความเป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทยเป็นที่ตั้ง ปวงชนชาวไทยใหญ่กว่าคนที่สนับสนุนท่าน เชื่อว่าเราก็ยังมีความหวังที่จะมี สว.ที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของปวงชนชาวไทย ดีกว่า สว.ชุดปัจจุบัน“

 

ดร.ปุรวิชญ์ วัฒนสุข คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เห็นด้วยกับ ผศ.ดร.ปริญญากับประกาศไปก่อนแล้วสอยทีหลัง ให้ สว.ชุดปัจจุบันได้ไปพัก เพราะเท่าที่ทราบ กกต.มีหลายร้อยคำร้องตรวจสอบภายใน 5 วันคงไม่หมด การเลือก สว.ครั้งนี้ไม่ใช่แค่เครือข่ายแต่เป็นโครงข่าย คือการรวบรวมหลายเครือข่ายเข้าด้วยกันเพื่อทำการบล็อกโหวต เห็นได้จากช่วงคะแนนของผู้ที่ได้คะแนนลำดับ 1-6 ในแต่ละกลุ่ม

 

เรื่องดังกล่าวเป็นแค่น้ำจิ้ม คาดว่าสภาพการณ์ของ สว.ชุดใหม่จะคล้ายกับ สว.ตามรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540 ที่มีการจับกลุ่มกันในภายหลัง ซึ่งจะสะท้อนชัดเจนในการเลือกองค์กรอิสระที่จะครบวาระในช่วง 2-3 ปี เช่น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน กกต. ผู้ตรวจการแผ่นดิน และคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นต้น เราจะได้เห็นแบบแผนการลงมติ มีใบสั่ง มีโผ และจะได้เห็น สว.ที่ทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้าน

 

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube