เที่ยงวันนี้ เขื่อนเจ้าพระยาลดการระบายเหลือ1,350 ลบ.ม./วินาที ขณะฝนชุกเมืองเชียงใหม่ เขื่อนแม่งัดฯ ลดการระบาย บรรเทาผลกระทบประชาชน
กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำ ประจำวันที่ 12 กันยายน 2567 โดยจากอิทธิพลของพายุดีเปรสชัน “ยางิ” (YAGI) บริเวณประเทศเวียดนามตอนบน อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ กำลังแรง ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน มีพื้นที่ประสบอุทกภัยแล้ว 4 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย และตาก
จังหวัดเชียงใหม่
– เขตเทศบาลเมืองเชียงใหม่และพื้นที่เศรษฐกิจ ระดับน้ำในแม่น้ำปิงยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น แต่ยังต่ำกว่าตลิ่ง ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าระดับน้ำจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจนถึงวันพรุ่งนี้
– พื้นที่ อ.แม่อาย อ.ฝาง สถานการณ์น้ำฝางและลำน้ำสาขา ซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำกก มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะคลี่คลายเข้าสู่ภาวะปกติในเร็ววันนี้ กรมชลประทาน ได้บูรณาการร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่ให้การช่วยเหลือโดยแจกถุงยังชีพ พร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำ และเตรียมเครื่องจักรพร้อมให้ความช่วยเหลือตลอด 24 ชม.
จังหวัดเชียงราย
น้ำในแม่น้ำกก ที่จะไหลผ่านตัวเมืองเชียงราย เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ บริเวณที่มีตลิ่งต่ำ และมีน้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่เขตเศรษฐกิจบางแห่ง ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ประกาศแจ้งเตือน
ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงให้ขนย้ายสิ่งของมีค่าขึ้นที่สูง
จังหวัดแม่ฮ่องสอน น้ำล้นตลิ่งที่แม่น้ำปาย ส่งผลกระทบพื้นที่ อ.เมือง จำนวน 400 ไร่ โดยปริมาณน้ำที่ล้นตลิ่งดังกล่าวจะไหลลงสู่แม่น้ำสาละวินต่อไป
ปริมาณฝนตกสะสม 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา สูงสุด 3 ลำดับ
1. อ.ปากชม จ.เลย ปริมาณฝน 129.0 มม.
2. อ.หนองหาน จ.อุดรธานี ปริมาณฝน 113.2 มม.
3. อ.นาด้วง จ.เลย ปริมาณฝน 103.0 มม.?
จังหวัดที่ประสบอุทกภัย 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่แม่ฮ่องสอน ตาก สิงห์บุรี ชัยนาท อ่างทอง หนองคาย อุดรธานี พระแครศรีอยุธยาแครพนม และสุพรรณบุรี
สำหรับการบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา
* ปริมาณน้ำจากพื้นที่ตอนบนที่ระบายจากเขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ และแควน้อยๆไหลมารวมกันที่ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณสถานีวัดน้ำ C.2 ค่ายจิรประวัติจ.นครสวรรค์ ปัจจุบัน 1,287 ลบ.ม./วินาที
กรมชลประทาน บริหารจัดการนำเข้าระบบชลประทานฝั่งตะวันออกและ ฝั่งตะวันตก รวมรับน้ำ 229 ลบ.ม./วินาที แยกดังนี้
พื้นที่ฝั่งตะวันออก รับน้ำเข้าคลอง ประกอบด้วยคลองชัยนาท-ป่าสัก (ผ่านปตร.มโนรมย์) คลองชัยนาท-อยุธยา (ผ่าน ปตร.มหาราช) และคลองเล็กอื่นๆรวม 109 ลบ.ม./วินาที
พื้นที่ฝั่งตะวันตก รับน้ำเข้าคลอง ประกอบด้วย คลองมะขามเฒ่า-อู่ทองแม่น้ำท่าจีน (ผ่าน ปตร.พลเทพ) แม่น้ำน้อย (ผ่าน ปตร.บรมธาตุ) และคลองเล็กอื่นๆรวม 120 ลบ.ม./วินาที ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาวันนี้ 1,399 ลบ.ม./วินาที ระดับเหนือเขื่อน +14.02 ม.รทก.
นอกจากนี้ เขื่อนป่าสักฯ ระบายน้ำลงสู่แม่น้ำป่าสัก 121 ลบ.ม./วินาทีไหลผ่านเขื่อนพระรามหก 189 ลบ.ม./วินาที ก่อนไหลมาบรรจบที่แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสถานี C.29A อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา เฉลี่ย 1,308 ลบ.ม./วินาที
ขณะเดียวกัน สถานการณ์ฝนที่ตกหนักในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ส่งผลให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำปิงเพิ่มสูงขึ้น กรมชลประทาน ได้พิจารณาปรับลดการระบายน้ำจากเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล เพื่อช่วยลดปริมาณน้ำที่จะไหลลงสู่แม่น้ำปิง โดยจะคงการระบายน้ำผ่านคลองฝั่งซ้ายและคลองฝั่งขวาเหลือเพียง 4 ลบ.ม./วินาที เพื่อส่งให้พื้นที่การเกษตรในเขตชลประทานตามแผนการบริหารจัดการน้ำฤดูฝนปี 67
ปัจจุบัน (12ก.ย.67) เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล มีปริมาณน้ำกักเก็บประมาณ 217 ล้าน ลบ.ม. หรือ 82% ของความจุอ่างฯ (ความจุเก็บกัก 265 ล้าน ลบ.ม.) ยังสามารถรับน้ำได้อีกเกือบ 50 ล้าน ลบ.ม. โดยจะยังคงปรับลดการระบายน้ำจากเขื่อนแม่งัดฯ ในอัตราเดิมต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาและสถานการณ์ฝนในขณะนี้ ช่วยลดผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนให้ได้มากที่สุด
อย่างไรก็ตาม ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำปิงและพื้นที่ใกล้เคียง เฝ้าระวังระดับน้ำจากปริมาณฝนที่เพิ่มขึ้น และติดตามข่าวสาร จากหน่วยงานราชการอย่างใกล้ชิด หากระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นและจำเป็นต้องปรับเพิ่มการระบายน้ำ กรมชลประทาน จะแจ้งให้ทราบต่อไป
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews