Home
|
คลิปข่าวทั่วไป

แก้ รธน.เดินหน้า แต่ไม่ถึงไหน…เพราะใคร

การแก้ไขรัฐธรรมนูญ คือ 1 ในนโยบาย ที่หลายพรรคหาเสียงไว้ ในการเลือกตั้งปี 2566 และกลายเป็น 1 ในนโยบาย ที่เขียนไว้ และแถลงต่อรัฐสภา ของรัฐบาล ที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำ ทั้งในยุคของ”เศรษฐา ทวีสิน” และ “แพทองธาร ชินวัตร”

 

 

 

แต่นับเวลาจากเลือกตั้งปี 66 มาถึงปัจจุบัน กำลังจะสิ้นปี 2567 อีกแล้ว รวม 1 ปีครึ่ง การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่หลายพรรคการเมืองพยายามผลักดันมาตั้งแต่วสมัยเป็นฝ่ายค้าน กลับไปไม่ถึงไหนเลย พรรคประชาชน หรือ “ก้าวไกล” เดิมประกาศจะเดินหน้าเสนอร่างแก้ไข เป็นรายมาตรา ในบางประเด็น 7-8 ฉบับ ก็ไม่มีความคืบหน้า เพราะมีแค่การเสนอร่างแก้ไขเข้าสภา แต่ก็ยังไม่มีการพิจารณา

 

 

ส่วนการจะแก้ทั้งฉบับมีความพยายามผลักดันให้เกิดการทำประชามติ เพื่อจะแก้ไขให้ได้ รัฐบาลก็พยายามแล้ว ตีกรอบแบบกว้างๆไว้แล้ว แต่ก็ไร้วี่แววความคืบหน้า เพราะติดหล่มกับ ร่างพรบ.ออกเสียงประชามติ ที่สภาล่างเห็นชอบแล้ว แต่โดนสภาสูงสีน้ำเงิน ฉุดดึงเหนี่ยวรั้งเอาไว้ โดยให้กลับไปใช้ “เสียงข้างมาก 2 ชั้น” จนต้องตั้งกรรมาธิการร่วม 2 สภา เพื่อหาข้อสรุป หากจบไม่ลง สภาผู้แทนราษฏรคงต้องใช้ไม้ตาย ทิ้งร่างกฏหมายไว้อีกอีก 180 วัน แล้วค่อยผลักดันร่างเดิมประกาศใช้ต่อไป นั่นคือความคืบหน้าที่สุดของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตลอดระยะเวลา 1 ปีครึ่งที่ผ่านมา ส่วนหลังจากนี้จะเป็นอย่างไร ก็ยากจะคาดเดา

 

 

หลังจากนี้ รัฐบาล และสภา จะเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญกันอย่างไร แก้ไขรายมาตรา ที่ค้างสภาอยู่ จะเดินหน้าได้สำเร็จได้ก่อน และพรรคที่เสนอร่าง ชิงความได้เปรียบ เคลมผลงานไปก่อน เพราะการทำประชามติ ถามความเห็นคนไทยทั้งประเทศ เพื่อแก้ไขทั้งฉบับ ยังคงคลุมเครือไม่มีความชัดเจน ยังไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ เพราะยังติดขัดเรื่อง ร่างพรบ.ประชามติ เป็นด่านแรก ส่วน ด่าน 2 ยังตกลงกันไม่ได้ ว่าจะทำ 2 หรือ 3 ครั้ง รัฐบาลสมัย “เศรษฐา” มีมีข้อสรุปว่าจะทำ 3 ครั้ง

 

 

แต่ “ชูศักดิ์ ศิรินิล” มือกฏหมายเพื่อไทย และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ยังคงชูความเห็น ทำ 2 ครั้งก็พอ สอดรับกับ “พริษฐ์ วัชรสินธุ” ของพรรคประชาชน ก็ออกมายอมรับแบบตรงๆ เห็นด้วยกับเพื่อไทย มานานแล้ว ทำประชามติแค่ 2 ครั้ง แถมแซะกลับ แนวคิด ทำ 3 ครั้งมาได้อย่างไร ยังแปลกใจอยู่ และขอเดินหน้าพูดคุย 3 บุคคลหลักเพื่อผลักดันทำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ในทางกลับกัน “ไพบูลย์ นิติตะวัน” เลขาฯพลังประชารัฐ ก็เห็นต่าง

 

 

โดยมองว่า “ชูศักดิ์” จะนำความเห็นส่วนตัวของตุลาการมาเป็นข้อสรุป แล้วจะทำประชามติ 2 ครั้งไม่ได้ เชื่อว่าหากทำไป ก็จะมีปัญหาเหมือนเดิม ต้องทำประชามติ 3 ครั้งเท่านั้นถึงจะแก้ไขยกร่างใหม่ได้ แต่หากไม่ทำ ก็แก้ไขได้เพียงรายมาตราเท่านั้น ขณะที่ “นิกร จำนง” ซึ่งพยายามเสนอเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยการตั้ง สสร.มาตลอด และยึดแนวที่อดีตนายกฯ”บรรหาร ศิลปอาชา”เคยทำไว้ ก็ยังถอดใจ

 

 

แม้จะยอมถอยครึ่งก้าว มองว่าหาก กมธ.ร่วมประชามติ ตกลงกันไม่ได้ โอกาสที่จะได้ทำประชามติ ก็จะล่าช้าออกไป จนทำให้การเลือกตั้งรอบหน้า ปี 2570 ยังต้องใช้รัฐธรรมนูญฉบับเดิมอีก บทสรุปการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะเป็นแบบไหน คงต้องวัดใจ กมธ.ร่วมประชามติแล้ว จะคุยกันได้หรือไม่ คุยกันได้ อะไรๆ ก็คงง่าย และเดินหน้าเร็วขึ้น หากคุยไม่จบ ก็ตัวใครตัวมัน แก้รัฐธรรมนูญ ก็คงต้องรอต่อไป

 

 

 

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube