ประชาชนให้ความสนใจเลือกตั้งนายกอบจ.67.8% เลือกผู้สมัครสังกัดพรรคการเมือง 42.8% รับไม่ได้มี ทุจริตคอร์รัปชั่น
นายวิเชียร พงศธร ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน(ประเทศไทย) และประธานกรรมการมูลนิธิ “เพื่อคนไทย” , รศ.ดร.ธนวรรน์ พลวิชัย อธิบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์พเศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย , รศ.ดร.เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ ที่ปรึกษาประจำสภามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาองค์กรต่อต้านคอรร์รัปชัน(ประเทศไทย) ร่วมกันแถลงผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนถต่อการเลือกนายกอบจ.
โดยผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน จำนวน 2,017 ตัวอย่างทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 1-11 ต.ค.2567 ภาคเหนือ 397 ตัวอย่าง ภาคตะออกเฉียงเหนือ 726 ตัวอย่าง ภาคกลาง 228 ตัวอย่าง ภาคตะวันออก 177 ตัวอย่าง ภาคใต้ 306 ตัวอย่าง ปริมณฑล 183 ตัวอย่าง
ส่วนผลสำรวจที่ประชาชนให้ความสำคัญกับการเลือกตั้งนายกอบจ. คิดเป็น 67.8% ให้ความสนใจปานกลาง 31.9% ให้ความสนใจมาก 0.3% ให้ความสนใจน้อย ซึ่งเลือกจากผู้สมัครที่มีสังกัดหรือไม่สังกัดพรรคการเมืองระดับประเทศหรือกลุ่มการเมืองเดียวกันหรือไม่นั้น 42.8% เลือกจากสังกัดพรรคการเมือง เพราะความชัดเจนของนโยบายทำได้จริง , ความน่าเชื่อถือ , ชื่นชอบในตัวบุคคล และ 57.2% เลือกแบบไม่สังกัดพรรคการเมือง เพราะ ทำงานเป็นอิสระ , คนท้องถิ่นไม่เลือกพรรคการเมือง , เข้าถึงง่าย เข้าใจประชาชน
โดยได้มีการถามความคิดเห็นจากประชาชนว่า หากอบจ.มีการทุจริตคอร์รัปชัน แต่มีผลงานและทำประโยชน์ให้พื้นที่ของตน เป็นเรื่องที่รับได้หรือไม่ ประชาชนชนส่วนใหญ่ 40.4% เห็นด้วย 32% ไม่แน่ใจ 27.6% ไม่เห็นด้วย ซึ่งถ้าผู้สมัครมีความคุ้นเคยกับคนในท้องถิ่น ส่วนใหญ่แล้วเป็นสาเหตุให้ประชาชนชนตัดสินใจเลือก 55.3%
หากการเลือกตั้งมีการซื้อเสียงผลสำรวจคาดว่ามีการซื้อเสียงในราคา 900/คน และสามารถจูงใจให้ประชาชนเลือกผู้สมัครที่ซื้อเสียง 58.7% ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ ยอมรับได้ถ้าหากมีการซื้อเสียงในการเลือกตั้งนายกอบจ. มองว่าเป็นเรื่องปกติในการเลือกตั้ง เป็นสินน้ำใจค่าเดินทาง แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้เลือกคนที่จ่ายเงินให้มองว่าต้อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน
ทั้งนี้สรุปผลการสำรวจปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประชาชนในการเลือกนายก.อบจ และสมาชิกอบจ. อาทิเช่น ผู้สมัครเป็นทายาทของนักการเมืองหรือตระกูลการเมืองในพื้นที่ , นโยบายการพัฒนาพื้นที่ , ความน่าสนใจตัวผู้สมัคร , ความสามารถ , ประวัติการทำงาน , ซื่อสัตย์สุจริตไม่โกงกิน เป็นต้น
รศ.ดร.ธนวรรน์ กล่าวว่า การสำรวจครั้งนี้ตนคิดว่าเป็นประเด็นสำคัญที่ได้ฉายถึงการเมืองที่ต้องมาพัฒนาร่วมกัน และเห็นได้ชัดว่าประชาชนรับรู้ว่ามีการคอร์รัปชั่น ซึ่งสุดท้ายแล้วประชาชนก็เลือกคนที่มาจากทายาทนักการเมือง แทนที่จะเลือกคนที่มีความซื่อสัตย์สุจริต ตนมองว่าต้องมีการปลูกฝังการเมืองระดับท้องถิ่น
ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับการเมืองระดับประเทศเราจะเห็นถึงโครงสร้างการเปลี่ยนแปลงที่คนต้องการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเราสามารถสังเกตุได้จากการเลือกตั้งพรรคการเมืองครั้งที่ผ่านมา นั้นคือพรรคก้าวไกลและพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งมีการชูให้เห็นในเรื่องของความโปร่งใส จึงทำให้ได้คะแนนสูง แต่การเมืองท้องถิ่นถ้าถามว่าซื้อเสียงได้หรือไม่ ซื้อได้ แต่ถ้าถามว่าจะเลือกหรือไม่ ตอบไม่
ด้านดร.มานะ กล่าวว่า สุดท้ายแล้วประชาชนเห็นทุกอย่าง แต่สำนักงานกกต.และสำนักงานป.ป.ช. กลับไม่เห็น ถ้าเราไปสืบค้นดูเราจะเห็นว่าคนที่เป็นนายกอบจ. หรือผู้บริหารอบจ.ถูกฟ้องร้องคดีร่ำรวยผิดปกติ มีอยู่เพียงแค่ 2 ราย ที่โดนตัดสินแล้ว และอยู่ในระหว่างพิจารณาคดีอีก 2 ราย ตนมองว่า 10-20 ปีที่ผ่านมา มีเพียงเท่านี้จริงๆหรือ ซึ่งถ้าเราไปดูบัญชีทรัพย์สินของบุคคลเหล่านี้ มีทรัพย์สินถึงร้อยล้าน บางคนถึงพันล้าน ตนตั้งข้อสงสัยว่าเราจะพิสูจน์เรื่องแบบนี้ได้อย่างไร
การโกงของนายกอบจ.หรือผู้บริหารอบจ.มีคดีน้อยมาก ที่เราสืบค้นได้ตอนนี้มีเพียงแค่ 10 กว่าคดี ตนมองว่าเป็นไปไม่ได้เลยที่มีเท่านี้ เพราะฉะนั้นจากผลโพลกับข้อเท็จจริงที่ปรากฎขึ้นมา เป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องคอยดูกันต่อไปและเชิญชวนประชาชนมาช่วยกันเปิดโปงเพื่อความสุขและความก้าวหน้าของพื้นท้องถิ่นต่อไป
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews