กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ หนุน30เครือข่ายภาคอีสานร่วมสร้างนิเวศสื่อที่ดี ยกนครพนมเป็นฐานขับเคลื่อนเข้มแข็ง พร้อมผุดไอเดีย “รสโขงวัฒนธรรมกินได้”
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดเวที สัมมนา 4 ภาค ขับเคลื่อนเครือข่ายสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สู่ชุมชน สร้างสังคมเข้มแข็ง ปีที่ 2 ครั้งที่ 3 โดยมีผู้แทนสื่อมวลชนและภาคประชาสังคมตัวแทนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเข้าร่วมสัมมาและร่วมกิจกรรมอย่างพร้อมเพรียง
นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ ประธานอนุกรรมการเกี่ยวกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กล่าวเปิดงานว่า เวทีสัมมนา 4 ภาคฯ เป็นการสร้างเครือข่ายในภูมิภาคต่าง ๆ เพราะระยะเวลาเกือบ 10 ปีของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ มีองค์ความรู้และข้อมูลมากมาย
ถ้าเครือข่ายในภูมิภาคต่าง ๆ นำองค์ความรู้ของกองทุนฯ ไปผลิตเป็นสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ ก็จะช่วยกันสร้างนิเวศสื่อที่ดี ช่วยให้ประชาชนรู้เท่าทันสื่อ โดยกลุ่มเป้าหมายมี 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสื่อมวลชน กลุ่มคนผลิตสื่อในรูปแบบต่าง ๆ และกลุ่มที่ใช้สื่อขับเคลื่อนสังคม
ขณะที่ นายวีระพงษ์ กังวานนวกุล ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการมีส่วนร่วมและสร้างเครือข่ายกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า บทบาทของกองทุนฯ คือลมใต้ปีก ที่สนับสนุนเครือข่ายให้ผลิตสื่อ และใช้สื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนสังคม มีภารกิจหลักคือสร้างการมีส่วนร่วม ส่งเสริมและเฝ้าระวังสื่อ
รวมถึงยกระดับงานวิจัย มีงบประมาณเพียงปีละ 300 ล้านบาท จึงคาดหวังเห็นการยกระดับความร่วมมือของเครือข่าย โดยหยิบใช้ข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ มาสร้างความรู้ให้คนในชุมชนและสร้างข้อมูลข่าวสารที่ดีให้กับชุมชน
ด้น น.ส.จิตติ วิสัยพรม เจ้าหน้าที่บริหารโครงการ ฝ่ายส่งเสริมการมีส่วนร่วมและสร้างเครือข่าย กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า องค์ประกอบของการยื่นข้อเสนอ มีดังนี้ ชื่อโครงการต้องน่าสนใจผู้รับผิดชอบคือใคร หลักการคืออะไร
เหตุผลในการนำเสนอ วัตถุประสงค์และเป้าหมาย ต้องชัดเจนว่าเพื่ออะไร มีความเป็นไปได้อย่างไร ระยะเวลาในการทำงานคือ 1 ปี วิธีการดำเนินการ แผนการปฏิบัติงาน งบประมาณ รวมถึงผลกระทบหรือประโยชน์ที่จะได้รับ โดยต้องสอดคล้องกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ ที่สำคัญสามารถวัดผลได้ โดยเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ https://www.thaimediafund.or.th/
ด้านนาย ธีรยุทธ์ วีระคำ ผู้กำกับสารคดีอิสระ กล่าวว่า การทำ “พนมนครรามา”ให้เป็น Micro cinema หรือพื้นที่ฉายหนังอิสระที่นำไปสู่บทสนทนา โดยจัดฉายภาพยนตร์ทางเลือกและจัดวงเสวนาพูดคุยในประเด็นต่าง ๆ เช่น เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องครอบครัว พบว่าเป็นการเปิดพื้นที่ของเมืองมากกว่า ซึ่งเมืองต้องการพื้นที่แบบนี้
ภาพยนตร์เป็นเพียงเครื่องมือดึงคนมารวมกัน สร้างแรงบันดาลใจและเกิดการตั้งคำถามกับสังคม นำไปสู่บทสนทนาเพื่อแก้ปัญหานั้น โดยในวงสนทนาของพนมนครรามา ทุกคนเท่ากันหมด ไม่ว่าจะเรียนอยู่ ม.6 หรืออายุ 60 ปี ก็มีสิทธิ์แสดงความคิดเห็น มีเสียงเท่ากัน มีเวลาเท่ากัน
ขณะที่ น.ส.อ้อมบุญ ทิพย์สุนา ประธานสมาคมเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน กล่าวว่า สมาคมทำงานวิจัยร่วมกับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของลุ่มน้ำโขง มาร่วม 15 ปี พยายามย่อยข้อมูลวิชาการให้เป็นเรื่องง่าย เพื่อให้ชาวบ้านนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์และสื่อสารกับคนทั่วไป
และสมาคมทำหน้าที่เป็นแหล่งข่าวในการกระจายข่าวสารที่ถูกต้อง ไม่บิดเบือนไปยังสื่อกระแสหลัก ครอบคลุม 7 จังหวัด แต่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เราเกาะติด เลยและหนองคายเป็นพิเศษ อีก 5 จังหวัด ได้แก่ บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานีไม่ว่าจะเป็นกรณีภัยพิบัติเรื่องน้ำท่วม และวิถีชีวิตของคนริมโขง โดยคาดหวังให้คนรุ่นใหม่ในพื้นที่มาร่วมผลิตสื่อ
สำหรับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ มีการระดมความคิดและนำเสนอแผนงานภายใต้โครงสร้าง “Problem-based Design” โดยตัวแทนจากภาคีเครือข่ายจากภาคอีสาน นำเสนอเรื่อง รสโขงวัฒนธรรมกินได้ อาหารจากชุมชนลุ่มน้ำโขงทั้ง 7 จังหวัด ในรูปแบบของแผนที่อาหารแม่น้ำโขง เชฟชุมชน คลิปวิดีโอสูตรอาหารแม่น้ำโขง มหกรรมอาหารจากแม่น้ำโขง เชื่อมโยงกับสร้างจิตสำนึกอนุรักษ์แม่น้ำโขง
นอกจากนั้นก็ยังมีโครงการ “NOPOD หัวใจไร้ควัน” รณรงค์และสร้างการตระหนักรู้โทษและผลกระทบของ Pod หรือบุหรี่ไฟฟ้าขนาดเล็กที่กำลังนิยมในหมู่วัยรุ่น โครงการ “Online On ใจ วัยใสเข้าถึงสื่ออย่างปลอดภัย” และโครงการ “มหัศจรรย์หมาน้อย”การนำหมาน้อย สมุนไพรพื้นบ้านของสกลนครมาพัฒนาเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัวผู้พิการออทิสติก ด้วย
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews