มหาดไทย ลงพื้นที่บุรีรัมย์รับฟังความเดือดร้อนชาวบ้าน ปมพิพาทเขากระโดง “ทรงศักดิ์ ชี้เสียงสะท้อนการรถไฟ ก้าวล่วงสิทธิ์ปชช -แบงค์ไม่รับจำนอง ขณะ สส.บุรีรัมย์ ภท. ชี้เป็นเกมการเมือง หวังตี “เนวิน”
นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการมหาดไทย พร้อมด้วย นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดิน นายสนอง เทพอักษรณรงค์ สส.บุรีรัมย์ พรรคภูมิใจไทย นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณี “เขากระโดง” จังหวัดบุรีรัมย์
โดยมีประชาชนที่ได้รับผลกระทบกว่า 400 คน และหน่วยงานรัฐ12 แห่ง อาทิ ศาลากลางจังหวัดบุรีรัมย์ , อบจ.บุรีรัมย์ สถานีตำรวจ, สำนักงานขนส่ง, โรงเรียน และกองร้อยอาสารักษาดินแดนจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นต้น
นายทรงศักดิ์ กล่าวว่า วันนี้พยายามนำข้อเท็จจริงมาสะท้อนปัญหาให้เห็นถึงข้อพิพาท เรื่องที่ดินเขากระโดง? ซึ่งเป็นประเด็นไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เมื่อก่อนไม่ค่อยมีคนให้ความสนใจ ที่ต้องพูดอย่างนี้ เพราะตนเป็นคนบุรีรัมย์เหมือนกันเป็นคนบุรีรัมย์เกิดมาก็เห็นเขากระโดง เห็นประชาชนอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว เห็นถนนมาจากประโคนชัยมายังบุรีรัมย์ไปมาหาสู่กัน
ซึ่งเป็นคนในจังหวัดเดียวกัน และเป็นประเด็นผิดพลาดมาจะเป็นเรื่อง มีคนเข้าใจกันคลาดเคลื่อนมากมายไม่ว่าจะเป็นเรื่องของที่ดิน ของการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือไม่ และมีข่าวที่ออกไป จนเป็นประเด็นปัญหาทำให้เกิดความเสียหายต่อประชาชน
ด้านนายเจนกิจ เชฏฐวาณิชย์ รองอธิบดีกรมที่ดิน ชี้แจงประชาชนกว่า 400 คน ที่ได้รับผลกระทบ ว่า เหตุผลที่กรมที่ดินมาวันนี้ เพราะยังมีข้อเท็จจริงที่ยังไม่ตรงกับความเป็นจริงในพื้นที่ จึงมีนโยบายนำเรื่องนี้มาชี้แจงกับประชาชนให้ทราบ
ซึ่งภารกิจของกรมที่ดิน คือการออกเอกสารสิทธิ์ให้กับประชาชน ในพื้นที่เขากระโดง มี 2 ตำบล คือ เสม็ด และอิสาน ซึ่งออกไปแล้ว 995 แปลง ยืนยันว่าเราไม่ได้ดำเนินการเพียงหน่วยงานเดียว มีหน่วยงานอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่นท้องที่ กำนันผู้ใหญ่บ้าน นายอำเภอ รวมถึงส.ป.ก. และในเขากระโดง ก็มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งเข้ามาเป็นคู่ความ กับกรมที่ดินในปัจจุบัน
รองอธิบดีกรมที่ดิน ย้ำว่า เราตรวจสอบแล้วพบว่ามีการระวางชี้แนวเขต ที่การรถไฟได้รับรับรองว่า ไม่ใช่ที่ดินของการรถไฟ ซึ่งตรวจสอบจากข้อมูลในสารระบบ 2 ตำบล 271 แปลง ซึ่งเป็นข้อเท็จจริง ที่ยังไม่เคยปรากฏในข่าว ยืนยันว่ากระบวนการ เราตรวจสอบแล้วครบถ้วนตามกฏหมายที่ดิน
จนปี 2539 มีข้อพิพาทระหว่างประชาชนกับการรถไฟ จึงเป็นที่มาของการจัดทำแผนที่ปี 2539 ที่แก้ไขปัญหาสมัชชาคนจน จึงนำแผนที่ฉบับนี้ไปใช้ต่อสู้ในคดีของประชาชน จึงเป็นที่มาของคำพิพากษาทั้ง 3 คดี
ขณะเดียวกัน กรณีที่การรถไฟกล่าวอ้างไม่มีความชัดเจนเพียงพอที่จะเอามาใช้ในการเพิกถอนโฉนดที่ดินของประชาชนได้ เพราะฉะนั้นในส่วนนี้คณะกรรมการตามมาตรา 61 เสนอให้ยุติการดำเนินการในส่วนนี้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนตามที่ประชาชนได้ต่อสู้
ส่วนปัจจุบันการดำเนินการการรถไฟก็อยู่ระหว่างการอุทธรณ์คำสั่งของอธิบดีกรมที่ดิน ซึ่งก็ต้องว่ากันไปตามกระบวนการ เพราะฉะนั้นขณะนี้กรมที่ดินก็อยู่ระหว่างการรอผลพิจารณาการอุทธรณ์ ซึ่งการดำเนินการที่ผ่านมาและจะดำเนินต่อไปคงจะต้องอาศัยพยานหลักฐานที่ชัดเจนและเพียงพอ จึงจะสามารถดำเนินการ ในส่วนของกลุ่มที่ดินได้
ด้านนายสนอง เทพอักษรณรงค์ สส.บุรีรัมย์ พรรคภูมิใจไทย กล่าวถึงกรณีข้อพิพาทเขากระโดง ว่า ส่วนตัวตนเชื่อว่าไม่มีพี่น้องชาวบุรีรัมย์คนใดคิดจะโกงที่ดินของราชการ เพราะตนเป็นจังหวัดบุรีรัมย์เห็นความเจริญของพื้นที่มาโดยตลอด และตนมีโอกาสได้เข้าร่วมประชุมที่บ้านศิลาทอง
โดยให้พี่น้องที่ถือครองที่ดิน นำโฉนดที่ตนถือครองมาแสดง ซึ่งทำให้เห็นว่าโฉนดที่ดินที่พี่น้องถือครองอยู่นั้นเป็นเอกสิทธิ์ตามกฎหมาย ที่ออกโดยกรมที่ดิน และโฉนดของพี่น้องบางคน ถือครองมาตั้งแต่ในสมัย ปู่ ย่า ตา ยาย
นายสนอง กล่าวต่อว่า เรื่องที่ดินเขากระโดง สำคัญคือเรื่องการเมือง ทุกครั้งที่มีการเลือกตั้ง สมัยก่อนมีก็มักจะมีนักการเมือง นำเรื่องเขากระโดงมาหาเรื่อง และมาโจมตีผู้ที่ครอบครองที่ดินโดยเฉพาะ นายเนวิน ชิดชอบ และเมื่อการเลือกตั้งเสร็จทุกอย่างก็เงียบ
และขอยืนยันด้วยความบริสุทธิ์ว่าประชาชนที่อยู่อาศัยได้รับโฉนดได้รับเอกสารสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย ส่วนพอดี 35 แปลงที่ศาลมีคำสั่ง กรมที่ดินก็ทำตามคำสั่งของศาลไปแล้ว แต่อีก 7,000 แปลงที่เกิดขึ้นมาใหม่ ไปเกี่ยวข้องอะไรด้วย
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews