Home
|
ทั่วไป

ไทยป่วยโควิดพุ่งอีก2,048สะสม57,508ตายเพิ่ม8

Featured Image
ศบค. พบป่วยโควิดใหม่ 2,048 ราย รวมสะสม 57,508 คน ตายเพิ่ม 8 ผู้ป่วยอาการหนัก 563 ยังรักษาอยู่ 25,767 ขณะฉีดวัคซีนแล้ว 1,149,666 คน

แพทย์หญิงอภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. เปิดเผยตัวเลขสถานการณ์ประจำวันจันทร์ที่ 26 เมษายน 2564 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 106 ของโลก
พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 2,048 ราย พบผู้ป่วยยืนยันสะสม 57,508 ราย รักษาอยู่ 25,767 ราย แบ่งเป็นรักษาในโรงพยาบาล 1,455 ราย รักษาหายกลับบ้านแล้ว 29,848 ราย เป็น ผู้ป่วยอาการหนัก
563 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 150 ราย เสียชีวิตใหม่ 8 ราย รวมเสียชีวิต 148 คน

โดยผู้เสียชีวิตรายใหม่

– รายที่ 141 เป็นผู้ป่วยชายไทย อายุ 61 ปี อยู่จังหวัดปทุมธานี มีโรคประจำตัว คือ เบาหวานความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือด ประวัติเมื่อวันที่ 17 เม.ย.64 มีอาการไข้ ไอเหนื่อย แน่นหน้าอก วันที่ 23 เม.ย.64 พบเชื้อ และวันที่ 24 เม.ย.เสียชีวิต พบปัจจัยเสี่ยงพักอาศัยในพื้นที่เสี่ยง ปัจจัยเสี่ยงการเสียชีวิตคือสูงอายุและมีโรคประจำตัว

-ผู้เสียชีวิตรายที่ 142 เป็นผู้ป่วยชายไทยอายุ 45 ปี ที่อยู่กรุงเทพมหานคร พบปฏิเสธไม่มีโรคประจำตัว ประวัติเมื่อวันที่ 17 เม.ย.64 มีอาการไข้ ไอ หายใจลำบาก วันที่ 19 เม.ย.64 พบเชื้อ วันที่24 เม.ย.64 เสียชีวิต ปัจจัยเสี่ยงต่อการป่วยคือ เดินทางไปสถานที่เสี่ยง ปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิต คือ ภาวะไตวายเฉียบพลัน

-ผู้เสียชีวิตรายที่ 143 เป็นผู้ป่วยชายไทยอายุ 24 ปีที่อยู่จังหวัดอุดรธานีโรคประจำตัวเนื้องอกหลอดน้ำเหลือง ประวัติวันที่ 22 เม.ย. มีอาการไข้ ถ่ายเหลวและอาเจียน วันที่ 24 เม.ย.64 พบเชื้อและเสียชีวิตในวันเดียวกัน ปัจจัยเสี่ยงต่อการป่วยมีการร่วมงานเลี้ยงปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตคือมีโรคประจำตัว

-ผู้เสียชีวิตรายที่ 144 เป็นผู้ป่วยชายไทยอายุ 92 ปี อยู่จังหวัดชัยภูมิ มีโรคประจำตัว คือ หัวใจขาดเลือด ประวัติ 19 เม.ย.64 มีไข้ เจ็บหน้าอก วันที่ 20 เม.ย.64 พบเชื้อ 24 เม.ย.64 เสียชีวิต
ปัจจัยเสี่ยงต่อการป่วยคือญาติมาเยี่ยมจากต่างจังหวัดและปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตคือ สูงอายุและมีโรคประจำตัว

-ผู้เสียชีวิตรายที่ 145 เป็นผู้ป่วยชายไทยอายุ 63 ปีอยู่จังหวัดยะลาโรคประจำตัวคือไตวายเรื้อรังประวัติ 17 มีอาการเหนื่อย ไอและนอนไม่หลับ เมื่อวันที่ 20 เม.ย.64 พบเชื้อ วันที่ 25 เม.ย.64 เสียชีวิต ปัจจัยเสี่ยงต่อการป่วย คือญาติมาเยี่ยมจากต่างจังหวัด และปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิต คือสูงอายุและมีโรคประจำตัว

-ผู้เสียชีวิตรายที่ 146 เป็นผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 52 ปี อยู่กรุงเทพมหานคร มีโรคประจำตัว คือ ความดันโลหิตสูง ไทรอยด์เป็นพิษและโรคอ้วน ประวัติ 17 เม.ย.64 มีไข้ ไอ เจ็บคอ และเหนื่อย วันที่ 23 เม.ย. 64 พบเชื้อ วันที่ 24 เม.ย. 64 เสียชีวิต ปัจจัยเสี่ยงต่อการป่วย คือ พักอาศัยในพื้นที่เสี่ยง ปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตคือมีโรคประจำตัว

-ผู้เสียชีวิตรายที่ 147 เป็นผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 57 ปี อยู่ที่กรุงเทพมหานคร มีโรคประจำตัว คือ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ประวัติ 16 เม.ย.64 มีอาการไอปวดหลังวันที่ 20 เม.ย.64 พบเชื้อ วันที่ 24 เม.ย.64 เสียชีวิต ปัจจัยเสี่ยงต่อการป่วย คือ เดินทางไปสถานที่เสี่ยง และปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตอยู่ในขั้นตอนการสอบสวนโรค

-ผู้เสียชีวิตรายที่ 148 เป็นผู้ป่วยชายไทยอายุ 60 ปี อยู่ที่กรุงเทพมหานคร มีโรคประจำตัว คือ ความดันโลหิตสูง ประวัติเมื่อวันที่ 17 เม.ย.64 มีอาการไข้ ไอ เหนื่อย วันที่ 22 เม.ย.64 พบเชื้อ วันที่ 24 เม.ย.64 เสียชีวิต ปัจจัยเสี่ยงต่อการป่วยอยู่ในขั้นตอนการสอบสวนโรค และปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิต คือ สูงอายุและมีโรคประจำตัว

ซึ่งผู้ติดเชื้อรายใหม่แบ่งเป็นผู้ติดเชื้อในประเทศ 2,038 ราย เป็นผู้ติดเชื้อที่เดินทางมาจากต่างประเทศเข้า State Quarantine 10 ราย เป็นการค้นหาเชิงรุก/โรงงาน 41 ราย และเข้าระบบเฝ้าระวังและระบบบริการฯ 1,991 ราย

ทั้งนี้ยอดการฉีดวัคซีนในประเทศไทยสะสม 1,149,666 คน

ศบค. แจง 29 เม.ย.ทบทวนมาตรการพื้นที่ควบคุม รอข้อมูล สธ. ไม่มีใครสบายใจผู้ติดเชื้อเพิ่ม รับผู้ป่วยรายใหม่ก็ไม่สามารถทำได้ทันที

แพทย์หญิงอภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 หรือ ศบค. เผยว่า ขณะนี้กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดน หรือ ตชด. มีการเปิดโรงพยาบาลสนามเพิ่มอีก 14 แห่ง ซึ่งขณะนี้ดำเนินการไปแล้วกว่าร้อยละ 90 นอกจากนี้ มีการใช้ State Quarantine ปรับมาเป็นโรงพยาบาลสนามด้วย

ส่วนกรณีความเป็นไปได้ที่จะระงับการเดินทางเข้าประเทศของชาวต่างชาติ แพทย์หญิงอภิสมัย ระบุว่า ระบบการอนุญาตเข้าประเทศเดิมที่ยังคงอยู่ คือการออกใบอนุญาตจากกระทรวงการต่างประเทศ และเมื่อเข้ามาก็จะได้รับการดูแลอยู่ใน State Quarantine ซึ่ง ศบค.มีการทบทวนและพยายามที่จะไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงในการนำคนไทยเข้าประเทศ เนื่องจากเป็นสิทธิที่จะสามารถเดินทางกลับประเทศได้ แต่จะต้องได้รับการดูแลไม่ให้เกิดการแพร่เชื้อออกมาจากระบบ State Quarantine

ทั้งนี้แพทย์หญิงอภิสมัย ระบุว่า ไม่มีใครสบายใจ และยอมรับว่าการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด – 19 เกิดขึ้นกับตัวเราและคนรอบข้างและพยายามที่จะช่วยกันหาเตียง แต่การให้ผู้ป่วยกลับบ้านมีกระบวนการจำนวนมาก การรับผู้ป่วยรายใหม่ก็ไม่สามารถทำได้ทันที แต่จะต้องมีการเตรียมพื้นที่รับผู้ป่วยใหม่ จึงทำให้เกิดการรอเตียง และเกิดการตั้งคำถามว่า การอยู่บ้านรอเตียงโดยไม่ต้องเข้ามาสู่การระบบรักษาเลยได้หรือไม่ แต่ความไม่สบายใจในแง่ของบางเคสที่จำเป็นต้องรอเตียงและพบว่าอาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีการทบทวนแล้ว ว่า การกักตัวอยู่ที่บ้านยังถือว่าเป็นอันตรายอยู่สำหรับผู้ติดเชื้อ

ทั้งนี้ แพทย์หญิงอภิสมัย ระบุว่า วันพฤหัสบดีที่ 29 เม.ย.นี้ จะมีการทบทวนมาตรการเรื่องพื้นที่การติดเชื้อ ควรจะล็อกดาวน์หรือไม่หรือจะต้องขอมาตรการเพิ่มอย่างไร ทางกรมควบคุมโรคจะมีการหารือร่วมกับศปก.ศบค. โดยใน 1 ถึง 2 วันนี้จะเห็นถึงมาตรการการปรับความเข้มขึ้นมากในบางพื้นที่หรือในบางจุด บางกิจกรรม

ทั้งนี้ แพทย์หญิงอภิสมัย ระบุว่า การเดินทางกลับมาจากกลุ่มประเทศเสี่ยงยังต้องกักตัว 14 วัน หรือกักตัวเพิ่มเป็น 21 วัน ว่า ในที่ประชุมมีการทบทวนมาตราการ เนื่องจากหลายครั้งการเดินทางเข้ามามาจากต่างประเทศมักเจอเชื้อหลัง 10 วัน หรือรักษาอาการหาย 14 วันแล้วแต่ยังมีการพบเชื้อในวันที่ 21 จึงเป็นสิ่งที่กรมควบคุมโรคกำลังพิจารณาอย่างรอบคอบ และยังต้องติดตามการรายงานอย่างใกล้ชิดรวมถึงผู้ป่วยที่รักษาหายแล้วยังคงต้องแยกกักตัวที่บ้านอีก 14 วัน เพื่อความปลอดภัย

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube