Home
|
ไลฟ์สไตล์

Cloud Kitchens ร้านอาหารที่ไม่มีหน้าร้าน

Featured Image

          Cloud Kitchens หรือชื่อเรียกอื่นๆที่อาจจะเคยได้ยินเช่น Ghost Kitchens,Dark Kitchens ซึ่งเป็นเทรนธุรกิจอาหารที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจและขยายตัวมากขึ้น สาเหตุหนึ่งมากจากการระบาดของโควิด 19 ที่ส่งผลร้านอาหารหลายร้านต้องปรับตัว แล้ว Cloud Kitchensคืออะไร มารู้จักไปพร้อมๆกัน

          คำว่า Cloud หรือคลาวด์หลายคนอาจรู้จักกับเคยใช้งานในรูปแบบการฝากข้อมูล อัพโหลดข้อมูล หรือการดูหนัง ฟังเพลงผ่านระบบคลาวด์ แต่รู้หรือไม่ว่าร้านอาหารก็มีเช่นกัน แล้วบางทีคุณอาจจะใช้งานไปแล้วโดยไม่รู้ตัว

          Cloud Kitchensสรุปให้ง่ายและเห็นภาพที่สุดก็คือ ครัวกลางที่จุดประสงค์หลักทำเพื่อส่งเดลิเวอรี่ และครัวกลางนี้จะถูกจัดการโดยร้านอาหาร เป็นร้านอาหารที่ไม่มีหน้าร้าน ไม่ได้เปิดให้คนไปนั่ง อาจจะทำอยู่ที่ไหนสักแห่งไม่บอกชัดเจนเลยถูกเรียกอีกชื่อว่า Ghost Kitchensโดยรายงานจาก Goldstein Research เผยตัวเลขว่า Cloud Kitchensทั่วโลกนั้นมีมูลค่าร่วมกันกว่า 700 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีแนวโน้มจะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ

          หากมองในอีกมุม  Cloud Kitchensก็อาจจะไม่ใช่เรื่องใหม่เท่าไรนัก หากเทียบกับร้าน พิซซ่าหรือร้านอาหารจีนที่ส่วนใหญ่ไม่มีหน้าร้านเป็นบริการส่งถึงที่มากกว่า แต่จุดเด่นที่ร้านอาหารคลาว์นี้ทำได้คือเทคโนโลยีและระบบการจัดการงานที่ซับซ้อนกว่าร้านอาหารเดลิเวอรี่ทั่วไปอย่างมาก

          จุดเริ่มแรกของ Cloud Kitchensนั้นมาจากเรื่องปัญหาพื้นที่ อย่างเช่นเมืองนิวยอร์ก ร้านหรือตึกที่ติดถนนนั้นแพงมาก หลายร้านอาหารไม่สามารถสู้ราคาได้ แล้วจะทำยังไงต่อ จะไปตั้งนอกเมืองก็คงไม่มีคนสั่ง ร้านอาหารเลยหาโกดังหรือตึกที่อยู่ในเมืองแต่ไม่ได้ติดถนนใหญ่และบริการส่งเดลิเวอรี่แทน ประหยัด ไม่ไกลลูกค้า ไม่ต้องยุ่งยากเรื่องหน้าร้าน ไม่ต้องล้างจาน หลังจากนั้นด้วยเทคโนโลยีที่โตขึ้นอย่างรวดเร็ว การแข่งขันที่สูง ประกอบกับโควิด 19 ทำให้ Cloud Kitchens นั้นก็ได้พัฒนาอย่างก้าวกระโดดเช่นกัน 

          ตัวอย่างที่เปลี่ยนไปและเป็นเหมือนCloud Kitchens Business Models ในยุคนี้ มีข้อดีและจุดสังเกตได้ดังนี้ 

          1.รวมอาหารไว้ที่เดียวกัน

          อยากให้ทุกคนนึกภาพโกดังขนาดใหญ่ มีเครื่องไม้เครื่องมือทำอาหาร อาจจะมีสักสี่ถึงห้าแถว ที่ทำอาหารแต่ละชนิดกัน นั้นละคือระบบการทำงานที่นิยมใช้กัน ด้วยการที่ไม่ต้องมีหน้าร้าน ไม่ต้องบริการลูกค้าที่มานั่งทาน มีแต่การจัดการอาหาร ออเดอร์ ทำให้คลาว์คิทเช่นนั้นมักมีร้านอาหารรวมกันอยู่หลายร้าน เช่น มีร้านไก่ทอด ร้านส้มตำ ร้านอาหารตามสั่ง อารมณ์เหมือนฟู้ดคอร์ทขนาดใหญ่ อาจจะเป็นเจ้าของเดียวกันหรือเป็นการร่วมมือกันก็ได้

          2.ต้นทุนต่ำ

          หนึ่งในความท้าทายของธุรกิจคือการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นค่าสถานที่ ค่าอุปกรณ์ ค่าตกแต่งร้าน ค่าโปรโมท ค่าพนักงาน อีกทั้งยังมีเรื่องกฏหมายแรงงานที่เข้มงวดเรื่องการทำงานขึ้นเรื่อยๆ Cloud Kitchens นั้นสามารถแก้ปัญหาในจุดนี้ได้อย่างดี ตั้งแต่การใช้ทีมที่น้อยลง ค่าสถานที่ถูกเพราะไม่ต้องหาทำเลดีมากนัก ไม่ต้องมีค่าตกแต่งร้าน ไม่ต้องมีส่วนบริการหน้าร้าน และต่อเนื่องจากข้อก่อนหน้านี้ เมื่อมีหลายครัว หลายร้านอาหาร ก็สามารถสั่งวัตถุดิบมาใช้ด้วยกันได้ทำให้ลดต้นทุนได้มาก ลดโอกาสการเหลือของอาหารที่ทำให้ต้นทุนจม และเมื่อเงินทุนต่ำก็สามารถนำเงินส่วนต่างนี้ไปพัฒนาส่วนอื่นได้มากกว่าร้านอาหารแบบทั่วๆไป

          3.ประสิทธิภาพดีขึ้น

          ประสิทธิภาพดีขึ้นที่ว่านี้ เมื่อเทียบร้านอาหารทั่วๆไป Cloud Kitchensนั้นถูกสร้างขึ้นจากวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน มีระบบที่มุ่งเน้นไปที่กระบวนการผลิต การทำงานครัว ทำให้มองเห็นขั้นตอนและปัญหาได้ง่ายกว่า ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมวัตถุดิบ ลำดับการทำงาน ความเร็วในการจัดการอาหาร ความเร็วในการส่งเดลิเวอรี่ 

          4.มีข้อมูลในมือช่วยให้ปรับตัวได้ตลอดเวลา

          Cloud Kitchensนอกจากระบบการจัดการหลังบ้านแล้วในข้อก่อนหน้า การรับออเดอร์หรือคำสั่งซื้อนั้นก็มาจากแอปหรือระบบเว็บแทบจะร้อยเปอร์เซ็น สิ่งนี้ทำให้มี ข้อมูลหรือ Data ในมือ ทำให้สามารถเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว หลายบริษัทที่ทำคลาวด์คิทเช่น ปรับกระบวนการสั่งซื้อ ตารางเวลางานของพนักงาน  เมนูอาหาร ได้อย่างรวดเร็ว

          5.ไม่ต้องเสียค่าการตลาดสูง

         จากข้อที่แล้วที่ Cloud Kitchensส่วนใหญ่ใช้บริการผ่านแอป ทำให้การทำการตลาดนั้นง่ายกว่าการโปรโมทร้านอาหารมาก เพราะในแอปก็โชว์ข้อมูลครบตามที่ต้องการเช่น เมนู ราคา ไม่ต้องพรีเซ้นหน้าตาของร้าน หรือทำการตลาดรวมกับแอปที่ช่วยโปรโมทร้านอยู่แล้วนั้นเอง 

          นี่คือข้อดีหลักๆของ Cloud Kitchensแต่แน่นอนเหรียญย้อมมีสองด้าน มีข้อดี ก็ต้องมีข้อเสีย คลาวด์คิทเช่นนั้นก็มีข้อเสียเช่นกัน ต้องพึ่งพาแอปหรือบริษัทด้านการจัดส่งเดลิเวอรี่มากเกินไป การแข่งขันในโลกดิจิตอลที่มีคู่แข่งจำนวนมาก เรื่องความไม่ใส่ใจในคุณภาพอาหาร ข้อจำกัดในบางพื้นที่เรื่องการทำอาหารในรูปแบบโรงงานแบบคลาวด์คิท

          หากย้อนไปจริงๆ Cloud Kitchensนั้นเริ่มเกิดตั้งแต่ช่วงปี 2010 ด้วยปัญหาเรื่องสถานที่ตามที่กล่าวไป แต่ในช่วงการระบาดของโควิด 19 ทำให้ผู้ประกอบการหลายท่านสู้ค่าที่และค่าพนักงานไม่ไหว อีกทั้งยังมีมาตรการควบคุมที่ทำให้คนนั่งร้านน้อยลง จึงปรับรูปแบบธุรกิจมาสู่การทำคลาว์คิทเช่นมากขึ้น นับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจเข้ากับวิธีชีวิตแบบ New Normal

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก 

thefoodcorridor 

posist

 

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube