หนึ่งในกิจกรรมทำบุญที่นิยมกันคือ การปล่อยนก ปล่อยปลาเพื่อเสริมสิริมงคล แต่รู้หรือไม่ว่าการกระทำดังกล่าวอาจทำให้ระบบนิเวศพังได้
ที่เราจะพูดถึงวันนี้คือปลาดุก การปล่อยปลาดุกสามารถเห็นทั่วไปและได้รับความนิยมมาก แต่หากเลือกได้ควรงดปล่อยปลาดุกเพราะมันกระทบต่อระบบนิเวศ
เข้าใจ ปลาดุก กันสักหน่อย
ดร.นณณ์ ผาณิตวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบนิเวศน้ำจืด ได้เคยโพสต์ข้อความผ่าน facebook ‘Nonn Panitvong’ ไว้ว่า
“ปลาดุก 1 ตันกินสัตว์น้ำประมาณ 1,800,000 ตัวต่อปี
ปลาดุกที่นิยมเลี้ยงเพื่อนำมาเป็นอาหารในปัจจุบันในประเทศไทย เป็นปลาดุกลูกผสมที่เกิดจากปลาดุกยักษ์จากทวีปแอฟริกาและปลาดุกอุย
ลูกปลาที่เกิดมาเป็นปลาลูกผสมที่ถือว่าเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่น เรียกชื่อทางการค้าว่าปลาดุกบิ๊กอุย ได้ปลาที่โตเร็ว มีเนื้อดีพอสมควรและเป็นหมัน การใช้ประโยชน์คือนำมาบริโภคตามจุดประสงค์ที่ถูกเลี้ยงขึ้นมา
ในปัจจุบันมีผู้นิยมนำปลาดุกบิ๊กอุยไปปล่อยในแหล่งน้ำธรรมชาติของประเทศไทยเพื่อทำบุญ แต่การกระทำดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในพื้นที่นั้นๆ”
นอกจากนี้ ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล เคยให้ข้อมูลไว้เช่นกันว่าสรุปได้ใจความว่า
“ปลาดุกที่นิยมปล่อยกันส่วนใหญ่เป็น ปลาดุกบิ๊กอุย เป็นลูกผสมของ ปลาดุยอุย ของไทยกับ ปลาดุกรัสเซีย เพื่อให้ได้ปลาดุกตัวใหญ่ แต่ปัจจุบันมีปลาดุกอื่นมาผสมอีก
ปลาดุกเดิมกินไม่เลือก พอผสมพันธุ์ใหม่ยิ่งตัวใหญ่ กินจุขึ้นกว่าเดิม เมื่อมีคนนำมาปล่อยจึงทำให้เกิดปัญหาต่อระบบนิเวศ”
ทำยังไงดี?
มาถึงตรงนี้หากใครอยากทำบุญด้วยการปล่อยปลา ลองดูการปล่อยที่เป็นสถานที่ปิด สถานที่เฉพาะหรือปล่อย ปลาเล็ก ปลากินพืช ปล่อยครั้งละน้อยๆ เลือกปล่อยปลาท้องถิ่น สุดท้ายทำบุญอย่างอื่นไม่ปล่อยปลาเลยอาจจะดีที่สุด
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews
ขอขอบคุณข้อมูล