Home
|
สุขภาพ

‘อินฟอร์มา’ จัดงาน ฟู้ด อินกรีเดียนท์เอเชีย ออนไลน์ สร้างนวัตกรรมสู้ศึกโควิด-19

‘อินฟอร์มา’ จัดงาน ฟู้ด อินกรีเดียนท์เอเชีย ออนไลน์ พร้อมชี้เทรนด์ธุรกิจอาหาร แนะผู้ประกอบการ สร้างนวัตกรรมสู้ศึกโควิด-19

 

อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ผนึกกำลังรัฐ เอกชน เตรียมจัดงาน ฟู้ด อินกรีเดียนท์ เอเชีย(Fi Asia)หรืองานแสดงสินค้าและนวัตกรรมส่วนผสมอาหารและเครื่องดื่มแห่งเอเชียในรูปแบบออนไลน์ ระหว่างวันที่ 9 – 22 กันยายน นี้ รองรับผู้ประกอบการไทยและต่างประเทศ ชูจุดเด่นงานสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้ด้านนวัตกรรมอาหารจากผู้เชี่ยวชาญระดับโลกกว่า 200 ราย พร้อมชี้เทรนด์ธุรกิจอาหาร แนะผู้ประกอบการสร้างนวัตกรรมสู้ศึกโควิด-19

รุ้งเพชร ชิตานุวัตร์ ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการ-ภูมิภาคอาเซียน เปิดเผยว่า งาน Fi Asia ถือเป็นงานใหญ่ระดับอาเซียนและมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มทั่วทั้งภูมิภาค ได้รับความสนใจจากองค์กรด้านอาหารชั้นนำมาอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 25ปี ที่ผ่านมามีการขยายตัวของผู้เข้าชมงานและยอดธุรกรรมที่สูงขึ้นกว่าปีละ 25%  และในปีนี้จะมีการจัดงานในรูปแบบออนไลน์ โดยมีผู้ร่วมจัดแสดงสินค้าส่วนผสมอาหารและเครื่องดื่มผ่านงานแสดงสินค้าออนไลน์มากกว่า 200บริษัทจาก31 ประเทศทั่วโลก เพื่อรองรับความต้องการของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มที่กำลังมองหาส่วนผสมอาหาร เพื่อสร้างจุดเด่นเชิงนวัตกรรมหลังได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19

“ถึงแม้เรายังคงต้องอยู่ในสถานการณ์การรับมือกับโรค COVID-19 แต่อย่างไรก็ตามธุรกิจจะต้องไม่หยุดนิ่ง ทางอินฟอร์มาได้เล็งเห็นความสำคัญของการดำเนินธุรกิจต่อไปโดยเฉพาะธุรกิจในอุตสาหกรรมอาหารที่มีความสำคัญต่อการเติบโตและสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ จึงได้จัด งาน Fi Asiaครั้งนี้เป็นรูปแบบออนไลน์  ซึ่งถือเป็นโอกาสดีของผู้ประกอบการไทยและอุตสาหกรรมการเกษตรไทยที่มีสินค้าเกษตรที่หลากหลายในการศึกษาเทคโนโลยีจากบริษัทชั้นนำและผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลก เพื่อนำไปพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเพิ่มมูลค่าสินค้า เช่น การใช้เทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุน ลดระยะเวลาและกระบวนการการผลิตอาหาร ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพและคิดค้นสูตรอาหารให้เหนือกว่าคู่แข่งและเป็นที่ต้องการของตลาดมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นการเพิ่มมูลค่าผลิตผลการเกษตรสู่ส่วนผสมอาหาร รวมไปถึงช่วยสนับสนุนการเติบโตของตลาดอาหารแห่งอนาคต(Future Food)หรือFunctional Food ในประเทศไทยซึ่งปัจจัยเหล่านี้เองที่จะช่วยเสริมศักยภาพการแข่งขันให้ผู้ประกอบการไทย และสร้างการเติบโตของตลาดธุรกิจอาหารไทยอย่างต่อเนื่อง” รุ้งเพชร ชิตานุวัตร์กล่าวเสริม

โดยภายในงานจะมีการนำเสนอนวัตกรรมที่เหมาะสมกับผู้ประกอบการสายอาหารและเครื่องดื่มมากมาย ไม่ว่าจะเป็นส่วนผสมอาหารที่สร้างกลิ่นและรสชาติ สารให้ความหวานแทนน้ำตาล สารเสริมเพื่อการควบคุมน้ำหนัก ผลิตภัณฑ์จากนม แป้ง ส่วนประกอบเบเกอรี่ ตัวทำละลาย สารปรับเนื้อสัมผัส สารสกัดจากธรรมชาติ และส่วนผสมอาหารเพื่อสุขภาพเพื่อให้ตอบโจทย์กับเทรนด์ในอุตสาหกรรมที่หลากหลายและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

และเทรนด์ที่น่าสนใจในปีนี้ก็มีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นโปรตีนทางเลือกจากแหล่งอื่น เช่น โปรตีนจากพืชหรือ Plant-based Protein อาหารสังเคราะห์จากห้องแล็บ(Lab-grown food) ที่เป็นทางเลือกใหม่ในการสร้างสรรค์วัตถุดิบ การอัพไซเคิล(Upcycle) เพื่อลดขยะอาหารที่อาจเกิดขึ้นจากผลิตภัณฑ์ที่ไม่ผ่านมาตรฐาน โดยมาทำเป็นสินค้าใหม่เพื่อเพิ่มมูลค่ามากขึ้น การตรวจสอบที่มาที่ไปของอาหารได้อย่าง Food Traceability ที่มีประโยชน์กับทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการ Cloud Kitchen ที่เกิดขึ้นจากการเติบโตของธุรกิจส่งอาหาร delivery ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และอาหารที่มีมากกว่าแค่อิ่มท้อง คือต้องดีกับสุขภาพด้วย เกิดเป็นเส้นแบ่งที่จางลงของร้านยาและซุปเปอร์มาร์เก็ตส์ เพราะด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปใส่ใจในการเลือกรับประทานมากขึ้น รวมไปถึงการเลือกรับประทานยอาหารที่ส่งเสริมสุขภาพจิตด้วยอย่าง Well-mental eating คือการรับประทานเพื่อส่งเสริมการทำงานของระบบประสาท หรือหาส่วนผสมที่ช่วยให้รู้สึกและลดความวิตกกังวล นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการท่องเที่ยวสายกินอย่าง Food tourism ที่ความต้องการท่องเที่ยวมาพร้อมกับประสบการณ์การกินในช่วงหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19

สำหรับรูปแบบการจัดงานแสดงสินค้าในรูปแบบออนไลน์ ผู้เข้าชมงานสามารถค้นหาสินค้าและผู้ประกอบการที่สนใจได้อย่างง่ายได้จากการใช้เทคโนโลยี AI ในการแนะนำสินค้าหรือผู้จัดแสดงสินค้าที่คาดว่าตรงกับความต้องการ รวมถึงการนัดหมายเจรจาธุรกิจล่วงหน้า และฟังก์ชันการพูดคุยผ่าน video conference หรือช่อง chat เพื่อสร้างความสะดวกสบาย นอกจากนวัตกรรมส่วนผสมอาหารและเครื่องดื่มจากบริษัทชั้นนำแล้ว ผู้เข้าร่วมงานยังสามารถรับชมสัมมนาคุณภาพหลากหลายในรูปแบบการรับชมสดและย้อนหลังไม่ว่าจะเป็นหัวข้อ “สร้างนวัตกรรมอาหารด้วย Plant-based ให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคชาวเอเชีย” อัพเดตตลาดอาเซียน: ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์” (ASEAN Market Update: Thailand Indonesia Philippines) “การสกัดผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติและสมุนไพร” (Herbal and Natural Extract) “วิสัยทัศน์ของผู้ประกอบการไทยในตลาดอาหารแห่งอนาคต” (Visions of Thai Entrepreneur in Future Food) สัมมนาเรื่องความยั่งยืน (Sustainability) เช่น เรื่องของอาหารที่เหลือจากการจำหน่าย (Surplus Food) รวมถึงสัมมนานวัตกรรมส่วนผสมอาหารจากประเทศสหรัฐอเมริกาและหัวที่น่าสนใจกว่า 40 รายการ

Assortment of plant based meat on a table. Food to reduce carbon footprint, sustainable consumption

นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรม Round Table Discussion ที่ผู้เข้าฟังสามารถแสดงความคิดเห็นกับผู้บรรยาย และ Product Pitching ในส่วนสินค้าส่วนผสมจากธรรมชาติ ส่วนผสมจากแป้ง และส่วนผสมโปรตีนจากพืช ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้า Fi Asia Online Event ได้ตั้งแต่วันที่ 9-22 กันยายน 2564 ผ่านทาง www.fiasia.com/thailand

 

8 เทรนด์อาหาร Post-Covid จากงานฟู้ด อินกรีเดียนท์เอเชีย ออนไลน์

 

1.Protein New normalรูปแบบใหม่ของโปรตีน: วงการอาหารทั่วโลกกำลังให้ความสนใจโปรตีนทางเลือก ไม่ว่าจะเป็นโปรตีนจากแมลง จากถั่ว ธัญพืช และสาหร่าย โดยเฉพาะ โปรตีนจากพืชอย่าง Plant-based Meat, Plant-based Meal, Plant-based Milk และ Plant-based Egg น่าจะกลายเป็นกระแสหลักที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจอาหารรองรับเทรนด์อาหารโลก โดยเทรนด์โปรตีนรูปแบบใหม่นี้เกิดขึ้นจาก นวัตกรรมอาหารที่พัฒนาให้ตอบโจทย์เรื่องรสชาติ เนื้อสัมผัส และคุณค่าทางอาหาร ผู้บริโภคทั่วโลกที่หันมาให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น และกระแสปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารมังสวิรัติแบบยืดหยุ่น (Flexitarian) การตระหนักถึงสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare) และปัญหาด้าน Food Security โดยในประเทศไทย มีการคาดการณ์ว่าตลาดโปรตีนทางเลือกในไทย ที่มีมูลค่ากว่า 3.62 หมื่นล้านบาทในปี 2564 และมีโอกาสขยับไปสู่ 5,000 ล้านบาทได้ภายในปี 2567

  1. Lab-grown foodอาหารจากห้องแล็บ : Lab-grown food หรือ Cultured Food เป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่น่าสนใจเพราะอาหารเหล่านี้เกิดขึ้นมาจากการเพาะเลี้ยงเซลล์เล็กๆ ในห้องแล็บ และพัฒนาขึ้นมาเป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหารได้เลยโดยที่ไม่ต้องผ่านกระบวนการธรรมชาติ ทั้งยังสามารถพัฒนาได้มีผลิตภัณฑ์หลากหลายมาก เช่น เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากนม เจลาติน คอลลาเจน ซึ่งล่าสุดสิงคโปร์อนุมัติให้จำหน่ายเนื้อสัตว์จากห้องแล็บ (Lab-grown meat) เป็นประเทศแรกของโลก และบริษัทสตาร์ทอัพจากอเมริกาอย่าง Eat Just เองก็เริ่มวางแผนที่จะขายนักเก็ตไก่โดยใช้วัตถุดิบเป็นเนื้อไก่จากห้องแล็บ ข้อดีที่ทำให้อาหารสังเคราะห์เริ่มมีบทบาทในอุตสาหกรรมมากขึ้นเนื่องมาจากผู้บริโภคเริ่มให้ความสนใจในการหาอาหารแบบทางเลือกมากยิ่งขึ้นเพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ลดการบริโภคเนื้อสัตว์ การเลือกบริโภคอาหารจากห้องแล็บอาจเป็นหนึ่งในทางออกที่ช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนได้

  1. Upcycle Food สร้างมูลค่าจากขยะอาหารด้วยการอัพเกรด + รีไซเคิล:ความยั่งยืนที่เกิดจากการจัดการขยะ ในอุตสาหกรรมอาหาร จึงเกิดเป็นคอนเซ็ปต์ใหม่ที่นำการ Upgrade + Recycle มาผสมผสานจนเกิดเป็น “อัพไซเคิล” เพื่อทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยจะนำเอาผลิตภัณฑ์ที่ไม่ผ่านมาตรฐาน เช่น ผลไม้ช้ำ ผลไม้ที่ใกล้จะเสียมานำไปผลิตเป็นสินค้าใหม่ อาทิ ขนมยี่ห้อ Barnanaที่เอากล้วยช้ำมาทำสแน็คกล้วย หรือ Barvocadoที่เอาเมล็ดอะโวคาโด้มาทำธัญพืชอัดแท่ง โดยมีรายงานจาก Future Market ว่าตลาดอาหารอัพไซเคิลมีมูลค่าถึง 46.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีอัตราการเติบโตประจำปีอยู่ที่ร้อยละ 5 ในระยะเวลา 10 ปีข้างหน้า และปัจจุบันสมาคม Upcycled Food Association ก็เริ่มออกใบรับรองและตราสัญลักษณ์ให้กับอาหารแบบอัพไซเคิลจึงถือเป็นอีกหนึ่งโอกาสของผู้ประกอบการอาหารที่จะได้พัฒนาสินค้าของตนเองให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
  2. Food Traceability ทุกอย่างที่กินต้องตรวจสอบได้: เทรนด์ที่อาจเรียกได้ว่าเป็นผลมาจากการระบาดของ Covid-19 เพราะผู้บริโภคมองหาความปลอดภัยจากอาหารมากยิ่งขึ้น การตรวจสอบอาหารย้อนกลับ หรือ Food Traceabilityประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ 1. Tracing การสำรวจประวัติทั้งหมดของห่วงโซ่อาหาร ถือเป็นการมองย้อนหลังไปยังที่มาของวัตถุดิบ 2. Tracking คือการปักหมุดของแต่ละสินค้าว่าผ่านที่ใดมาบ้างตั้งแต่แหล่งผลิตจนถึงจุดจำหน่าย โดย Food Traceability นั้นไม่ได้มีประโยชน์กับผู้บริโภคในแง่ของการตรวจสอบถึงที่มาของอาหารได้เท่านั้น แต่ยังดีกับผู้ประกอบการด้วยเพราะสามารถใช้การตรวจสอบจัดการดูแลห่วงโซ่อุปทานได้เช่นกันในกรณีที่เกิดปัญหาขึ้น เช่น การปนเปื้อนสารพิษก็จะตรวจสอบย้อนได้ว่าอยู่ในล็อตการผลิตใด

  1. Cloud Kitchen มีครัวแต่ไม่ต้องเห็นครัว : ธุรกิจ Food Delivery คือเทรนด์ที่เติบโตอย่างต่อเนื่องในบ้านเราในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และสถานการณ์การแพร่ระบาดของCOVID-19 ก็ยิ่งช่วยเร่งการเติบโตของ Food Delivery ให้เติบโตสูงขึ้นอีก จากการเติบโตของ Food Delivery นี้เองที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้เกิด Cloud Kitchen หรือที่รู้จักในชื่ออื่นๆ อย่าง Ghost Kitchen, Dark Kitchen, Virtual Kitchen พื้นที่สำหรับให้ร้านอาหารต่างๆ สามารถมาเช่าครัวในการทำอาหารสำหรับการ Delivery โดยเฉพาะโดยไม่จำเป็นต้องเปิดสาขาใหม่ โดยสิ่งที่ต้องทำคือการส่งพนักงานไปที่ Cloud Kitchen เท่านั้น เพราะพื้นที่ครัวเช่านี้จะมีพื้นที่ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นอย่างครบถ้วน

6.Rising of Food Tourismการท่องเที่ยวสายกิน : หลังสถานการณ์การระบาดของโควิดคลี่คลาย ดีมานด์ความต้องการท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก และอาหารจะกลายเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการออกท่องเที่ยว ผลสำรวจระบุว่า นักท่องเที่ยวกว่า 53% เลือกสถานที่ท่องเที่ยวจากอาหารและเครื่องดื่ม การท่องเที่ยวในธีมอาหารนี้จะมาในหลายรูปแบบ เช่น Food Festival – งานเทศกาลอาหารที่มุ่งเน้นการสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้ผู้บริโภคสัมผัสประสบการณ์วัฒนธรรมตลอดจนวัตถุดิบในท้องถิ่น รวมไปถึงผลิตภัณฑ์อาหารที่หลากหลายและมีความเฉพาะถิ่นมากยิ่งขึ้น

7.Blurring line between the Drugstore and Grocery เส้นแบ่งที่จางลงของร้านยาและซุปเปอร์มาร์เก็ตส์:Innova Market Insights พบว่าผู้บริโภคทั่วโลก 6 ใน 10 คนสนใจอาหารและเครื่องดื่มที่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน อาหารจึงไม่เพียงต้องตอบโจทย์ในเรื่องความอิ่มท้อง หากแต่ต้องดีต่อสุขภาพ ในอนาคตอันใกล้เราจะได้เห็น โพรไบโอติกส์ วิตามินซี สมุนไพร และสารพัดส่วนผสมเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน กลายเป็นส่วนผสมอาหารและเครื่องดื่มที่จำหน่ายอยู่ในร้านค้าปลีก ไม่เว้นแม้แต่ขนมขบเคี้ยว นอกจากนี้แนวคิดการออกแบบโภชนาการให้เหมาะสมกับร่างกายแบบเฉพาะบุคคลโดยคำนึงถึงการใช้ชีวิต สารอาหาร และสุขภาพ จึงเกิดขึ้นด้วยการใช้ข้อมูลระดับพันธุกรรม ที่เรียกว่า Microbiome Dataจัดอาหารในแบบ Personalized ซึ่งจะมุ่งเน้นในเรื่องของการไดเอตเป็นหลัก และใช้ Biomarker Data ในเลือด นำไปวางแผนกำหนดอาหาร ยา และการออกกำลังกายก็กำลังมาแรงเช่นกัน

  1. Well-Mental Eating กินแล้วดีต่อใจ​: นอกจากจะให้ความสำคัญกับสุขภาพกายและภูมิคุ้มกันแล้วผู้บริโภคยังให้ความสำคัญและตระหนักถึงสุขภาพจิตที่ดีด้วย โอกาสทางธุรกิจของกลุ่มผลิตภัณฑ์นี้ ส่วนใหญ่มักเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใส่สารเสริมที่ช่วยลดความเสียหายจากอนุมูลอิสระและการอักเสบของสมอง หรือ การกินเพื่อช่วยส่งเสริมการทำงานของสารสื่อประสาท ทำให้การทำงานดีขึ้นอาทิ อาหารที่ผสมสารสกัดจากกัญชา หรือส่วนประกอบอื่นๆมีสรรพคุณช่วยให้รู้สึกสงบและลดความวิตกกังวล หรือ Probiotics – นอกจากช่วยสร้างภูมิคุ้มกันแล้วยังช่วยเรื่องสุขภาพจิตใจได้ด้วย โดยนำมาใช้ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าได้ เป็นต้น

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

 

 

 

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube