Home
|
ไลฟ์สไตล์

ต่อมหมวกไตล้า ภาวะที่ทำให้เราขี้เกียจ

Featured Image

          ใครๆ ก็เป็นกัน ‘เช้าไม่อยากตื่น กลางคืนไม่อยากหลับ’ วงจรชีวิตที่ใกล้เคียงกับแวมไพร์นี้อาจไม่ได้หมายความว่าเราเป็นคนขี้เกียจตื่นมาทำงานหรือเรียนออนไลน์เสมอไป เพราะชีวิตแบบนอนดึกตื่นสายนี้อาจเป็นสัญญาณว่าคุณอาจอยู่ใน ภาวะต่อมหมวกไตล้า ที่อันตรายถึงชีวิตเลยก็ได้นะ

ต่อมหมวกไตคืออะไรก่อน?

          สมชื่อเลย ต่อมหมวกไตก็คือต่อมลักษณะคล้ายหมวกสูงสามเหลี่ยมอยู่บริเวณด้านบนไตทั้งสองข้างของเรา มีหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมน โดยเฉพาะฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ที่เป็นสารความสุขที่จะหลั่งออกมาเวลาร่างกายเผชิญกับความเครียด ช่วยปรับสมดุลให้ร่างกายหัวใจเต้นแรง หน้าแดงเพราะความดันสูบฉีด

          คอร์ติซอลที่หลั่งออกมารับมือกับความโชคร้ายที่เราพบเจอนั้น ไม่ว่าความเครียดแบบไหนทั้งเจ้านายดุ ทะเลาะกับแฟน หรือเพื่อนแฟนทะเลาะกัน ต่อมนี้ก็ช่วยให้เรามีความสุขได้ แต่น่าเสียดายที่สมัยนี้ความเครียดดูท่าจะเยอะเกินไป ต่อมหมวกไตเลยจำใจผลิตหนักๆจนอยู่ใน ภาวะต่อมหมวกไตล้า ได้เช่นกัน

อาการของคนต่อมหมวกไตล้า

อาการของผู้ที่อยู่ในภาวะต่อมหมวกไตล้านั้นนอกจากจะให้เราเอื่อยเฉื่อยไม่กระปี้กระเป่าในตอนเช้านั้น ยังมีอีกหลายอาการให้สังเกต ดังนี้

  1. เก่งกลางคืน อ่อนกลางวัน

          ผู้ป่วยในภาวะต่อมหมวกไตล้า ร่างกายจะไม่สามารถรักษาระดับพลังงานได้เพียงพอเหมือนแต่ก่อน เปรียบง่ายๆก็เหมือนน้ำมันที่เคยเติมเต็มถังทุกคืนแต่จู่ๆก็เกิดวิกฤตขับได้แค่ครึ่งถังเท่านั้น ทำให้ช่วงเวลากลางวันร่างกลายจะรู้สึกล้าไม่อยากทำอะไร แต่ตะวันตกดินเมื่อไหร่ก็กลับแจ่มใสขึ้นมาทันที

  1. นอนครบ 8 ชม. แต่ก็ง่วงอยู่ดี

          เกี่ยวเนื่องจากข้อก่อนหน้าที่ร่างกายไม่สามารถรักษาระดับพลังงานได้อย่างพอดี ร่างกายเลยรู้สึกอ่อนเพลียอยู่ตลอดเวลาเมื่อเข้าภาวะต่อมหมวกไตล้า ต่อให้หลับเป็นตายแค่ไหนหรือนานเท่าไหร่ แม้แต่แรงตอกบัตรเข้างานก็กลับไม่มีแรงสักที

  1. เบื่ออาหาร

          เพราะต่อมหมวกไตไม่เพียงแค่ผลิตสารคอร์ติซอลแต่ยังทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนอัลโดสเตอโรนที่ช่วยควบคุมการขับถ่ายแร่ธาตุและของเหลวในร่างกาย เพื่อหมวกไตล้าแน่นอนว่าผลผลิตก็ตกลงทำให้เรารู้สึกเบื่ออาหารทั่วไป แต่อยากกินอาหารแซ่บๆหรือของหวานเพื่อทดแทนสารอาหารที่ขาดหายไปนั่นเอง

  1. ผมร่วง ผิวลอก

          ไม่เพียงระบบร่างกายภายในที่เสียหาย แต่ภายนอกก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ผู้ป่วยจะรู้สึกผมร่วง ผมและผิวแห้ง ไปจนถึงใต้ตาคล้ำ

  1. ภูมิอ่อน ความดันสูง

          ต่อมหมวกไตล้าส่งผลกระทบต่อภูมิคุ้มกันโรคเช่นเดียวกัน จะสังเกตได้ว่าหากรู้สึกไม่สบายก็ต้องใช้เวลานานกว่าปกติกว่าจะหายป่วย รวมถึงความดันเลือดก็สูง-ต่ำผิดปกติส่งผลให้เวียนหัวหน้ามืดเวลาทำอะไรเร็วๆ

  1. กดดัน

          เมื่อเจอความเครียดปะทะเข้าอย่างแรง คอร์ติซอลก็จะช่วยเยียวยาให้รู้สึกดีแต่เมื่อต่อมหมวกไตล้าจนมีปัญหาคอร์ติซอลก็ผลิตได้น้อยสวนทางกันกับความเครียดจนยากที่จะรับมือได้ ส่งผลให้ร่างกายเครียดวิตกและกดดันเกินความจำเป็น

 

ทำอย่างไรให้(ต่อมหมวกไต)หายล้า

  1. อย่าพลาดอาหารเช้า

          อย่างที่รู้กันว่าอาหารเช้าคือมื้ออาหารที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่ไว้ใช้สู้กับบทบาทสนามอารมณ์และโปรเจกต์กองพะเนินในแต่ละวัน ทางที่ดีต้องเน้นโปรตีนด้วยเพื่อช่วยซ่อมแซมอวัยวะที่สึกหรอของร่างกาย บางครั้งสาเหตุที่นอนเท่าไหร่ก็พออาจจะไม่ได้มาจากขี้เกียจทำงาน แต่เพราะขี้เกียจทานปลานี่แหละ

  1. อย่าพลาดความสุข

          จะบอกไม่ให้เครียดก็ไม่ได้(เพราะถ้าไม่เครียดจนต่อมหมวกไตล้าคุณก็คงไม่เจอเราในนี้) แต่สิ่งหนึ่งที่อยากให้โฟกัสต่อไปคือการลดความกดดันและหมั่นหาความสุขของคุณ ไม่ว่าจะออกกำลังกาย ดูซีรีส์ที่ใช่คู่จิ้นที่ชอบ ฟังเพลง หรือแม้แต่ได้รู้สึกว่าตัวเองหายใจ แค่นี้ก็มีความสุขได้แล้ว

          ตอนเป็นเด็กเจ็บสุดแค่โดนแม่ตี แยังไม่นับปัญหา 108 ที่กดบัตรคิวตอกย้ำเรา โปรดจำไว้ว่าความเครียดไม่ได้หยิกแค่หลังของเราเท่านั้นแต่มันดันหยิกลึกไปถึงต่อมหมวกไตด้วย หากใครที่รู้สึกมีอาการต่อมหมวกไตล้ามากๆ แนะนำให้ปรึกษาคุณหมอเพื่อรักษาต่อไป แต่ถ้าใครอ่านจบแล้วยังไม่รู้สึกเข้าข่าย แนะนำให้มองสลิปทวงเงินตรงมุมโต๊ะดูแล้วพลังใจจะกลับมาเอง ถ้าชอบบทความสุขภาพดีๆแบบนี้ล่ะก็มาอ่านต่อแบบไม่ล้าได้เลยที่ iNN Lifestyle

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube