Home
|
ไลฟ์สไตล์

5 เทคนิคคลายกังวลแบบง่ายๆ

Featured Image

          ในช่วงนี้คงมีเรื่องให้กังวลกันไม่น้อย แต่ละคนก็จะมีเรื่องที่ทำให้กังวลแตกต่างกันไป แน่นอนว่าความกังวลที่เกิดขึ้นมันส่งผลเสียต่อเรา ทำให้เราคิดมาก ไม่มีสมาธิ ไม่มีกำลังใจ จนอาจจะไปถึงเครียดได้ในที่สุด วันนี้มี 5 เทคนิคง่ายๆที่จะช่วยคลายกังวลมาฝากกัน 

          1.อย่าใส่ใจกับเรื่องที่เราไม่สามารถควบคุมได้

          บางเรื่องเราไม่สามารถควบคุมได้เลย คำแนะนำจากหลายๆที่พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่มีประโยชน์ที่เราจะกังวลกับสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ ให้คิดถึงแผนรับมือ ให้คิดถึงสิ่งที่ทำได้ก็พอ ไม่เช่นนั้นเราจะวนอยู่กับปัญหาที่แก้ไม่ได้จนเกิดความเครียดได้ 

          2.หยุดคิด

          หากกังวลก็ให้หยุดคิด แต่จะหยุดคิดยังไง เมื่อมีเรื่องเข้ามาอยู่แบบนี้ ขอแนะนำให้เบรกความคิดตั้งแต่แรกๆ ไม่งั้นจะกลายเป็นปัญหาที่คิดมาก ลองไปพูดกับตัวเองหน้ากระจกให้หยุดคิด หรือไม่ก็ลองหันไปทำกิจกรรมอย่างอื่นจะดีกว่า 

          3.ทำให้ตัวเองยุ่งจนลืมความกังวล

          หลายคนคงเคยมีช่วงที่ยุ่งกับอะไรมากๆจนลืมคิดถึงเรื่องอื่น หากคิดมากพยายามอย่าปล่อยให้ตัวเองว่าง ลองหาอะไรทำให้ตัวเองยุ่งๆเข้าไว้ อาจจะเป็นงานก็ได้ เมื่อตัวเองยุ่งมากจะทำให้ความกังวลหายไปเอง 

          4.สำรวจตัวเอง 

          หลายครั้งเมื่อปัญหาถาโถมเข้ามาใส่เรา เรามักจะวิตกกังวลกว่าปกติ เรามักจะมองไม่เห็นทางออก มองไม่เห็นแสงปลายทาง ให้ตั้งสติ สำรวจตัวเอง พูดคุยกับตัวเอง ว่าเรื่องนี้เกิดจากอะไร เราแก้ไขอะไรได้ไหม ลองเขียนใส่กระดาษออกมาให้ตัวเราเห็นภาพได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น 

          5.ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ 

          ท้ายที่สุดหากลองทำหลายๆวิธีแล้วไม่ได้ผล จนความวิตกกังวลทำให้เราเครียด ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน อย่ากลัวที่จะระบายกับใครสักคน ลองปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เช่น นักจิตวิทยา อาจจะช่วยเราได้

          ความวิตกกังวล เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้และหายได้เช่นกัน สำคัญที่สุดอย่าลืมถามตัวเองอยู่เสมอ ยังไงก็ตามขอให้ทุกคนผ่านเรื่องแย่ๆไปได้ แวะมาทักทาย อ่านบทความดีๆเกี่ยวกับสุขภาพจิตได้ที่ INN Lifestyle

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

ขอขอบคุณข้อมูล

psychologytoday 

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube