Home
|
ไลฟ์สไตล์

เถียงนา คืออะไร?

Featured Image

          เถียงนา เป็นสิ่งก่อสร้าง สิ่งปลูกสร้าง พบเห็นได้ในพื้นที่โซนอีสาน เถียงนาเป็นที่พูดถึงหลังคุณหมอทวีศิลป์ยกขึ้นมาพูดว่าเป็นโมเดลสำหรับการกักตัว วันนี้จะพาทุกคนไปรู้จักกันว่า เถียงนา คืออะไร 

          เถียงนา คืออะไร?

          หากใครเคยไปต่างจังหวัด โดยเฉพาะในโซนอีสานหรือพื้นที่ที่มีการทำเกษตรกรรมนาข้าว อาจจะเคยเห็นสิ่งก่อสร้างคล้ายบ้านที่ถูกปลูกขึ้นกลางทุ่งนา 

          อ้างอิงจาก วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ให้ความหมายไว้ว่า เถียงนาเป็นสิ่งปลูกสร้างที่สร้างขึ้นเพื่อใช้สอยเกี่ยวพันกับการทำนาในวัฒนธรรมข้าวของชาวนาอีสาน เป็นภูมิปัญญาพื้นถิ่น มีพื้นฐานมาจากวัฒนธรรมของ ไท-ลาว ที่ถูกสืบทอดกันมา

รูปแบบของเถียงนา

  • เถียงนาพื้นติดดิน
  • เถียงนายกพื้นสูงจากดินระดับเดียว
  • เถียงนายกพื้นสูงจากดิน 2 ระดับ
  • เถียงนายกพื้นสูงจากดินหลายระดับ 
  • เถียงนาประเภทเคลื่อนที่ได้ 

          แม้ว่ายุคสมัยจะเปลี่ยนไปแต่ เถียงนา ก็ยังคงอยู่ ด้วยความเชื่อและประโยชน์ เถียงนาถูกใช้เป็นที่พักชั่วคราวในการหลบฝน หลบแดดเวลาทำนา เป็นที่นั่งพักกินข้าวกินปลา โดยหลักสำคัญคือ ยกพื้นสูง เสาเรือนใช้ไม้จริง โครงใช้ไม้ไผ่ หลังคามุงหญ้าหรือแป้นไม้มาจากเรือนเก่า พื้นเป็นไม้ไผ่สับฟาก (ของที่ใช้อาจเปลี่ยนแปลงไปตามพื้นที่) 

          ส่วนที่เป็นประเด็นในสังคมมาจากการที่คุณหมอทวีศิลป์ได้กล่าวว่า 

          “ภาคอีสานเราพื้นที่กว้างขวาง เถียงนาโมเดล เกิดขึ้นอยู่ที่ภาคอีสาน คือกลับมาแล้วให้ไปนอนเถียงนา ส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มสาวป่วยก็ไม่มาก อาการไม่มาก กักกันตัวก็นอนอยู่ตรงนั้นได้ มีคนส่งข้าวส่งน้ำเป็นคนในครอบครัวเดียวกันซึ่งน่ารักมาก ๆ ก็ขอให้ใช้วิธีต่าง ๆ เหล่านี้ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาหรือเป็นการคิดจากพื้นที่ขึ้นมาช่วยกัน”

          ความคิดเห็นส่วนใหญ่ก็ไม่เห็นด้วยเพราะจริงๆเถียงนาค่อนข้างลำบาก การสร้างตรงกลางนาต้องเจอทั้งยุง แมลง สัตว์เลื้อยคลานอื่นๆ แล้วเถียงนาปกติ ไม่มีน้ำ ไม่มีไฟฟ้า 

          ประโยชน์ของเถียงนานั้นก็มี แต่หากมองตามความเป็นจริงก็อาจจะไม่เหมาะให้ผู้ป่วยไปนอนเท่าไร อาจจะทำให้ป่วยมากขึ้นมากกว่า แต่เชื่อว่าคุณหมอมีเจตนาที่ดี อย่างไรก็ตามทางที่ดี หากมีพี่น้องหรือญาติที่เดินทางกลับบ้านมา ก็ขอให้ทำตามมาตรการของจังหวัด สังเกตอาการ เว้นระยะห่าง กักตัวก่อนพบเจอคนที่บ้านจะดีที่สุด และสำหรับใครที่ไม่อยากพลาดทุกเรื่องอินเทรนด์ สามารถติดตามบทความสุขภาพดีๆหรือ ไลฟ์สไตล์ต่างๆได้ที่ iNN Lifestyle

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

ขอขอบคุณข้อมูล

วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ประตูสู่อีสาน

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube