Home
|
ไลฟ์สไตล์

กินจุกจิกที่ทำงาน พฤติกรรมทำร้ายสุขภาพที่พนักงานออฟฟิศต้องระวัง

Featured Image

          ของกินบนโต๊ะทำงาน ขนมที่เก็บไว้ที่โต๊ะทำงาน พฤติกรรมที่ทำร้ายสุขภาพกว่าที่เราคิด เชื่อไหมว่าหลายครั้งที่เรารักษาสุขภาพอย่างหนักแต่กลับมาพลาดตกม้าตายในที่ทำงาน ไม่ว่าจะเพื่อนชวนกินหรือของกินที่อยู่ที่ออฟฟิศนี้ล่ะ 

          อย่าลืมว่าส่วนใหญ่เรามักเก็บขนม ลูกอม น้ำอัดลม ของหวานไว้ แล้วทั้งวันเราก็กินโดยไม่รู้ตัว กลายเป็นนิสัยกินจุกกินจิกตลอดวัน วันนี้เลยมี 5 เคล็ดลับที่จะช่วยระวังตรงนี้มากขึ้น 

1.อย่าทำหลายอย่างพร้อมกัน 

          พยายามโฟกัสการทำงานเพียงอย่างเดียว เช่น จะทำงานก็มุ่งแค่ทำงาน จะกินก็กิน การทำหลายอย่างพร้อมกันทำให้เรากินเรื่อยๆ โดยไม่รู้ตัว และมันทำให้เรากินมากขึ้นเกินความจำเป็น 

2.วางอาหาร วางขนมให้พ้นสายตา

          ถ้าเห็นก็อยากกินมากขึ้น มีการศึกษาในปี 2549 ได้ลองให้พนักงานออฟฟิศมีขนมวางอยู่ใกล้ๆ ผลก็ออกมาเป็นไปอย่างที่คิด พวกเขากินมากขึ้นเมื่อเห็นขนม หรือถ้ารู้ตัวว่าอดไม่ได้ก็ลองวางอาหารเพื่อสุขภาพแทน 

3.อย่าเดินกิน

          ในออฟฟิศบางครั้งเราเดินไปกินไป เดินไปหยิบขนมมากิน ถ้าจะกินจริงๆ หยิบแล้วนั่งกินดีๆจะดีกว่า เพราะเวลาเดินเราจะกินเยอะแบบไม่รู้ตัว แต่ถ้าเราแค่นั่งกินดีๆ เราจะรู้ตัวมากขึ้นว่าเรากินไปมากน้อยแค่ไหน

4.อย่าพึ่งรีบเก็บ

          ถ้าเป็นพวกห่อลูกอมหรือห่อขนม บางทีก็อย่าพึ่งรีบทิ้ง ปล่อยให้มันเป็นสิ่งที่เรามองเห็นแล้วช่วยเตือนว่าเรากินไปแล้ว แต่ของบางอย่างที่มีกลิ่น ดึงดูดมด แมลง หรือมันทำให้โต๊ะไม่สะอาดก็รีบๆ ทิ้งไปนะ 

5.อย่าซื้อมาตั้งแต่แรก

          ไม่ซื้อมาแต่แรกอาจจะเป็นทางออกที่ดี รู้ว่าห้ามตัวเองไม่ได้แน่ๆ ก็ตัดปัญหาโดยการไม่ซื้อมาไว้เลย หรือเหมือนเดิม คือหาอาหารสุขภาพมาไว้แทนก็จะช่วยให้เราสุขภาพดีมากกว่ากินขนมทั่วๆ ไป 

          ก็เป็นเรื่องใกล้ตัวอีกเรื่องที่นึกไม่ค่อยถึงเลยทีเดียว ใครที่สงสัยต่อว่าอาหารสุขภาพมีอะไรบ้าง ติดตามได้เลยที่ iNN Food และสำหรับใครที่ไม่อยากพลาดทุกเรื่องอินเทรนด์ สามารถติดตามบทความสุขภาพดีๆหรือ ไลฟ์สไตล์ต่างๆได้ที่ iNN Lifestyle

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

ขอขอบคุณข้อมูล 

psychologytoday

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube