Home
|
ไลฟ์สไตล์

ล็อกดาวน์ ทำสุขภาพจิตแย่จริงหรือไม่?

Featured Image

          ล็อกดาวน์ เป็นคำที่เกิดขึ้นเกือบทั่วโลกในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 แน่นอนว่ามันส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างเห็นได้ชัด แต่อีกมุมหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามเลยคือ การล็อกดาวน์ นั้นทำให้สุขภาพจิตแย่เช่นกัน 

          ล็อกดาวน์ทำให้สุขภาพจิตแย่ได้อย่างไร?

          ไม่มีความหวัง คำนี้อาจจะอธิบายได้ดีและครอบคลุมที่สุด การล็อกดาวน์นั้นประกอบด้วยสถานการณ์ที่เราต้องเจอมากมาย เช่น ต้องอยู่แต่บ้าน เห็นข่าวผู้เสียชีวิต ไม่ได้เจอผู้คน ไม่ได้ออกไปเที่ยว ไม่ได้ใช้ชีวิต อยู่อย่างหวาดกลัว ปัญหาด้านการเงิน ความสัมพันธ์ทั้งหลายที่ทำให้รู้สึกไม่มีความหวัง สิ้นหวัง 

          กรมสุขภาพจิตเคยออกมาเผยว่า พบคนไทยอยู่ในภาวะเครียด อ่อนล้า หมดหวังเพิ่มมากขึ้น บางคนเข้าข่ายเป็นโรคซึมเศร้า โดยเฉพาะในพื้นที่สีแดงและสีส้ม พื้นที่ที่มีจำนวนผู้ป่วยสูง 

          ที่เลวร้ายกว่านั้น รายงานจากกรมสุขภาพจิต ชี้ให้เห็นว่าช่วงที่ผ่านสถิติการฆ่าตัวตายของประเทศไทยนั้นสูงขึ้นเรื่อยๆ (จำนวนเกือบใกล้เคียงกับวิกฤตต้มยำกุ้ง) และเห็นว่าส่งผลต่อทุกช่วงอายุ ทุกวัย ตั้งแต่เด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน ผู้สูงอายุ ทุกอาชีพ มากที่สุดจะเป็นกลุ่มผู้ใช้แรงงาน 

          อีกข้อมูลที่น่าสนใจมาจากยูนิเซฟที่เผยว่า นับตั้งแต่โควิด-19 เริ่มแพร่ระบาด เด็กและเยาวชนอย่างน้อย ทั่วโลกราวๆ 332 ล้านคน คิดเป็นอย่างน้อย 1 ใน 7 คน ต้องอยู่แต่ในบ้านมาแล้วอย่างน้อย 9 เดือน ส่งผลให้เด็กและเยาวชนเหล่านั้นเสี่ยงต่อปัญหาด้านสุขภาพจิตและสุขภาวะโดยรวม 

          ในประเทศไทย ผลสำรวจพบว่า เด็กและเยาวชนกว่า 7 ใน 10 คน กล่าวว่าวิกฤตโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ พวกเขามีความเครียด เป็นห่วงและวิตกกังวล โดยเรื่องที่พวกเขากังวลมากที่สุดคือปัญหาการเงินของครอบครัว 

จากข้อมูลเบื้องต้นนี้ก็ทำให้หลายฝ่ายออกมาส่งเสริมให้รัฐมีการจัดการเรื่องสุขภาพจิตมากขึ้นจากที่ทำอยู่ 

รับมือกับสุขภาพจิตอย่างไรในช่วงสถานการณ์โควิด-19 

  • ระบายหรือพูดออกมากับคนที่รับฟังเราด้วยใจ (อาจจะเป็นเพื่อน ผู้เชี่ยวชาญ หรือแอปต่างๆที่ช่วยรับฟังปัญหาสุขภาพจิต)
  • ติดตามข่าวสารเท่าที่จำเป็น การเสพข่าวมากไปบางครั้งก็ทำให้สุขภาพจิตแย่ได้
  • ตรวจสอบสภาพร่างกายและจิตใจอยู่เสมอ 
  • ทำกิจวัตรประจำวันให้ปกติ
  • ออกกำลังกาย
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ 
  • วางแผนการใช้ชีวิต
  • พยายามติดต่อพูดคุยกับคนอื่นอยู่บ่อยๆ
  • หางานอดิเรกที่ชอบ หาอะไรทำเพิ่ม
  • ยอมรับความรู้สึกแย่ๆของตัวเอง 

อันนี้เป็นคำแนะนำเบื้องต้นเท่านั้น หากรู้สึกว่าตัวเองมีปัญหาความเครียดจนส่งผลต่อชีวิตก็แนะนำว่าให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ 

          อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องระวังคือ มีการใช้ Google หาว่าตัวเองเป็นโรคอะไรสูงมากขึ้น แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องที่ผิด แต่บางครั้งทำให้เรากังวลไปเองว่าจะเป็นโรคนู้นโรคนี้ แนะนำว่าให้ ปรึกษาแพทย์ใครที่ไม่อยากออกจากบ้านก็ ปรึกษาแพทย์ออนไลน์ ได้เช่นกัน และสำหรับใครที่ไม่อยากพลาดทุกเรื่องอินเทรนด์ สามารถติดตามบทความสุขภาพดีๆหรือ ไลฟ์สไตล์ต่างๆได้ที่ iNN Lifestyle

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

ขอขอบคุณข้อมูล 

ยูนิเซฟ 

กรมสุขภาพจิต 

Psychologytoday 

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube